แกะรอย นกสายพันธุ์หายาก ชนิดนกสวย เปอร์เซ็นต์หายาก 80%

นกสายพันธุ์หายาก

นกสายพันธุ์หายาก ไม่ว่าจะสายพันธุ์ในไทย หรือต่างประเทศ ต่างเป็นกลุ่มสัตว์ปีกที่มีจำนวนประชากร ลดลงอย่างน่าตกใจ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุของการถูกล่า อุบัติเหตุขณะบิน หรือถูกมลพิษทางอากาศทำร้าย บลา ๆ

เหล่านี้ทำให้เปอร์เซ็นต์การพบเจอ การค้นพบตามแหล่งที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ของ นกสายพันธุ์แปลก หายากสูงถึง 80% ขึ้นไป โดยบล็อกสำหรับคนรักนกเล่มนี้ ได้แกะรอยรายชื่อหน้าตามาให้แล้ว 4 รายชื่อ พร้อมทั้งเกร็ดความรู้น่าสนใจอื่น ๆ

ความสัมพันธ์นกร่วมกับมนุษย์ ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์

Bird นับว่าเป็นสัตว์ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ยกเว้นสายพันธุ์หายาก และสายพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ มนุษย์จึงมีความสัมพันธ์ร่วมกับนก มาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ในบางครั้งความสัมพันธ์เหล่านี้ ก็เกิดขึ้นในรูปแบบพึ่งพาอาศัยกัน แต่ก็มีนกบางพันธุ์เช่นกัน ที่เป็นศัตรูพืชทางการเกษตรที่สำคัญ ทางการค้าของมนุษย์

บางชนิดก็เป็นอันตรายต่อการบิน บลา ๆ นอกจากนี้ กิจกรรมของมนุษย์อาจเป็นอันตรายต่อนกได้ บางครั้งก็ถูกคุกคามจนสูญพันธุ์ จึงทำให้ทุกวันที่ 5 มกราคมของทุกปี ถูกตั้งให้เป็น “ วันนกแห่งชาติ ” เพราะอยากให้มนุษย์ร่วมโลก ได้ตระหนักถึงคุณประโยชน์ และร่วมใจกันอนุรักษ์ [1]

ร่องรอย นกสายพันธุ์หายาก

นกสายพันธุ์หายาก

นกเค้าอินทรียูเรเซีย : กลุ่มนกเค้าแมวที่อาศัยในบริเวณยูเรเซีย ส่วนใหญ่ในยุโรป และเอเชีย มักเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า “ นกเค้าแมว ” ซึ่งเป็นกลุ่มนกฮูกขนาดใหญ่ และมีสถานะ นกสายพันธุ์หายาก ที่จะต้องอนุรักษ์ให้มีชีวิตรอด ในธรรมชาติต่อไป

แต่ก่อนมีการกระจายพันธุ์ในยุโรป และเอเชียประมาณ 32,000,000 ตารางกิโลเมตร อีกทั้งจำนวนประชากรนกก็ลดลง จากกิจกรรมของมนุษย์ 68% ทั้งนี้ นกเค้าอินทรียูเรเซีย มีอายุขัยยืนยาวถึง 20 ปี [2]

นกเอี้ยงหงอนก้นลาย : หรือนกอีเห็น รู้จักกันในชื่อว่า “ นกอีเห็นปากขาว ” เป็นกลุ่มนกประเภทนกกระจอก ที่สามารถพบได้ในเนปาล รวมไปถึงตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ไปจนถึงบังกลาเทศ แต่ปัจจุบันจำนวนประชากรนกอีเห็นลดลง จึงทำให้ถูกเพิ่มเข้าไปในรายชื่อ นกหายากใกล้สูญพันธุ์ [3]

ร่องรอยนกหายาก เพิ่มเติม

เป็ดหงส์ : กลุ่มสัตว์ปีกจำพวกเป็ดชนิดหนึ่ง เป็นเป็ดป่าขนาดใหญ่ที่สุด มีขนาดลำตัวประมาณ 76 เซนติเมตร มีถิ่นฐานการแพร่กระจายกว้างขวางตั้งแต่ บังกลาเทศ, อินเดีย, ปากีสถาน, ศรีลังกา เป็นต้น โดยประเทศไทยถือว่าเป็ดหงส์ มีสถานะเป็น นกในต่างประเทศ ที่หายากในไทยมากที่สุด เนื่องจากใกล้สูญพันธุ์เต็มที แถมยังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองอีกด้วย [4]

นกคอสามสี : นกกินแมลง มีลักษณะเด่น คือ คอมีสามสี ขนบนลำตัว และหางเป็นสีน้ำตาลอ่อน แต่ก่อนมักพบเห็นบนคาบสมุทรมลายู ตั้งแต่จังหวัดพังงา ไปจนถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงไปยังเกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว แต่ปัจจุบันได้รับสถานะจากองค์กรในไทย ว่าเป็น นกในประเทศไทย ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ จึงทำให้ความหายาก หรือการพบเห็นน้อยลง [5]

นกสายพันธุ์หายาก กับความสำคัญทางเศรษฐกิจ

นกสายพันธุ์หายาก

ด้วยนกในปัจจุบันที่มนุษย์เลี้ยงไว้ภายในบ้าน เพื่อตั้งสถานะให้เป็น สัตว์เลี้ยงในบ้าน นั้น แต่ช่วงเวลาสมัยก่อน นกสายพันธุ์หายาก ถูกเลี้ยงเพื่อเอาเนื้อ เอาไข่ เพื่อส่งออกขายต่อไปยังกิจการ ตลาดขายสัตว์เลี้ยง ตามพื้นที่ขายต่าง ๆ

เรียกได้ว่า Bird เป็นสัตว์ปีกที่เต็มไปด้วยแหล่งโปรตีน ที่มนุษย์สามารถแปรรูปออกมาเป็นเนื้อ 76 ล้านตัน และไข่อีก 61 ล้านตัน ส่วนใหญ่สัตว์ปีกที่มนุษย์บริโภคมากที่สุด ได้แก่ “ ไก่ ” แต่หากเป็นสัตว์ปีกชนิดอื่น ๆ มนุษย์ไม่นิยมนำมาบริโภค แต่จะเน้นไปทางการล่า และการจับตัวมาขังในกรง

บทบาทสำคัญนกใน “ ศาสนา ”

ไม่ว่าจะในช่วงเวลาปัจจุบันนี้ หรือช่วงเวลาสมัยก่อนนั้น Bird ถือว่ามีบทบาทสำคัญ มีความหลากหลายในทางศาสนา และตำนาน เนื่องด้วยแต่ก่อน นกทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งสาร เป็นทั้งผู้ติดตาม และเฝ้าดูการกระทำของคนอื่น จากการได้รับคำสั่งจากผู้เลี้ยง บลา ๆ

นอกจากนี้ นกยังถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาเช่นกัน อาทิเช่น นกพิราบ สัตว์ปีกที่เป็นตัวแทนของความหวาดกลัว ความเศร้าโศก ความเฉื่อยชา รวมถึงความสวยงามที่เกี่ยวข้องกับนกพิราบ อีกทั้งนกยังได้รับการยกย่องให้เป็นเทพ เช่นในกรณีของนกยูง ซึ่งชาวอินเดียส่วนใหญ่ มองว่านกพิราบเป็นแม่ธรณี เป็นต้น

บทบาทสำคัญในส่วนของ “ ดนตรี ”

นกสายพันธุ์หายาก

นอกจากบทบาทสำคัญในส่วนของศาสนา รวมไปถึงความเชื่อต่าง ๆ แล้ว นกสายพันธุ์หายาก ยังมีบทบาทสำคัญในเรื่องของดนตรีอีกด้วย นั่นก็มาจากเสียงร้องของนก ที่มีอิทธิพลต่อนักแต่งเพลง และดนตรีในหลาย ๆ ด้าน พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจจากเสียงร้อง แถมยังสามารถเลียนแบบเสียงร้องของนก ในผลงานเพลงของศิลปินต่าง ๆ อีกด้วย อาทิเช่น Vivaldi , Messiaen และ Beethoven เป็นต้น

สรุป นกสายพันธุ์หายาก

สายพันธุ์ Bird ที่ถูกยกระดับเปลี่ยนสถานะให้เป็น “ นกหายาก ” ล้วนแล้วแต่มีสาเหตุมาจาก จำนวนประชากรนกที่ลดลง บวกกิจกรรมของมนุษย์ ที่ส่งผลเสียให้นกเสียชีวิต ทั้งนี้ เปอร์เซ็นต์การค้นพบในประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่น ๆ มีน้อยมาก จึงอยากให้คนรักนกร่วมใจกันอนุรักษ์

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Pet Noi
Pet Noi

แหล่งอ้างอิง