สัตว์ผู้ล่าชั้นยอด สัตว์ทะเลที่อยู่ระดับสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร อย่าง “ ปลาฉลามขาวยักษ์ ” ขึ้นชื่อว่าเป็น สัตว์นักล่าชั้นยอด ที่รักษาระบบนิเวศน์ทางทะเลให้สมดุล อีกทั้งยังเป็นกลุ่มปลากินเนื้อขนาดใหญ่ จนถูกบันทึกลงสถิติว่าเป็น ปลากินเนื้อขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งบล็อกนี้ได้นำเสนอเรื่องราว Great White Shark สัตว์ทะเลที่ทำให้มนุษย์ต้องอึ้ง ต้องทึ่งกับเรื่องราวของพวกมัน
ด้วยฉลามขาวยักษ์ Great White Shark ปลานักล่าใต้ทะเลขนาดใหญ่ที่สุดในโลก อาศัยอยู่ตามแถบทะเลชายฝั่ง ชายทะเลเกือบทั่วทุกมุมโลก แต่มักจะพบความหนาแน่นได้มากที่สุด บริเวณพื้นที่ของอ่าวประเทศออสเตรเลีย ทางตอนใต้ของแคลิฟอร์เนีย ทวีปแอฟริกา
รวมถึงทางตอนกลางของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เนื่องจากบริเวณนั้นมีอุณหภูมิ 12 – 24 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ ปลานักล่าที่ตัวโตเต็มวัย จะมีความยาวลำตัวประมาณ 6 เมตรขึ้นไป มวลน้ำหนัก 2,250 กิโลกรัม ด้วยความยาวบวกน้ำหนัก จึงทำให้ฉลามขาวยักษ์กลายเป็น ปลากินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
อย่างที่รู้กันว่า Great White Shark เป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ แต่กลับเคยมีมนุษย์จับขึ้นมาจากทะเลได้ แถมตัวที่จับได้ยังมีลำตัวขนาดใหญ่ จนถึงขั้นมีคนเอาไปบันทึกลงสถิติ โดยอันดับฉลามขาวยักษ์ ที่มนุษย์เคยจับได้มีถึง 10 อันดับด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น
ที่มา: Animal Presents – 10 อันดับ ฉลามยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มนุษย์เคยจับได้ ( ใหญ่อย่างกับเมกาโลดอน ) [1]
จากที่มีกลุ่มคนสามารถจับปลาผู้ล่า สัตว์อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหารทะเลได้ พวกเขาก็ต้องอึ่งทึ่งกับความใหญ่โต เนื่องด้วยในปี ค.ศ. 1999 ประธานกรรมการขององค์กรอนุรักษ์ทางทะเล รวมไปถึงทีมงาน พวกเขาได้ทำการไปสำรวจ และเก็บบันทึกข้อมูลของฉลามขาวตัวเมีย ซึ่งพวกเขาพบว่ามันมีขนาดที่ใหญ่มาก
ใหญ่กว่าตัวที่เคยสำรวจมา พวกเขาจึงได้ติดแท็กไว้ที่ตัวของมัน พร้อมกับตั้งชื่อให้มันว่า “ Deep Blue ” ทั้งนี้ ความยาวที่พวกเขาคาดการณ์ไว้ จะประมาณ 6.4 เมตร และน้ำหนักประมาณ 2,500 กิโลกรัม จากการค้นพบของพวกเขาในครั้งนั้น ทำให้ Deep Blue กลายเป็นฉลามขาวยักษ์ตัวใหญ่ที่สุด เท่าที่มนุษย์เคยบันทึกลงสถิติเอาไว้ [2]
ปลานักล่าเป็นสัตว์ทะเลกินเนื้อ ซึ่งเหยื่อที่พวกมันจะออกล่า ได้แก่ ปลาพันธุ์ต่าง ๆ รวมถึงปลากระเบน และปลาฉลามตัวเล็ก, โลมา, แมวน้ำ, สิงโต, เต่าทะเล เป็นต้น โดยเหยื่อเหล่านี้มีคุณค่าทางอาหารที่สูง แถมยังไม่กินซากแมวน้ำ ซากหมู หรือซากแกะ
เพราะซากเหล่านี้ให้พลังงานแก่ร่างกายน้อย ทุกครั้งที่ สัตว์ผู้ล่าชั้นยอด ออกล่าเหยื่อ มันจะใช้สัมผัสพิเศษในการหาตำแหน่งจากระยะไกล บวกการใช้สัมผัสการดมกลิ่น และการฟังเพื่อยืนยันตำแหน่งเหยื่อ เมื่อเห็นเป้าหมายแล้ว มันจะจู่โจมเหยื่อจากทางด้านล่าง และจะกลายร่างเป็นเครื่องจักรสังหารทันที
ส่วนพฤติกรรมทั่ว ๆ ไปนั้นพบว่า ฉลามขาวเป็นสัตว์สังคม โดยตัวเมียจะมีอำนาจมากกว่าตัวผู้ แต่ตัวผู้จะมีอำนาจมากกว่าตัวที่เล็กกว่า ส่วนตัวที่เป็นเจ้าถิ่นจะมีอำนาจมากกว่าตัวมาเยือน เมื่อมีการออกล่าหาอาหาร พวกมันจะสั่งการในฝูงเพื่อให้ล่าเป็นระบบ เป็นต้น
สัตว์ทะเลชนิดใดกัน ที่ทำให้ฉลามขาวต้องว่ายน้ำหนี เมื่อได้เผชิญหน้ากัน ได้แก่ วาฬเพชฌฆาต เพราะฉลามขาวกลัวว่าจะถูกวาฬเพชฌฆาตไล่ล่า ด้วยขนาดลำตัวของวาฬที่ใหญ่กว่า และยังมีพฤติกรรมล่าเป็นฝูง ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมปลานักล่าถึงกลัวจนว่ายน้ำหนี
นอกจากนี้ พวกมันยังกลัวโลมาปากขวด เพราะโลมาปากขวดเป็นวงศ์เดียวกันกับวาฬเพชฌฆาต เมื่อไหร่ที่โลมาปากขวดรวมกันเป็นฝูงใหญ่ มันจะมีความแข็งแกร่งที่น่าเหลือเชื่อ จนฝูงปลานักล่าถึงขั้นว่ายน้ำหนีไป [3]
เรื่องราวของปลาฉลามขาวที่เคยจู่โจมมนุษย์ เกิดขึ้นมาจากภาพยนตร์ จอวซ์ ( Jaws ) โดยเนื้อหาภายในหนังบรรยายถึง ภาพของฉลามที่โหดร้ายกินมนุษย์ นี่จึงเป็นสิ่งที่ฝังใจของผู้รับชม และคิดว่าฉลามนั้นน่ากลัว แต่ความจริงแล้ว มนุษย์ไม่ใช่เหยื่อของฉลามตามธรรมชาติ
แต่ช่วงเวลาที่ผ่านมาในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีรายงานข่าวเกี่ยวกับ สัตว์ผู้ล่าชั้นยอด ว่า พวกมันได้จู่โจมมนุษย์เพียง 31 ราย ในรอบ 200 ปี ถือว่าเป็นจำนวนส่วนน้อยที่เสียชีวิต ส่วนสาเหตุที่พวกมันจู่โจมมนุษย์ เกิดจากความอยากรู้อยากเห็น อยากลองกัดสิ่งใหม่ ๆ สิ่งที่ไม่เคยคุ้นเคยมาก่อนนั่นเอง
สัตว์ทะเลครองตำแหน่งปลานักล่า ผู้ที่อยู่บนจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร รวมถึงระบบนิเวศของทางทะเล ด้วยขนาดลำตัวที่ใหญ่ ฟันที่แหลมคม เจอเหยื่อเมื่อไหร่จะกลายเป็นเครื่องสังหารทันที นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม ฉลามขาวยักษ์ถึงกลายเป็นปลานักล่า ปลากินเนื้อที่อันตรายที่สุด