โลมาปากขวด โลมาทะเลน่ารัก

โลมาปากขวด

โลมาปากขวด(Bottlenose Dolphin) เป็นสัตว์ทะเลที่มีเสน่ห์ มันเป็นที่รู้จัก และเป็นที่รักของผู้คนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักท่องเที่ยว หรือแม้แต่ผู้ชมทั่วไปในสวนสัตว์น้ำ ลักษณะพิเศษของโลมาปากขวดทำให้ มันโดดเด่นและน่าสนใจ ทั้งในด้านกายภาพ พฤติกรรม และความฉลาดของมัน

โลมาปากขวดเป็นปลาขี้เล่น

โลมาปากขวด เป็นที่รู้จักในด้านพฤติกรรมขี้เล่น มันชอบกระโดด และเล่นน้ำ มักเล่นกับคลื่นหรือวัตถุต่าง ๆ เช่น ฟองอากาศ และสาหร่ายทะเลโลมาปากขวดสามารถว่ายน้ำ ได้เร็วถึง 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และกระโดดสูงเหนือผิวน้ำได้ถึง 6 เมตร หากนักท่องเที่ยว ได้ไปล่องเรือชมปลาโลมา ก็อาจจะเห็นปลาโลมาว่ายน้ำ และกระโดดทักทาย เพื่อโชว์ความน่ารักของมันก็ได้ พฤติกรรมขี้เล่นนี้ ไม่เพียงแต่เป็นที่ชื่นชอบของมนุษย์ แต่ยังเป็นส่วนหนึ่ง ของวิถีชีวิต และการสื่อสารของพวกมัน

หรือถ้าหากใครอยากจะชม กับปลาโลมาปากขวดอย่างใกล้ชิด ก็สามารถเข้าไปชม ได้ที่ pattayadolphinarium ที่นี่มีโชว์ปลาโลมา และมีโปรแกรมว่ายน้ำกับปลาโลมาด้วย ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 350 บาท ต่อท่าน

ลักษณะกายภาพของโลมาปากขวด

โลมาปากขวดมีร่างกายที่เพรียว ผิวเรียบเนียน และมีปากที่ยาวเรียวคล้ายขวด ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “โลมาปากขวด” มันมีความยาวตั้งแต่ 2 ถึง 4 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 150 ถึง 650 กิโลกรัม ลูกแรกเกิด จะมีขนาดยาว ประมาณ 0.85-1.12 เมตร และมีน้ำหนัก ประมาณ 9-21 กิโลกรัม

ปลาโลมา จะกินอาหารที่มีขนาด ไม่เกิน 20 เซนติเมตร เช่น ปลาหมึก และ Crustaceans สีผิวของโลมาปากขวดมีตั้งแต่สีเทาอ่อน  ไปจนถึงสีเทาเข้ม ส่วนท้องมักเป็นสีขาว ลักษณะเหล่านี้ทำให้โลมาปากขวดดูน่ารัก และเป็นมิตรมาก

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

  • อาณาจักร : Animalia
  • ไฟลัม : Chordata
  • ชั้น : Mammalia
  • อันดับ : Artiodactyla
  • อันดับฐาน : Cetacea
  • วงศ์ : Delphinidae
  • สกุล : Tursiops

ที่มา: “โลมาปากขวด” [1]

พฤติกรรมและการสื่อสาร

โลมาปากขวดเป็นสัตว์ ที่มีสังคมสูง มันอาศัยอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “ฝูง” ซึ่งมีจำนวนตั้งแต่ 10 ถึง 30 ตัว พวกมันสื่อสารกัน ด้วยเสียงคลิก และเสียงผิวปาก ซึ่งใช้ในการหาอาหาร และสื่อสารกันในกลุ่มโลมาปากขวดมีความฉลาดสูง มันสามารถเรียนรู้ และจดจำคำสั่งได้ และมีความสามารถ ในการแก้ปัญหา และใช้เครื่องมือ [2]

แต่ปัญหาที่ปลาโลมา ต้องพบเจอคือ มลพิษทางเสียงที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น การขนส่งทางเรือ และการก่อสร้าง  ทำให้ปลาโลมา สื่อสารหากันยากขึ้น ทำให้พวกมันต้องเพิ่มความดัง ขึ้นเป็นสองเท่า เพื่อที่จะทำให้พวกมัน สามารถ ที่จะสื่อสารหากันได้ การที่สื่อสารกันไม่ได้ และสื่อสารกันได้ยากในฝูง อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมันได้ 

ปลาโลมาปากขวด

โลมาปากขวดกับภัยคุกคามที่ต้องเจอ

โลมาปากขวดแม้ว่าโลมาปากขวดจะเป็นสัตว์ ที่พบได้ทั่วไป แต่มันยังคงเผชิญกับภัยคุกคาม จากการเปลี่ยนแปลง ของสภาพแวดล้อม เช่น การติดเครื่องมือประมง โดยบังเอิญ มลพิษทางน้ำ การปนเปื้อนของมลพิษทางทะเล การจับสัตว์น้ำที่มากเกินไป และการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย การอนุรักษ์โลมาปากขวดจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้มันยังคงอยู่ และสามารถเจริญเติบโต ในท้องทะเลได้ต่อไป

การท่องเที่ยว และการศึกษา

โลมาปากขวดเป็นที่นิยม ในวงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หลายแห่งทั่วโลกจัดโปรแกรม เพื่อให้นักท่องเที่ยว ได้สัมผัสประสบการณ์ใกล้ชิด กับโลมาปากขวดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการชม กับโลมาปากขวดในธรรมชาติ หรือการว่ายน้ำ กับโลมาปากขวดในสถานที่จัดเตรียม

การศึกษาเกี่ยวกับ ปลาโลมาชนิดนี้ ยังคงเป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เนื่องจากพวกมันเป็นตัวแทนที่ดี ในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมสัตว์ และการสื่อสารในสิ่งแวดล้อมทะเล

ชนิดของโลมาปากขวด

โลมาปากขวดมีอยู่ทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่

  1. Tursiops truncatus “โลมาปากขวดธรรมดา”
    เป็นปลาโลมาที่มีสีน้ำเงินเข้ม อมทา ปากและครีบข้างหลังจะมีขนาดที่ใหญ่ ขนาดตัวยาวประมาณ 2.3-3.1 เมตร รูปร่างค่อนข้างอ้วน
  2. Tursiops aduncus “โลมาปากขวดอินโดแปซิฟิก”
    เป็นปลาโลมา ที่มีลักษณะคล้าย กับโลมาปากขวดเลย จะแตกต่างที่ โลมาปากขวดอินโดแปซิฟิกจะมีเส้นประที่ด้านหลัง และหน้าท้อง และขนาดตัวจะเล็กกว่า ความยาวประมาณ 1.9-2.9 เมตร และมักจะกระจายพันธุ์ทั่ว ไปในเขตอินโดแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย
  3. Tursiops australis “โลมาปากขวดบูร์รูนาน”
    เป็นปลาโลมาที่นักวิทยาศาสตร์ ชาวออสเตรเลีย ประกาศว่าเป็นโลมาชนิดใหม่ เมื่อปี ค.ศ. 2011

ที่มา: “ปลาโลมาปากขวด” [3]

สรุป “โลมาปากขวด”

สรุป โลมาปากขวดจึงเป็นสัตว์ทะเลที่น่าทึ่ง ไม่เพียงแต่ด้วยลักษณะ และพฤติกรรมที่โดดเด่น แต่ยังเป็นเครื่องหมาย ของการอนุรักษ์ และการเคารพธรรมชาติ ในท้องทะเล การอนุรักษ์โลมาปากขวดเป็นการลงทุนในอนาคต ของท้องทะเล และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง