โลมาอิรวดี โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง

โลมาอิรวดี

โลมาอิรวดี หรือที่รู้จักกันในชื่อ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง (Irrawaddy Dolphin) เป็นสัตว์น้ำที่มีเอกลักษณ์ และเป็นที่รู้จักในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดดเด่นด้วยรูปร่างที่แตกต่าง จากโลมาทั่วไป หัวบาตรกลม ไม่มีจะงอยปาก เหมือนโลมาสายพันธุ์อื่น ๆ และมีครีบหลังขนาดเล็ก ที่ทำให้มันดูน่ารัก และไม่เหมือนใคร

ที่มาของชื่อโลมาอิรวดี

โลมาอิรวดี(Irrawaddy Dolphin) มีที่มาจากแม่น้ำอิรวดี (Irrawaddy River) ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลัก ในประเทศเมียนมา (พม่า) แม่น้ำสายนี้เป็นหนึ่ง ในแหล่งที่อยู่อาศัย ของโลมาสายพันธุ์นี้ ดังนั้นโลมาอิรวดีจึงได้รับการตั้งชื่อตาม “แม่น้ำอิรวดี” เนื่องจากพบว่า มีการอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น เป็นจำนวนมาก

แต่นอกจากแม่น้ำอิรวดี ในเมียนมาแล้ว โลมาอิรวดียังสามารถพบได้ในน่านน้ำจืดอื่น ๆ ทั่วภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ เช่น แม่น้ำโขง และทะเลสาบตนเลสาบในกัมพูชา แสดงถึงความสามารถ ในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ที่หลากหลายของโลมาชนิดนี้

ถิ่นที่อยู่อาศัย

โลมาอิรวดีเป็นสัตว์น้ำ ที่สามารถปรับตัวได้ดี อาศัยอยู่ทั้งในน่านน้ำจืด และน้ำเค็ม โดยต่างจากโลมาอื่นๆ เช่น โลมาปากขวด โลมาสีชมพู ที่สามารถพบได้แค่ในน้ำเค็ม โดยโลมาอิรวดีจะสามารถพบได้ ในแม่น้ำ ทะเลสาบ

และบริเวณชายฝั่งทะเล ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำอิรวดีในเมียนมา ทะเลสาบตนเลสาบในกัมพูชา และชายฝั่งทะเลของไทย โลมาชนิดนี้ มักอาศัยอยู่ในกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 2-6 ตัว และเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างขี้เล่น มักพบเห็นได้ว่า โผล่ขึ้นมาหายใจเหนือผิวน้ำ อยู่บ่อยครั้ง

ลักษณะเด่น ที่เห็นได้ชัด

ปลาโลมาอิรวดีจะมีลักษณะเด่น ที่เห็นได้ชัดคือ หัวที่มีรูปร่างกลมมน คล้ายบาตรพระ เลยเป็นที่มาของชื่อ อีกชื่อหนึ่งว่า “โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง” ลำตัวเป็นสีเทาเข้ม หรือบางตัวจะมีสีที่อ่อนกว่า มีท้องสีเทาอ่อน รูปร่างยาวประมาณ 180-275 เซนติเมตร หนักประมาณ 98-159 กิโลกรัม มีขนาดตาที่เล็ก มีครับเล็กๆ ที่หลัง

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

  • อาณาจักร : Animalia
  • ไฟลัม : Chordata
  • ชั้น : Mammalia
  • อันดับ : Artiodactyla
  • อันดับฐาน : Cetacea
  • วงศ์ : Delphinidae
  • สกุล : Orcaella
  • สปีชีส์ : brevirostris

ที่มา: “โลมาอิรวดี” [1]

โลมาอิรวดี

 โลมาอิรวดีเป็นปลาโลมาที่ต้องอนุรักษ์

โลมาอิรวดี แม้ว่าจะเป็นที่รู้จัก และเป็นสัตว์น้ำ ที่มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ แต่สถานะของมัน กลับอยู่ในความเสี่ยง ต่อการสูญพันธุ์ ปัจจัยที่คุกคาม การดำรงชีวิต ของโลมาอิรวดีได้แก่ การทำประมงเกินขนาด การใช้อุปกรณ์ประมงที่ไม่เหมาะสม การสร้างเขื่อน และการพัฒนาอุตสาหกรรม ในพื้นที่แหล่งที่อยู่อาศัยของมัน

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทางน้ำที่โลมาอิรวดีอาศัยอยู่ ซึ่งปัจจุบันพบ พบปลาโลมาอิรวดีแค่ 14 ตัวในไทย อาศัยอยู่ในทะเลสาบสงขลา ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างมาก [2]

แผนอนุรักษ์ “โลมาอิรวดี” ในทะเลสาบสงขลา

แผนการอนุรักษ์โลมาอิรวดีทะเลสาบสงขลา มีเป้าหมาย เพื่ออนุรักษ์โลมาอิรวดีให้คงอยู่ โดยมีตัวชี้วัด 3 หัวข้อ ได้แก่

  1. อัตราการตายจากเครื่องมือประมงเป็นศูนย์
  2. ประชากรโลมาเพิ่มขึ้นเป็น 30 ตัว ใน 10 ปี
  3. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง มีการลาดตระเวน เชิงคุณภาพ ครอบคลุมพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ

ที่มา: “โลมาอิรวดีสัตว์ป่าคุ้มครอง แห่งทะเลสาบสงขลา เร่งอนุรักษ์ก่อนสูญพันธุ์” [3]

 แผนอนุรักษ์ เพิ่มเติม

  • การป้องกัน การทำประมงเกินขนาด และอุปกรณ์ประมง ที่ไม่ปลอดภัย
  • การอนุรักษ์ และฟื้นฟูถิ่นที่อยู่อาศัย ของโลมาชนิดนี้
  • ศึกษาพฤติกรรม และชีววิทยาการวิจัย และศึกษาพฤติกรรม ของโลมาอิรวดีเพื่อทำความเข้าใจ วิถีชีวิต การย้ายถิ่น และการขยายพันธุ์
  • การสร้างความตระหนักรู้ และการมีส่วนร่วมของชุมชน
  • การออกกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมาย อย่างเคร่งครัด

การอนุรักษ์โลมาอิรวดีไม่เพียงแค่ เป็นการปกป้องสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์หนึ่ง แต่ยังเป็นการรักษาสมดุล ของระบบนิเวศ ในพื้นที่ที่พวกมันอาศัยอยู่ด้วย การศึกษาพฤติกรรม การเพิ่มจำนวน และการสร้างแหล่งที่อยู่อาศัย ที่ปลอดภัยให้กับพวกมัน จึงเป็นภารกิจสำคัญ ของนักอนุรักษ์ทั่วโลก

สรุป โลมาอิรวดีที่ไม่อยากให้หายไป

สรุป โลมาอิรวดี เป็นสัตว์ที่มีความน่ารัก และน่าสนใจ ทั้งในแง่ของลักษณะทางกายภาพ และพฤติกรรม ทำให้มันเป็นที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก การให้ความสำคัญ กับการอนุรักษ์โลมาชนิดนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้โลกนี้ยังคงความงดงาม ของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ไว้ต่อไปในอนาคต

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง