สำรวจ ปลาไม่ควรบริโภค 4 รายชื่อควรงด เสี่ยงปรอทสะสม

ปลาไม่ควรบริโภค

ปลาไม่ควรบริโภค สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล กับชนิดปลาที่ไม่ควรรับประทาน เพราะมีสารปรอทอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของปลา และยังมีพิษต่อร่างกายมนุษย์ เมื่อรับประทานเป็นประจำทุกวัน บางทีอาการหนักถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยบล็อกรวมข่าวสารน่ารู้เกี่ยวกับสัตว์โลก ได้ทำการรวบรวม 4 ชนิดปลา ที่ทุกช่วงวัยควรเลี่ยงรับประทาน พร้อมกับวิธีการเลือกปลาให้สดใหม่ น่ารับประทาน

ภาพรวมสถานการณ์ พฤติกรรมการกินปลาของคนไทย

ด้วยสถานการณ์พฤติกรรมการกินปลาของคนไทย ทางสบส. ได้รายงานผลสำรวจประชากรคนไทย 12,356 คน พบว่า ประชากรชาวไทยของทางภาคอีสาน มีพฤติกรรมกินปลาดิบร้อยละ 18.7% โดยเมนูยอดนิยมของภาคอีสาน ได้แก่ แจ่วบองดิบ ปลาร้า

ซึ่งเหตุผลหลัก ๆ ที่ชอบกินกัน ได้แก่ มีเทศกาล มีงานสำคัญ แถมยังหาซื้อได้ง่าย รสชาติอร่อยกว่าปลาปรุงสุก ทั้งนี้ การรับประทานปลาดิบ ปลาที่ไม่ควรกินเป็นประจำ มีข้อเสียกับร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะอาจเสี่ยงเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ และโรคมะเร็งท่อน้ำดี

แนะนำให้เลือกรับประทานปลาน้ำจืด กลุ่ม ปลานิยมบริโภค อาทิเช่น ปลานิล, ปลาดุก หรือปลาช่อน เป็นต้น เพราะกลุ่มปลาน้ำจืดควรบริโภคเหล่านี้ เต็มไปด้วยสารคุณประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพ ยิ่งกินเป็นประจำทุกวัน จะยิ่งดีต่อทุกส่วนในร่างกาย

2 ชนิด ปลาไม่ควรบริโภค เสี่ยงไขมัน เสี่ยงปรอทสะสม

ปลาไม่ควรบริโภค

ปลาไทล์ฟิช : กลุ่มปลาทะเลขนาดเล็ก พบเห็นได้ทั่วไปในบริเวณที่มีทราย โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้แนวปะการัง มีอายุขัยยืนยาวสูงถึง 46 ปี ( ตัวเมีย ) และ 39 ปี ( ตัวผู้ ) ซึ่งปลาชนิดนี้มีการทำประมงเชิงพาณิชย์ ทำให้ปลาไทล์ฟิชมีความสำคัญต่อการบริโภค

แต่หากกินเป็นประจำทุกวัน อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ เนื่องด้วยมีสารปรอทปนเปื้อนที่สูงถึง 219 ไมโครกรัม ถือว่าปลาไทล์ฟิชเป็นชนิด ปลาไม่ควรบริโภค อันดับต้น ๆ ของอาหารทะเล และเป็นชนิดปลาที่ไม่ควรรับประทาน เนื่องด้วยเป็น ปลาอันตรายที่สุด ที่คนทุกช่วงวัยควรหลีกเลี่ยง [1]

ปลาฉลาม : สัตว์นักล่าชั้นยอด สิ่งมีชีวิตที่อยู่บนห่วงโซ่อาหาร มนุษย์นิยมจับฉลามเพื่อการบริโภค ทั้งเนื้อฉลาม ซุปหูฉลาม ซึ่งประชากรจำนวนปลาฉลาม ต่างตกอยู่ในอันตรายจากกิจกรรมของมนุษย์ ทำให้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ประชากรฉลามลดลงถึง 71% ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากสาเหตุ ที่มนุษย์ทำการประมงมากเกินไป ทั้งนี้ ปลาฉลามมีสารปรอทปนเปื้อนมากถึง 151 ไมโครกรัม [2]

2 ชนิด ปลาไม่ควรบริโภค เพิ่มเติม ควรเลี่ยงรับประทาน

ปลากระโทงดาบ : รู้จักกันในชื่อว่า “ ปลาอินทรีดาบ ” เป็นกลุ่มปลาล่าเหยื่อขนาดใหญ่ เป็นสัตว์น้ำที่ดุดัน มีพลังการต่อสู้สูง ถึงแม้ในขณะนั้น ปลากระโทงดาบกำลังถูกฉมวกแทงอยู่ก็ตาม โดยปลาชนิดนี้นิยมนำไปทำเป็นอาหาร เนื้อปลามักนำไปทำเป็นสเต็ก ทั้งนี้ ปลากระโทงดาบมีสารปรอทปนเปื้อน 147 ไมโครกรัม [3]

ปลาอินทรี : หรือปลาทูน่าครีบเหลือง หรือปลากะพง เป็นสายพันธุ์ปลาที่อพยพมาจาก มหาสมุทรแอตแลนติกไปยังอ่าวเม็กซิโก แถมยังเป็นพันธุ์ปลาที่มีความสำคัญ ต่อกลุ่มคนที่ทำอุตสาหกรรม สัตว์เลี้ยงสร้างอาชีพ ด้วยการทำประมง เพื่อส่งออกขายไปยังเขตพื้นที่ตลาดต่าง ๆ ทั้งนี้ ปลาอินทรีเป็น ปลาไม่ควรบริโภค เพราะมีสารปนเปื้อน 110 ไมโครกรัม [4]

ปลาไม่ควรบริโภค กับส่วนของปลาไม่ควรกิน พิษรุนแรงถึงชีวิต

ปลาไม่ควรบริโภค

อย่างที่รู้กันว่า “ ปลา ” เป็นสัตว์ที่เต็มไปด้วยแหล่งอาหาร ผสมผสานไปด้วยโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ และร่างกาย นอกจากข้อดีเหล่านี้แล้ว ปลาก็มีจุดบางส่วนที่ไม่ควรกินเช่นกัน เพราะอาจมีสารพิษเข้าสู่ร่างกาย รายละเอียดของส่วน ปลาไม่ควรบริโภค มีดังนี้

  • เมือกบนผิวปลา : ผิวด้านนอกถูกปกคลุมด้วยเยื่อเมือก เป็นแหล่งสะสมแบคทีเรีย สิ่งสกปรกมากมาย
  • เยื่อหุ้มสีดำในท้องปลา : ชั้นพังผืดสีดำใต้ท้องปลา เต็มไปด้วยโคลน สิ่งสกปรก หากไม่ทำความสะอาดก่อนรับประทาน อาจมีกลิ่นคาวได้
  • ไส้ปลา : บริเวณนั้นเต็มไปด้วยสารพิษ จุลินทรีย์ และปรสิตที่ก่อให้เกิดไข่พยาธิตัวตืด ส่วนนี้ไม่ควรกินอย่างยิ่ง เป็นต้น

วิธีการเลือกปลา เพื่อการบริโภคเป็นอาหาร

สำหรับวิธีในการเลือกปลา เพื่อนำมาทำอาหารจานหลัก แนะนำให้ลองทำตาม 3 วิธีต่อจากนี้ เพื่อให้ปลาที่นำมาทำอาหารมีความสด ไร้กลิ่นคาว รายละเอียดมีดังนี้

  • ปลาสดจริงจะมีเกล็ดเงา ตาใส ให้ลองจับปลามาวางไว้บนมือ หรือวางบนภาชนะ ถ้าปลาที่เริ่มเน่าแล้ว หางของปลาจะอ่อนปวกเปียก มีครีบแห้ง และเหงือกจะเป็นสีเทา แต่ถ้าเป็นปลาที่สดใหม่ หางของปลาจะแข็ง ครีบไม่แห้ง เหงือกจะเป็นสีแดงสดใส
  • ปลาแซลมอนให้เลือกเนื้อปลาก้อน ที่ลำตัวยังมีลายสีขาวอยู่ด้วย แต่ถ้าเนื้อปลามีสีแดงอย่างเดียว ให้คิดไว้เลยว่าอาจโดนย้อมสีมา และไม่ควรเลือกปลาแซลมอน ที่มีจุดสว่าง ๆ บนหนัง เพราะเนื้อปลาจะมีรสชาติจืด เป็นต้น

ชนิดปลาเพิ่มเติม ยิ่งกินยิ่งดีต่อร่างกาย

ปลาไม่ควรบริโภค

ชนิดปลาที่ทุกบ้านจะต้องซื้อเข้ามาตุน เนื่องด้วยมีคุณค่าทางโอเมก้า 3 ที่สูง และสารคุณประโยชน์อีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น

  • ปลาสวาย : มีพลังงาน 256 แคลอรี่ โปรตีน 15.4 กรัม ไขมันคงที่ 21.5 กรัม ปริมาณโอเมก้า 3 ราว ๆ 2,111 มิลลิกรัม สามารถนำปลาสวายไปทำเมนูอาหารได้ทั้ง ปลาสวายผัดเผ็ด, แกงหน่อไม้ปลาสวาย, ฉู่ฉี่ปลาสวาย
  • ปลาทู : มีพลังงาน 127 แคลอรี่ โปรตีน 24.9 กรัม ไขมันคงที่ 4 กรัม ปริมาณโอเมก้า 3 ราว ๆ 220 มิลลิกรัม สามารถนำปลาทูไปทำเมนูฮิตได้หลากหลาย อาทิเช่น ฉู่ฉี่ปลาทู, ต้มส้มปลาทู, น้ำพริกปลาทู เป็นต้น

สรุป ปลาไม่ควรบริโภค

สำหรับสายพันธุ์ปลาชนิดต่าง ๆ ที่กลุ่มคนทุกช่วงวัยไม่ควรรับประทาน อาทิเช่น ปลาไทล์ฟิช, ปลาฉลาม, ปลากระโทงดาบ และปลาอินทรี ซึ่งทั้ง 4 รายชื่อเป็นชนิดปลา ที่มีสารปนเปื้อนเป็นปรอทสูง หากมีการรับประทานเป็นประจำ ด้วยจำนวนที่มากจนเกินไป แน่นอนว่า ร่างกายจะเต็มไปด้วยสารปนเปื้อนอันตราย อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Pet Noi
Pet Noi

แหล่งอ้างอิง