ข้อมูล สัตว์สังคม พฤติกรรมทางสังคมของสัตว์

สัตว์สังคม

สัตว์สังคม สิ่งมีชีวิตจำพวกสัตว์ทุกชนิด ทุกสายพันธุ์ ที่มีความสัมพันธ์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม, การช่วยเหลือพึ่งพากัน, การออกล่าเป็นกลุ่ม หรือการเลี้ยงดูลูกน้อย เป็นต้น โดยบล็อกนี้จะมาให้ความรู้ในเรื่องของ “ ระบบทางสังคมของสัตว์ ” หรือพฤติกรรมการแสดงออกต่าง ๆ

ความหมาย ระบบสังคมของสัตว์ ( Social Animal )

ทุกสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นมาบนโลกนี้ ที่เราเรียกพวกมันว่า “ สัตว์ ” นั้น จะมีระบบทางสังคม หรือพฤติกรรมการกระทำ การแสดงออกที่แตกต่างกัน โดยจะมีปัจจัยบางอย่างที่เป็นตัวกระตุ้น ซึ่งระบบสังคมของ สัตว์สังคม มีความหมายอย่างกว้าง ๆ ว่า การกระทำบางอย่าง การแสดงออกบางอย่างของสัตว์ เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า สิ่งภายนอกที่มากระตุ้น

ไม่ว่าจะเป็น ความเครียด, ความกังวล, ความหิว, ความต้องการ, ความกลัว, แสงสว่าง, ความชื้น, อุณหภูมิ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการได้สัมผัสโดยตรง กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ทั้งนี้ การตอบโต้ต่อสิ่งที่มากระตุ้น พวกมันอาจแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การกิน, การต่อสู้, การนอน, การช่วยเหลือกัน เป็นต้น

พฤติกรรมทางสังคม เมียร์แคต นักล่าผู้กล้าหาญ

“ เมียร์แคต ” ( Meerkat ) เป็นกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก พวกมันจัดอยู่ในกลุ่ม Social Animal ที่มีการอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ณ ทุ่งหญ้าแห้งของแอฟริกาตอนใต้ พวกมันมีพฤติกรรมทางสังคม ที่บ่งบอกว่ามีชีวิตสังคมที่สูง โดยมักจะอาศัยอยู่ร่วมกันประมาณ 10 ตัวขึ้นไป แถมยังมีการจัดลำดับชั้นในกลุ่ม

ซึ่งการจัดลำดับชั้นจะแบ่งออกอย่างชัดเจน โดยเมียร์แคตตัวเมียที่แข็งแรงที่สุด จะรับหน้าที่เป็นผู้นำกลุ่ม และมีบทบาทสำคัญในการสืบพันธุ์กับตัวผู้ที่แข็งแรง ส่วนสมาชิกตัวอื่น ๆ จะแบ่งหน้าที่กัน อาทิเช่น การเฝ้าระวังศัตรูต่าง ๆ อย่าง “ อินทรีนักรบ ” กลุ่มสัตว์ปีกที่เป็นถึงนกนักล่าเหยื่อ ผู้เป็น ราชาแห่งนก บนท้องนภาของทุ่งหญ้าแอฟริกาใต้ รวมถึงสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ [1]

พฤติกรรมทางสังคม เพนกวิน สัตว์จำพวกสัตว์ปีก

“ เพนกวิน ” ( Penguin ) อีกหนึ่งสัตว์โลกที่มีระบบทางสังคม ค่อนข้างน่าสนใจพอ ๆ กับเมียร์แคต พวกมันเป็นกลุ่มสัตว์ปีกที่บินไม่ได้ มีหน้าตาที่น่ารัก มีสายพันธุ์ย่อยทั้งหมด 17 สายพันธุ์ด้วยกัน อีกทั้งยังมีการสื่อสารกันด้วยการส่งเสียงดัง แถมยังมีพฤติกรรมการอยู่รวมกันเป็นฝูง ซึ่งฝูง ๆ หนึ่งจะมีมากกว่า 20 ตัวขึ้นไป

เวลาที่พวกมันจะติดต่อกันนั้น ตัวใดตัวหนึ่งจะส่งเสียงดังเรียกหาอีกตัว ส่วนเวลาทักทายกัน จะใช้ปาก หรือคอถูกันไปมา นอกจากนี้ หากพวกมันรับรู้ถึงภัยอันตราย พวกมันจะเปล่งเสียงร้องเพื่อเรียกหาครอบครัว เรียกหาเพื่อนให้มารวมตัวกัน ถือว่าเพนกวินเป็นสัตว์ที่สามารถ จดจำเสียงของคู่รัก ลูก หรือเพื่อนได้ [2]

ปัจจัยกระตุ้น สัตว์สังคม สิ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรม การกระทำ

สัตว์สังคม

สิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะมนุษย์ หรือ สัตว์สังคม ต่างก็มีแบบแผนในการใช้ชีวิต และการตอบสนองต่อสิ่งเร้า ต่อสิ่งที่มากระตุ้นแตกต่างกัน แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนมีปัจจัยที่มาคอยกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็น

  • สิ่งเร้าต่าง ๆ หรือตัวกระตุ้นที่ทำให้สิ่งมีชีวิต ตอบสนองออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะในเชิงการกระทำ หรือแรงจูงใจ
  • การปลดปล่อยพฤติกรรม ทั้งแบบปลดปล่อยที่มีข้อจำกัด และแบบปลดปล่อยที่หยุดไม่ได้ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม นอกจากโลกนี้ยังมีสัตว์ที่มีระบบทางสังคมแล้ว ยังมีอีกกลุ่มสัตว์ที่ถูกยกให้เป็นสัญลักษณ์ หรือตัวแทนของประเทศนั้น ๆ อย่าง สัตว์ประจำชาติ อาทิเช่น ช้าง, สิงโต, เสือโคร่งอินโดจีน, ควายน้ำ, กูปรี, ควาย, มังกรโคโมโด, อินทรีทะเลท้องขาว บลา ๆ

พฤติกรรมทางสังคม ชิมแปนซี อันดับลิงไม่มีหาง

“ ชิมแปนซี ” ( Chimpanzee ) กลุ่มลิงไม่มีหางที่มักกินแต่วัชพืช ผลไม้ จึงทำให้พวกมันถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม สัตว์กินพืช ที่มีลักษณะทางกายที่คล้ายกับมนุษย์ ปัจจุบันมีชนิดย่อยทั้งหมด 4 ชนิดด้วยกัน ที่ได้รับการรับรอง ไม่ว่าจะเป็น ชิมแปนซีกลาง, ชิมแปนซีตะวันตก, ชิมแปนซีไนจีเรีย, ชิมแปนซีตะวันออก เป็นต้น

นอกจากที่ลักษณะทางกายยังเหมือนมนุษย์แล้ว พฤติกรรมการกระทำต่าง ๆ ก็ยังเหมือนซะจนน่าตกใจอีก เนื่องจากพวกมันมีการเลียนแบบนั่นเอง อาทิเช่น การใช้ไม้หาสาหร่ายในน้ำ, การทำความสะอาด, การโยนก้อนหินใส่ต้นไม้, การเลียนแบบการถ่ายเซลฟี่ของมนุษย์ และการใช้ภาษามือแบบมนุษย์ บลา ๆ [3]

มัดรวมประเภทพฤติกรรม สัตว์สังคม

สำหรับพฤติกรรมการกระทำ การแสดงออกต่าง ๆ ของ สัตว์สังคม ถ้าส่วนที่เห็นได้อย่างชัดเจน จะมีทั้งหมด 3 – 4 ประเภทด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น

  • พฤติกรรมการหาอาหาร : มีการออกล่าหาอาหารกันเป็นกลุ่ม และมีการแบ่งปันอาหารในฝูง
  • พฤติกรรมการสื่อสาร : สัตว์ที่มีระบบทางสังคมอย่างเพนกวิน จะมีการเปล่งเสียงร้องเพื่อเรียกหาครอบครัว เรียกหาลูก หรือเรียกหาเพื่อนให้มารวมกลุ่ม
  • พฤติกรรมการดูแลลูกน้อย : สัตว์ตัวผู้ ตัวเมีย มีการช่วยกันดูแลลูกน้อย อีกทั้งตัวอื่น ๆ ก็ยังมาช่วยดูแลอย่าง ชิมแปนซี หรืออุรังอุตัง
  • พฤติกรรมการป้องกันตนเอง : สัตว์บางชนิดจะมีการแบ่งลำดับ แบ่งหน้าที่ บางตัวก็ต้องปกป้องอาณาเขต บางตัวก็คอยสอดส่องภัยอันตรายอย่าง เมียร์แคต เป็นต้น

สรุป สัตว์สังคม

สัตว์โลกไม่ว่าจะเป็นพันธุ์อะไร สปีชีส์ไหน ก็ย่อมมีระบบทางสังคม และพฤติกรรมการแสดงออก ต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นให้กระทำ แต่ทว่า การโต้ตอบกลับจะแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น การต่อสู้ การนอน หรือแม้กระทั่งการสืบพันธุ์

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Pet Noi
Pet Noi

แหล่งอ้างอิง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง