เรื่องเล่ากิ้งก่ามีพิษ สัตว์เลื้อยคลานของประเทศสหรัฐอเมริกา กิ้งก่ามีพิษขนาดใหญ่ อย่าง “ กิล่ามอนสเตอร์ ” ( Gila Monster ) มีสารพิษที่มีผลต่อระบบประสาทของเหยื่อ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีการรายงานข่าวที่ว่า ชายคนหนึ่งลักลอบเลี้ยงในบ้าน แต่สุดท้ายถูกกิ้งก่าชนิดนี้กัดจนเสียชีวิต โดยบล็อกนี้ได้รวมทุกเรื่องราวของ สัตว์โลกมีพิษ อีกหนึ่งสัตว์ที่กำลังจะสูญพันธุ์
“ กิล่ามอนสเตอร์ ” เป็นชนิดสายพันธุ์กิ้งก่าที่ตัวใหญ่ที่สุด ที่สายพันธุ์ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ซึ่งพวกมันมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเหนือ โดยมีความยาวของลำตัวตาม เรื่องเล่ากิ้งก่ามีพิษ อยู่ระหว่าง 26 – 36 เซนติเมตร หรือประมาณ 10 – 14 นิ้ว ส่วนหางมีความยาวประมาณ 20% ของขนาดลำตัว ซึ่งตัวที่ใหญ่ที่สุดอาจมีความยาว 51 – 56 เซนติเมตร หรือประมาณ 20 – 22 นิ้ว
โดยทั่วไปแล้ว อาจมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยที่ 550 – 800 กรัม หรือประมาณ 1.21 – 1.76 ปอนด์ ทั้งนี้ กิ้งก่ามีพิษชนิดนี้ มีโครงสร้างร่างกายที่แข็งแรง มีปากที่หนา หัวที่ใหญ่ ดวงตาที่เล็ก [1] อย่างไรก็ตาม นอกจากกิ้งก่าชนิดนี้มีขนาดตัวที่ใหญ่แล้ว ยังมีอีกหนึ่งสัตว์น้ำเช่นกัน ที่บางชนิดมีขนาดตัวที่ใหญ่ อย่าง “ เต่า ” โดยถ้าพูดตาม เรื่องเล่าของเต่า สายพันธุ์ที่ตัวใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่ “ เต่าบก ” เป็นต้น
สัตว์ประหลาดอย่าง “ กิล่ามอนสเตอร์ ” สัตว์โลกอันตราย สามารถพบการกระจายพันธุ์ได้ในบริเวณ ตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐ และประเทศเม็กซิโก ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในป่าพรุ ทะเลทราย ป่าโอ๊ก แต่มักจะซ่อนตัวอยู่ในโพรง พุ่มไม้ และใต้ก้อนหินต่าง ๆ ถ้าสภาพอากาศที่มีความชื้นมากพอ พวกมันมักซ่อนตัวอยู่ใต้ก้อนหินเป็นเวลานาน อีกทั้งยังสามารถพบได้ตามแหล่งน้ำ
และสามารถพบเห็นได้อีก ตามแอ่งน้ำหลังฝนตกในฤดูร้อน ทั้งนี้ กิล่าใช้ชีวิตส่วนใหญ่ 90% ในการอยู่ใต้ดินในโพรง หรือที่พักพิงที่เป็นหินซะเป็นส่วนใหญ่ พวกมันมักจะเคลื่อนไหวในตอนเช้า และย้ายที่พักพิงทุก ๆ 4 – 5 วันจนถึงต้นฤดูร้อน โดยการทำเช่นนี้จะช่วยให้พวกมัน ปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิ เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ซึ่งอุณหภูมิที่เหมาะสมในฤดูร้อน ได้แก่ 30 – 37 องศาเซลเซียส
อาหารที่กิล่ามักกินเป็นประจำ ประกอบไปด้วยอาหารหลากหลายชนิด แต่จำพวกสัตว์ที่กินบ่อยที่สุด ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก อาทิเช่น กระต่าย, กระต่ายป่า, หนู, กระรอกดิน, สัตว์ฟันแทะอื่น ๆ, นกตัวเล็ก, งู, จิ้งจก, สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง รวมถึงซากสัตว์อื่น ๆ เป็นต้น นี่จึงทำให้พวกมันจัดอยู่ในจำพวก สัตว์กินเนื้อ
ที่การกินครั้งหนึ่งจะต้องกินให้เยอะที่สุด แล้วมีการกักเก็บ หรือสะสมไขมันไว้ที่หาง จึงทำให้พวกมันไม่จำเป็นต้องกินบ่อย อย่างไรก็ตาม พวกมันจะเริ่มกินอาหารทุกครั้ง ที่มันเจอเหยื่อที่เหมาะสม ซึ่งกิล่าวัยอ่อนสามารถกลืนได้ถึง 50% ของน้ำหนักตัว และตัวที่โตเต็มวัยแล้ว อาจกินอาหารได้มากถึง 1 ใน 3 ของน้ำหนักตัวของพวกมัน
ถ้าพูดตาม เรื่องเล่ากิ้งก่ามีพิษ ในยุคตะวันตกเก่า ประชากรสมัยนั้นเชื่อกันว่า ลมหายใจของกิล่ามอนสเตอร์มีพิษ และยังเชื่ออีกว่าการกัดครั้งหนึ่งของมัน อาจทำให้เหยื่อถึงแก่ชีวิตได้ เพราะเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2424 ได้มีหญิงตั้งครรภ์คนในท้องถิ่นจับตัวกิล่า
จนสุดท้ายถูกมันกัดเข้าที่มือ ทั้งนี้ พิษของมันถูกผลิตในต่อมน้ำลาย ซึ่งต่อมน้ำลายอยู่ปลายขากรรไกรล่าง โดยพิษของมันมีผลต่อระบบประสาทของเหยื่อที่ถูกกัด ซึ่งมันจะส่งสารพิษเข้าโดยตรงผ่านฟันกรามล่าง แต่ก็มีบางครั้งที่พิษไม่อันตรายต่อมนุษย์ แต่บางคนที่เสียชีวิต อาจเกิดจากร่างกายของเหยื่อแพ้สารพิษ
อย่างไรก็ตาม มีการยืนยันการเสียชีวิต 1 ราย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2024 และการเสียชีวิตที่หายากในผู้ใหญ่ ซึ่งถูกบันทึกไว้ก่อนในปี ค.ศ. 1930 โดยผู้โชคร้ายมีอาการมึนเมาจากแอลกอฮอล์ ได้ถูกมันกัดเข้าที่มืออย่างไม่ถูกต้อง [2]
แม้ว่า Gila Monster จะเป็นสัตว์มีพิษ แต่เปอร์เซ็นต์การเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ยังไม่เทียบเท่ากับสัตว์อันตรายชนิดอื่น ๆ เนื่องจากพวกมันเชื่องช้า แต่ถึงแม้รูปร่างหน้าตาจะน่ากลัว และมีพิษร้ายแรงขนาดไหน มนุษย์ก็ยังมีการล่าเอาชีวิต ทั้งนี้ ได้มีตำนาน เรื่องเล่ากิ้งก่ามีพิษ ที่มนุษย์มักพูดต่อ ๆ กันมาว่า
ลมหายใจของพวกมันมีพิษมากพอ ที่จะสังหารมนุษย์ได้เลย เพราะสามารถพ่นพิษออกมาแทนการกัดได้ อารมณ์เหมือนงูเห่า พ่นพิษออกไปในอากาศหลายฟุตเพื่อโจมตีเหยื่อ อีกทั้งกิล่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีทวารหนัก พวกมันจึงจำเป็นจะต้องขับของเสียออกจากปาก นี่จึงเป็นที่มาของพิษ และลมหายใจที่เหม็น
อย่างที่ทราบกันว่า กิล่ามอนสเตอร์เป็นสัตว์มีพิษ แต่รู้กันหรือไม่ว่า พิษของมันนอกจากจะสังหารมนุษย์แล้ว ยังนำมารักษาอาการป่วยโรคบางชนิดของมนุษย์ได้อีกด้วย นี่จึงเป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมพวกมันถูกมนุษย์บางกลุ่มสังหาร จึงทำให้กิล่ามอนสเตอร์ถูกองค์กร IUCN
ระบุสถานะให้เป็น สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ที่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายในอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นสัตว์มีพิษชนิดแรก ที่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย ทั้งนี้ ในประเทศไทยบางสวนสัตว์ มีการจัดแสดงโชว์กิ้งก่ากิล่ามอนสเตอร์ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 ถึงต้นปี พ.ศ. 2555 [3]
สิ่งมีชีวิตอย่าง “ กิล่ามอนสเตอร์ ” สัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า อีกหนึ่งสัตว์โลกที่มีพิษร้ายแรง โดยพวกมันจะปล่อยสารพิษออกจากลมหายใจ ให้คละคลุ้งไปทั่วอากาศ และปล่อยสารพิษจากฟันกรามล่าง ในขณะที่กำลังกัดเหยื่อ ปัจจุบันเป็นสัตว์ที่มีคุณค่า เพราะสามารถนำพิษไปรักษาอาการป่วยของมนุษย์ได้ จึงทำให้ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย