สัตว์โรแมนติก สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในจำพวกสัตว์ปีก อย่าง “ หงส์ ” ( Swan ) เป็นสัตว์ที่ทางองค์กรพิทักษ์สัตว์โลก ได้จัดให้อยู่ในกลุ่มสัตว์ที่มีพฤติกรรมอบอุ่น มีความโรแมนติก มีการแสดงความรักต่อกัน และมีความสัมพันธ์ที่ยืนยาว โดยบล็อกนี้จะพามาชมเรื่องราว ของสัตว์ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “ สัตว์สัญลักษณ์แห่งความรัก ”
ไม่ใช่เพียงมนุษย์โลกเท่านั้นที่จะมีความรัก มีความสัมพันธ์ที่ยืนยาว ยังมีสัตว์โลกบางชนิดที่มีพฤติกรรม หรือท่าทีที่บ่งบอกว่ารักเดียวใจเดียว อย่าง “ หงส์ ” สัตว์โรแมนติก กลุ่มสัตว์จำพวกสัตว์ปีก ซึ่งอยู่วงศ์เดียวกันกับเป็ด และนกเป็ดน้ำ
พวกมันมักจะแสดงความรักต่อกันอย่างอ่อนโยน มีการเกี้ยวพาราสีกัน จึงทำให้หงส์ สัตว์โลกสวยงาม ถูกพรรณนาว่าเป็น “ สัตว์สัญลักษณ์แห่งความรัก ” ซึ่งพฤติกรรมที่บ่งบอกว่าพวกมันรักกัน ได้แก่ การว่ายน้ำแบบประสานกัน, การพยักหน้า, การกระพือปีก หรือแม้กระทั่งการทำท่าหัวใจด้วยคอ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม นอกจากบนโลกนี้มีสัตว์ที่โรแมนติกแล้ว ยังมีสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่ชอบความสันโดษ มักออกล่าเพียงตัวเดียว จนถูกจัดกลุ่มให้เป็น สัตว์รักสันโดษ อย่าง “ ฮันนี่แบดเจอร์ ” สัตว์นักสู้ผู้มีความแข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเสือ หรือสิงโตก็ไม่กลัว
สิ่งมีชีวิตที่เป็นตัวแทนแห่งความสง่างาม ความแข็งแกร่ง และความกล้าหาญ อย่าง “ หงส์ ” สัตว์ที่ทำให้แม่น้ำดูมีความงดงามมากขึ้น แต่ทว่า นอกจากพฤติกรรมที่อ่อนโยน ที่พวกมันมักแสดงต่อกันแล้ว พวกมันยังมีนิสัยที่ค่อนข้างรุนแรง ต่อสัตว์โลกชนิดอื่น ๆ อีกด้วย
ยิ่งสัตว์ตัวไหนที่เข้าใกล้อาณาเขต หรือจ้องจะทำร้ายครอบครัวของมัน หงส์จะทำนิสัยที่รุนแรงใส่เพื่อปกป้องอาณาเขต ปกป้องครอบครัวของมันทันที ทั้งนี้ พวกมันจะมีความยาวลำตัว 140 – 160 เซนติเมตร ส่วนความกว้างของปีกประมาณ 200 – 240 เซนติเมตร
ซึ่งตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย และมีโหนกบนจะงอยปากที่ใหญ่กว่าเช่นกัน อีกทั้งน้ำหนักของพวกมัน จะหนักมากกว่าหงส์สายพันธุ์อื่น ๆ โดยตัวผู้จะหนักประมาณ 10.6 – 11.87 กิโลกรัม ในขณะที่ตัวเมียจะหนัก 8.5 – 9.67 กิโลกรัม [1]
Swan สัตว์ที่ขึ้นชื่อเรื่องความสง่างาม และแสนจะอบอุ่น ได้มีทั้งหมด 6 สายพันธุ์ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น
ที่มา: วิชาเกิน สัตว์โลก – สารคดี วิชาเกินสัตว์โลก [season5] ep.11 หงส์แดงแรงฤทธิ์ [2]
สัตว์มหัศจรรย์ที่มาพร้อมความสง่างาม มักพบในสภาพแวดล้อมแบบอบอุ่น โดยจะพบ สัตว์โรแมนติก ได้น้อยในเขตร้อน ซึ่งจะพบหงส์ 4 สายพันธุ์ในซีกโลกเหนือ 1 สายพันธุ์พบในออสเตรเลีย และอีก 1 สายพันธุ์พบในอเมริกาตอนใต้ ทั้งนี้ หงส์หลายสายพันธุ์มีการอพยพย้ายถิ่นฐานทั้งหมด และย้ายบางส่วน
ซึ่งทั้งหมดมักจะย้ายไปยังยุโรปตะวันออก และเอเชีย พื้นที่ไหนที่เป็นเขตอบอุ่น หรือหนาวนิด ๆ มักจะพบประชากรจำนวนมาก โดยมีหลักฐานบางอย่างที่บ่งชี้ว่า หงส์บางชนิดมีการย้ายถิ่นที่อยู่ ในบางส่วนของอาณาเขต แต่ยังไม่แน่ใจว่าเป็นการอพยพระยะไกล หรือว่าระยะสั้นกันแน่
สำหรับพฤติกรรมที่คุ้นเคยกัน ได้แก่ พวกมันมักจะผสมพันธุ์กันตลอดชีวิต มีการผูกพันกันก่อนที่จะถึงวัยเจริญพันธุ์ นี่จึงเป็นที่มาของความรักที่ยืนยาว ยกตัวอย่างเช่น หงส์ทรัมเป็ตเริ่มผสมพันธุ์เมื่ออายุ 4 – 7 ปี แต่จะเริ่มมีความสัมพันธ์กันก่อนตั้งแต่อายุ 20 เดือน ส่วนการหย่าร้างในหงส์นั้น กรณีนี้พบได้ยากมาก
อีกทั้ง สัตว์โรแมนติก ยังมีพฤติกรรมที่หากินอาหารในน้ำ และบนบก โดยอาหารที่พวกมันกิน คือ “ พืช ” จึงทำให้ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของ สัตว์กินพืช 90% บวกกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเพียง 10% ซึ่งการหาอาหารกินนั้น จะทำด้วยวิธีพลิกคว่ำ หรือขุดคุ้ยหาอาหาร อาทิเช่น ราก, ลำต้น, ใบของพืชน้ำ เป็นต้น
อย่างที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงหงส์ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ในประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่น ๆ มากขึ้น อาทิเช่น ในประเทศไทยมีฟาร์มจังหวัดเพชรบุรี เป็นฟาร์มที่เปิดในรูปแบบของ ศูนย์การศึกษาการเพาะพันธุ์สัตว์ ซึ่งพวกเขาเพาะพันธุ์สัตว์ถึง 10 ชนิด โดยเฉพาะหงส์ขาว หงส์ดำ
ด้วยความที่รูปร่างพวกมันสง่างาม จึงทำให้ราคาขายในตลาดก็แพงไปด้วย ยิ่งมีคนต้องการมากเท่าไหร่ ราคาขายก็ยิ่งบวกเพิ่มขึ้นไปอีก นับว่าเป็นสัตว์มหัศจรรย์ ที่หากทำการเลี้ยงแบบเพาะเลี้ยงในฟาร์มแล้ว จะเป็น สัตว์เลี้ยงสร้างอาชีพ ให้กับกลุ่มคนทำฟาร์มในประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่น ๆ อย่างมาก [3]
อีกหนึ่งสัตว์โลกที่ถูกพรรณนาว่าเป็น “ สัตว์สัญลักษณ์แห่งความรัก ” แถมยังเป็นตัวแทนแห่งความสง่างาม อย่าง “ หงส์ ” ถือว่าเป็นสัตว์ที่พบเจอได้ง่าย เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานไปมา ทำให้มีกลุ่มคนนำไปเพาะเลี้ยงเพื่อส่งออกขาย และเลี้ยงในรูปแบบของสัตว์เลี้ยงมากขึ้น