บันทึก เรื่องเล่าเมียร์แคต สัตว์สังคมวงศ์พังพอน

เรื่องเล่าเมียร์แคต

เรื่องเล่าเมียร์แคต กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก อย่าง “ เมียร์แคต ” สัตว์หน้าตาน่ารักที่จัดอยู่ในกลุ่ม สัตว์สังคม ชอบการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ปัจจุบันสถานะของพวกมัน อยู่ในการอนุรักษ์ของ IUCN เป็นสัตว์ที่น่ากังวลน้อยที่สุด ที่จะสูญพันธุ์จากภัยคุกคามทางธรรมชาติ ถ้าเทียบกับสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่เสี่ยงจะสูญพันธุ์ในบัญชีแดง

Meerkat ที่ถูกยอมรับ และการจำแนกทางวิทยาศาสตร์

Meerkat สัตว์ในวงศ์เดียวกับพังพอน กลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลัง และเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ถ้าพูดตาม เรื่องเล่าเมียร์แคต ปัจจุบันได้รับการยอมรับเพียง 3 สายพันธุ์ 3 ชื่อเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น 

  • ชเรเบอร์ : พบในภาคใต้ของนามิเบีย รวมไปถึงภาคใต้ของบอตสวานา และแอฟริกา
  • แบรดฟีลด์ : พบได้ในภาคกลาง รวมไปถึงภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ของพื้นที่นามิเบีย
  • ครอว์ฟอร์ด – คาบราล : พบจำนวนในภาคตะวันตกเฉียงใต้ ของพื้นที่แองโกลา เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 สายพันธุ์ 3 รายชื่อนี้ ได้ผ่านการจำแนกทางวิทยาศาสตร์มาแล้ว จึงได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์ [1]

ลักษณะเฉพาะ กลุ่มพังพอนขนาดเล็ก

อย่างที่ทราบกันว่า เมียร์แคตเป็นกลุ่มพังพอนขนาดเล็ก พวกมันมีลักษณะเด่น ได้แก่ รูปร่างเพรียวบาง หัวกว้าง ตาโต ปากแหลม หางเรียวยาว และมีขนเป็นลายเสือ โดยความยาวช่วงหัวถึงลำตัว จะเฉลี่ยที่ 24 – 35 เซนติเมตร หรือประมาณ 9.4 – 13.8 นิ้ว ส่วนน้ำหนักอยู่ที่ 0.62 – 0.97 กิโลกรัม หรือประมาณ 1.4 – 2.1 ปอนด์

โดยตัวเมียจะมีลักษณะรูปร่างที่เด่นกว่าตัวผู้ ตัวเมียบางตัวอาจมีน้ำหนักมากกว่าตัวผู้ อีกทั้งความยาวของขนจะมีความยาวระหว่าง 1.5 – 2 เซนติเมตร หรือประมาณ 0.59 – 0.79 นิ้ว แต่ที่วัดได้จะประมาณ 3 – 4 เซนติเมตร หรือประมาณ 1.2 – 1.6 นิ้ว ทั้งนี้ พวกมันมีฟัน 36 ซี่ และมีกรงเล็บที่เหมาะกับการขุดดิน หรือการยืนตัวตรง เป็นต้น [2]

การกระจายพันธุ์ และถิ่นที่อยู่อาศัย

ปกติแล้วสามารถพบเมียร์แคตได้ในบริเวณ ภาคพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของบอตสวานา รวมไปถึงทางตะวันตก ทางใต้ของนามิเบีย และทางเหนือ บวกตะวันตกของแอฟริกา โดยพวกมันมักจะอาศัยในพื้นที่ที่มีหินปูน แต่จะต้องเป็นแหล่งแบบเปิดโล่งแห้งแล้ง แต่ส่วนมากจะพบประชากรเมียร์แคต สัตว์โลกน่ารัก ในทุ่งหญ้าสะวันนา

ที่ราบโล่ง และพื้นที่หินข้างแม่น้ำ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม บล็อกนี้ได้บอกเล่าช่วงชีวิตของเมียร์แคตแล้ว ยังมีสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่บล็อกได้นำเสนอพร้อมกัน ซึ่งเป็นกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน อย่าง “ แอลลิเกเตอร์ ” หากคุณสนใจแนะว่าให้มาสนุกกันต่อกับ เรื่องเล่าแอลลิเกเตอร์ เรื่องเล่าของจระเข้ตีนเป็ดอเมริกัน

เรื่องเล่าเมียร์แคต ในส่วนพฤติกรรม อาหาร และภัยคุกคาม

เรื่องเล่าเมียร์แคต

เมียร์แคตเป็นสัตว์ที่อยู่อาศัยกันเป็นกลุ่มใหญ่ โดยมีจำนวนตั้งแต่ 2 – 30 ตัวขึ้นไป ซึ่งสมาชิกในฝูงจะผลัดกันทำหน้าที่ต่าง ๆ อาทิเช่น ดูแลลูก และคอยระมัดระวังจากนกนักล่า อย่าง “ อินทรีนักรบ ” ผู้เป็นถึง ราชาแห่งนก เสือดาวแห่งท้องฟ้าแอฟริกา

โดยถ้าอิงจาก เรื่องเล่าเมียร์แคต พวกมันเป็นสัตว์ที่ระมัดระวังตัวเอง และมักจะออกสำรวจสภาพแวดล้อมโดยรอบ บางตัวจะยืนเป็นยามเฝ้าระวังอันตราย หากพวกมันพบนักล่าเข้าใกล้ พวกมันจะเริ่มเปล่งเสียงแหลมสูง ๆ เพื่อเตือนสมาชิกตัวอื่น ๆ ทั้งนี้ พวกมันเป็นสัตว์ที่กินแมลงเป็นหลัก

อย่างแมลงปีกแข็ง ผีเสื้อ นอกจากนี้ยังกินแมงป่อง สัตว์เลื้อยคลาน นกขนาดเล็ก รวมไปถึงพืช และเมล็ดพืช เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พวกมันเป็นสัตว์ที่มักเจอกับภัยคุกคามทางธรรมชาติ แต่ยังเป็นสัตว์ที่น่ากังวลน้อยกว่าสัตว์อื่น ๆ ที่เสี่ยงสูญพันธุ์จากภัยคุกคามทางธรรมชาติ

ข้อเท็จจริง เรื่องเล่าเมียร์แคต ฉบับรวบรัด

  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Suricata Suricatta
  • ชื่อวงศ์ : Herpestidae
  • ชื่อที่เรียก : เมียร์แคต
  • การจำแนกประเภท : สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก
  • สถานะ IUCN : บัญชีแดงขององค์กร IUCN ระบุว่า เป็นสัตว์ที่ไม่น่ากังวลว่าจะสูญพันธุ์
  • อายุขัย : ตัวที่อาศัยในผืนป่าจะมีอายุ 12 – 14 ปี แต่ตัวที่อาศัยตามสวนสัตว์ หรือเป็นสัตว์เลี้ยงมนุษย์ คาดการณ์ว่าจะมีอายุขัยที่ยืนยาวกว่า
  • ถิ่นที่อยู่อาศัย : ทะเลทรายซะเป็นส่วนใหญ่

ที่มา: NATIONAL GEOGRAPHIC KiDS – Fast Meerkat Facts ( ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเมียร์แคตอย่างรวดเร็ว ) [3]

Q&A ถามตอบ เรื่องเล่าเมียร์แคต

เมียร์แคตคือตัวอะไร : สัตว์ในวงศ์พังพอน หนึ่งในสมาชิกของสัตว์ป่าทวีปแอฟริกา มีลักษณะเด่นด้วยหัวที่สั้น หน้ากว้าง จมูกยื่นยาว ขอบตาเป็นสีดำ หางเรียวยาว ถือว่าเป็นสัตว์โลกที่น่ารัก

เมียร์แคตเป็นสัตว์ตระกูลอะไร : พวกมันกินพืชเพียงน้อยนิด แต่ส่วนใหญ่ถ้าอิงจาก เรื่องเล่าเมียร์แคต พวกมันจะเน้นกินเนื้อจากสัตว์เล็กต่าง ๆ จึงทำให้อยู่ในอันดับของ สัตว์กินเนื้อ อย่างพวกแมลง ผีเสื้อ แมงป่อง รวมไปถึงสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ

เมียร์แคตมาจากประเทศอะไร : พบประชากรจำนวนมากในแอฟริกาใต้ รวมไปถึงประเทศบอตสวานา นามิเบีย และตะวันตกเฉียงใต้ของแองโกลา

เมียร์แคตออกลูกเป็นอะไร : พวกมันจะออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 2 – 5 ตัว และจะออกลูกตามโพรงดิน โดยช่วงฤดูผสมพันธุ์ ได้แก่ เดือนตุลาคม – มีนาคม ซึ่งมีระยะเวลาการตั้งท้อง 11 สัปดาห์

เมียร์แคตขายตัวละกี่บาท : หากเป็นช่วงวัยกำลังน่ารัก ซุกซนเล็กน้อย อาจขายที่ราคา 7,500 บาท เป็นต้น

สรุป เรื่องเล่าเมียร์แคต

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอย่าง Meerkat มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ซึ่งฝูงหนึ่งจะมีจำนวนประมาณ 2 – 30 ตัวขึ้นไป ปัจจุบันสัตว์น่ารักชนิดนี้ กลายเป็นสัตว์เลี้ยงของคนในต่างแดน ซึ่งประเทศไทยเองก็เริ่มมีคนหันมาเลี้ยง

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Pet Noi
Pet Noi

แหล่งอ้างอิง