ว่าด้วยเรื่อง ไฮยาซินมาคอว์ (Hyacinth macaws) ราชาของนกแก้ว

ไฮยาซินมาคอว์

ไฮยาซินมาคอว์ (Hyacinth macaws) หรือ นกแก้วผักตบชวา เป็นนกมาคอว์พื้นเมือง จากอเมริกาใต้ ที่ได้ชื่อว่า “ราชา” นกแก้วของโลก ไม่ใช่เพียงแค่ ขนาดตัวยักษ์ใหญ่ และขนสีน้ำเงินที่น่าหลงใหล

แต่ยังรวมไปถึง มูลค่าที่สูงลิ่วกว่า 7 หลัก ที่เทียบเท่ากับการซื้อรถ 1 คัน ทำให้พวกมัน มีชื่อเสียงมากๆ ในฐานะสัตว์เลี้ยงของคนรวย แต่! ก็ใช่ว่าจะเลี้ยงง่าย เพราะมีทั้งเรื่องกฎหมาย และสิ่งที่ต้องรู้ ต่อไปนี้

ต้นกำเนิด ไฮยาซินมาคอว์ นกแก้วใหญ่สุดในตระกูล

ไฮยาซินมาคอว์ เป็นนกกลุ่มนีโอโทรปิก ที่มีต้นกำเนิด มาจากภูมิภาคอเมริกา ตั้งแต่ตอนกลาง ไปจนถึงทางตอนใต้ และพบเห็นมากสุด ในพื้นที่ตอนใต้ ของแม่น้ำอเมซอน โดยเฉพาะในประเทศบราซิล

คำอธิบายเกี่ยวกับ ลักษณะของ ไฮยาซินมาคอว์

ไฮยาซินมาคอว์

Hyacinth macaws มีลำตัวที่ใหญ่ ตั้งแต่หัวถึงหาง ยาวประมาณ 1 เมตร พร้อมน้ำหนักตัว เฉลี่ยกว่า 1.5-1.7 กิโลกรัม ซึ่งสีขนของมัน เป็นโทนสีน้ำเงิน cobalt ตัดกับสีเหลืองสดใส บริเวณรอบดวงตา และรอบๆ จะงอยปากล่าง ยิ่งทำให้มันมีเสน่ห์

นอกจากนี้ ไฮยาซินมาคอว์ ยังมาพร้อม ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 55 กม./ชม. และสามารถมีอายุยืน 40-50 ปี ด้วยการกินอาหาร ตามธรรมชาติ และบางครั้ง ไฮยาซินมักจะถูกเรียกว่า Anodorhynchus hyacinthinus ในเชิงการศึกษา [1]

นิสัย-พฤติกรรม ไฮยาซินมาคอว์ และการส่งเสียง

เช่นเดียวกับ กรีนวิงค์มาคอว์ ที่ได้ฉายาว่า “นกยักษ์แสนอ่อนโยน” เนื่องจากทั้ง Green winged macaw และ ไฮยาซินมาคอว์ ต่างก็มีนิสัยไม่ก้าวร้าว ค่อนข้างเชื่อง ขี้เล่น และเข้ากับผู้เลี้ยงได้ดี

แต่ถึงอย่างนั้น จะงอยปากของมัน มีแรงกดได้มากกว่า 200 ปอนด์ หรือ 90 กิโลกรัม ซึ่งหมายความว่า หากมันอารมณ์บ่จอย อาจทำลายสิ่งของ หรือหักด้ามไม้กวาดได้ง่ายๆ ด้วยการกัดแค่ครั้งเดียว

ในส่วนของ IQ ไฮยาซินถือว่า ไม่ใช่นกพูดเก่งมาก หากเทียบกับเพื่อนตัวอื่น แต่พวกมันมักจำศัพท์เดิมๆ และพูดวนไปวนมา แถมยังมีระดับเสียง ที่เพื่อนบ้านอาจรำคาญ เพราะบางครั้ง มันมักจะกรี๊ดด้วยความดัง

ที่มา: Personality & Behavior, Speech & Sound [2]

ศึกษา ไฮยาซินมาคอว์ ด้านกฎหมายและการอนุรักษ์

ครั้งแรกที่คนได้รู้จัก ไฮยาซินมาคอว์ คือเมื่อปี ค.ศ. 1790 โดยการอธิบายจาก John Latham นักปักษีวิทยา และศิลปินชาวอังกฤษ ซึ่งด้วยลักษณะเด่น ทำให้นับจากนั้นมา ประชากรนกผักตบชวา ก็ได้ลดลงทุกปี

โดยในปี 1987 มีการตีพิมพ์ การประเมินครั้งแรกโดย Munn กล่าวว่ามีประชากรนกพันธุ์นี้ 3,000 ตัว และเมื่อปี 2004 มีบล็อกเกอร์ ที่เกี่ยวข้องกับ กองทุนสัตว์ป่าโลก อ้างว่ามีนกประมาณ 10,000 ตัว ถูกนำออกจากป่า ด้วยวัตถุประสงค์ เพื่อค้าภายในประเทศบราซิล [3]

สนใจ ไฮยาซินมาคอว์ มีสิทธิ์ซื้อมาเลี้ยงไหม

ไฮยาซินมาคอว์

ปัจจุบัน ไฮยาซินมาคอว์ ถูกระบุไว้ในกฎหมายหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น รายชื่อภาคผนวกที่ 1 ของอนุสัญญาไซเตส ว่าด้วยสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ ห้ามส่งออกเพื่อการค้าเด็ดขาด และครอบคลุมทั้งหมด 173 ภูมิภาค

และยังอยู่ในบัญชีแดงของ IUCN สหภาพเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ โดยจัดอยู่ในกลุ่ม VU สัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ ซึ่งมีจำนวนในปัจจุบัน เพียงแค่ 4,300 ตัวเท่านั้น หากใครอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติม อ่านต่อได้ที่ IUCN Red List

โครงการอนุรักษ์ ไฮยาซินมาคอว์

ปีแรกที่ ไฮยาซินมาคอว์ ได้รับการอนุรักษ์คือ 1989 จากโครงการ European Endangered Species Program และยังมีโครงการ เพื่อการศึกษา-เชิงอนุรักษ์ อีกหลายแห่ง อาทิเช่น

  • โครงการ Hyacinth Macaw ในรัฐ Mato Grosso do Sul ประเทศบราซิล ที่ริเริ่มในปี 1990 โดยนักชีววิทยาชื่อว่า Neiva Guedes [4]

สรุป ไฮยาซินมาคอว์

ไฮยาซินมาคอว์ ถึงแม้จะสวยงาม มีสีสันน่าหลงใหล จนผู้เลี้ยงหลายคน อยากเป็นเจ้าของ แต่ด้วยข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่าซับซ้อน และยุ่งยากมากๆ แถมราคาไม่ต้องพูดถึง เริ่มต้นเบาๆ 300,000 และบางตัวอาจสูงถึง 1 ล้านบาท หรือมากกว่านั้น

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Jynx
Jynx

แหล่งอ้างอิง