เปิดตำนาน โจรป่า เสือร้ายไทยและบุรุษผู้ปราบปราม

โจรป่า

โจรป่า คือคำนิยามว่า เป็นบุคคลนอกกฎหมาย ที่มักจะออกปล้น ล่า หรือแม้กระทั่งฆ่า เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง ซึ่งในอดีตประเทศไทย มีกลุ่มคนประเภทนี้จำนวนมาก ที่สร้างวีรกรรมโด่งดัง ซึ่งจะมีใครกันบ้าง เราจะพาไปรู้จัก ผ่านบทความนี้

คำนิยามของ โจรป่า คนพวกนี้คือใคร

โจรป่า หรือการโจรกรรมประเภทหนึ่ง ที่ก่อขึ้นโดยคนคนหนึ่ง หรือกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ที่ถูกเรียกว่า เป็นพวกไม่สนกฎหมาย ซึ่งลักษณะวีรกรรมส่วนใหญ่ มักจะออกปล้น และมีที่กบดานอยู่ในป่าไม้

โดยมีทั้งโจรคุณธรรม ที่ออกปล้นคนร่ำรวย เพื่อนำเงินไปให้คนจน และกลุ่มที่เป็นโจรจริงๆ โหดเหี้ยม ขู่กรรโชก และอาจถึงจุดสูงสุด คือการฆาตกรรม

รู้จักกับ 4 โจรป่า ในประวัติศาสตร์ไทย

โจรป่า

เสือร้ายที่ชื่อเสียงกระหึ่ม จนถึงยุคปัจจุบัน เฉพาะในเขตของเมืองสุพรรณบุรี หรือฉายาว่า “เสือสุพรรณ” และพื้นที่ใกล้เคียง มีอยู่จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น เสือศักดิ์, เสือแบน, เสือแพรว, เสือพักตร์ เป็นต้น แต่ที่เป็นตำนานที่สุด คือ 4 เสือดังต่อไปนี้

เสือฝ้าย

  • หรือชื่อจริงว่า ฝ้าย เพ็ชนะ เป็นคนบ้านท่าใหญ่ จังหวัดสุพรรณบุรี อาชีพเดิมคือการทำนา และเป็นอดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 แต่ถูกใส่ร้าย และได้รับข้อหาปล้นทรัพย์ พอพ้นโทษออกมา ก็ถูกหลานเขยลอบฆ่า จนในที่สุด ก็ผันตัวมาเป็นเสือฝ้าย ก่อนจะถูกวิสามัญ ที่ป่าช้าของอำเภอวิเศษชัยชาญ

เสือใบ

  • หรือชื่อจริงว่า วัน สะอาดดี เกิดที่ชุมชนลาว หมู่บ้านพันตำลึง ดอนกำยาน เมืองสุพรรณบุรี ช่วงวัยรุ่นที่บ้านเคยถูกปล้นวัว นายวันจึงบุกไปฆ่าโจรถึงถิ่น ต่อมาจึงได้ชื่อว่าเสือใบ และเป็นเพื่อนคู่หูของเสือฝ้าย ถูกจับได้ที่กาฬสินธุ์ ติดคุกบางขวางเกือบ 17 ปี เมื่อแก่ตัว 76 ปี ผันตัวเป็นมรรคนายกวัดพันตำลึง

เสือมเหศวร

  • ลูกชายของนายฉัตร และนางตลับ เภรีวงษ์ เป็นลูกของผู้ใหญ่บ้านเขาดิน หมู่ 7 บางนางบวช สุพรรณบุรี อดีตเคยร่วมรบในสงครามอินโดจีน และบวชพระที่วัดท่าช้าง 2 พรรษา กระทั่งพ่อถูกลอบยิง จึงหนีตายและได้เข้าร่วมชุมเสือฝ้าย เมื่อปี พ.ศ. 2492 เข้ามอบตัว และติดคุกกว่า 3 ปี

เสือดำ

  • ชื่อเดิมว่า ดำ สะราคำ ลูกชายกำนันบ้านดอนมะเกลือ ป่าสะแก บางนางบวช เป็นนักเลงตั้งแต่วัยรุ่น กระทั่งได้เข้าร่วมชุมเสือพรหม เมื่อหัวหน้าโจรตาย เสือดำขึ้นรับตำแหน่งต่อ โดยมีเอกลักษณ์เฉพาะ คือใส่ชุดสีดำทั้งตัว และไม่ถูกกันกับชุมเสือฝ้าย

ที่มา: เส้นทางเสือสุพรรณ กับเหตุเบื้องลึก เป็นผู้ร้ายแบบไม่ตั้งใจ [1]

อาแวสะดอ ตาเละ โจรป่า ตำนานมนตร์ดำภาคใต้

นอกเหนือ 4 เสือแห่งเมืองสุพรรณบุรี ชื่อเสียงของ “อาแวสะดอ ตาเละ” ยังเป็นอีกหนึ่งจอมโจร ที่โด่งดังในทางภาคใต้ ซึ่งในภาพยนตร์ขุนพันธ์ 4 ใช้ชื่อแทนว่า “อัลฮาวียะลู” เป็นชาวมุสลิม บ้านตะโละบากู ริมเทือกเขาบูโด จังหวัดนราธิวาส

มีคำกล่าวว่า เขาจะปล้นฆ่าแค่คนไทย คนฝรั่ง คนจีน หรือคนแขกจะไม่ทำ ซึ่งมีกิตติศัพท์ความโหดร้าย และมีของดีป้องกันตัว อาทิเช่น ช้องหมูป่า, ตับเป็นเหล็ก, เคราเป็นทองแดง, ผ้าประเจียดลงอักขระ และกริชสังหาร

ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2470-1479 เป็นยุคที่โจรอาแวสะดอ มีอิทธิพลอย่างมาก ซึ่งมีความจริงปรากฏ เกี่ยวกับความเชื่อไสยศาสตร์ และมีบันทึกทางราชการ ว่าอาแวะสะดอมีอาคมของจริง สามารถปลดโซ่ตรวนได้เอง ก่อนจะถูกจับได้ และกินยาฆ่าตัวตาย ก่อนถึงวันประหารชีวิต [2]

เปิดประวัติบุรุษผู้เป็นคนปราบ โจรป่า ของไทย

โจรป่า

มีจอมโจรที่ปล้นเก่ง และมีวิชาอาคม ก็ต้องมีตำรวจพันธุ์ดี ที่ฝีมือเทียบเคียงกัน ซึ่งหนึ่งในบุรุษของไทย ที่สามารถปราบโจรได้ ตามภูมิภาคต่างๆ ทั้งเสือหวัด, เสือผ่อน, เสืออ้วน, เสือกลับ, เสือสัง, เสือพุ่ม

และถูกยกย่องมากขึ้น จากการปราบหัวหน้าชุมโจร อาแวสะดอ ตาเละ และบุรุษคนดังกล่าวมีชื่อว่า ขุนพันธรักษ์ราชเดช หรือฉายาจากชาวมุสลิม “รายอกะจิ” ที่หมายถึงว่า อัศวินพริกขี้หนู ซึ่งชีวประวัติ มีรายละเอียดดังนี้

ประวัติโดยย่อ ขุนพันธรักษ์ ตำรวจที่ โจรป่า พ่ายแพ้

  • ชื่อจริง : บุตร พันธรักษ์ เกิดวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447
  • ที่อยู่ : หมู่ 5 บ้านอ้ายเขียว ตำบลตะโก อำเภอท่าศาลา นครศรีธรรมราช
  • บิดา-มารดา : นายอ้วน พันธรักษ์, นางทองจันทร์ พันธรักษ์
  • 2472 : จบการศึกษาจาก โรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจระเข้
  • 2473 : ได้เลื่อนยศเป็นว่าที่ร้อยตำรวจตรี และถูกย้ายไปในตำแหน่ง ผู้บังคับหมวดที่พัทลุง แล้วปราบเสือสังกับเสือพุ่ม และได้รับชื่อเสียง พร้อมตำแหน่งร้ายตำรวจตี
  • 2474 : ปราบคนร้ายสำคัญ 16 คน เช่น เสือย้อย, เสือเมือง และเสือทอง และถูกตั้งชื่อเป็น ขุนพันธรักษ์ราชเดช
  • 2478 : เลื่อนยศไปร้อยตำรวจโท และได้บวชพระ 1 พรรษา
  • 2481 : การปราบโจรครั้งใหญ่ อาแวสะดอ ทำให้ได้เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจเอก
  • 2488 : ย้ายไปจังหวัดชัยนาท เพื่อปราบโจรหลายคน เช่น เสือใบ, เสือฝ้าย, เสือดำ
  • 2491 : ย้ายกลับบ้านเกิดพัทลุง ก่อนเกษียณราชการในปี 2507
    เสียชีวิต : วันที่ 5 กรกฎาคม 2549 ด้วยอายุ 102 ปี

ที่มา: ขุนพันธรักษ์ราชเดช (บุตร พันธรักษ์) [3]

การนำเสนอ โจรป่า หลายรูปแบบในสมัยใหม่

ประวัติการต่อสู้ของ 1 นายตำรวจ และจอมโจรทั้ง 5 ถูกนำไปสร้างเป็นหนังยุคใหม่ รวมถึงนำเสนอในรูปแบบ media อื่นๆ บนธีมของโจรในป่า หรือเกี่ยวกับโจร ทั้งเกม เพลง และโลกแอนิเมชัน ยกตัวอย่างเช่น

หนังเรื่องขุนพันธ์ 3 ภาคจบ ภาค 1 (2016) เล่าถึงและอาแวสะดอ หัวหน้าโจรผู้คลุมภูเขาบูโด ภาค 2 (2018) เล่าถึงเสือดำ, เสือฝ้าย, เสือใบ, เสือมเหศวร ส่วนภาคสุดท้าย (2023) 5 เสือร้ายรวมตัวกัน และเป็นการปิดจบมหากาพย์ จอมโจรของไทย สามารถรับชมภาค 1-2 ได้บน Netflix ส่วนภาค 3 ยังไม่มีบนแพลตฟอร์มใด

ทางด้านของเกม ขอยกตัวอย่างเป็น Wild Heist Cashout จากบริษัท PG Soft สล็อตออนไลน์ 3D ประเภท 5 วงล้อคู่ ที่บอกเล่าถึงโจรฉายาว่า “เดอะชาโดว์” ซึ่งได้ออกปล้นห้องลับ ที่ซ่อนอัญมณีและทองคำมากมาย มีรางวัลมอบให้ x2500 ส่วนข้อมูลอื่นๆ อ่านต่อได้ที่ สล็อตโจรปล้นเซฟ (Wild Heist Cashout)

สรุป โจรป่า

โจรป่า หรือกลุ่มคนไม่สนกฎหมาย ที่มีพฤติกรรมปล้น ทั้งของมีค่า ข้าว ผู้หญิง และทุกสิ่งอย่าง นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของมนตร์ดำ คาถาอาคม ที่ยิ่งเพิ่มเลเวลความน่ากลัว แต่ก็ไม่คณนามือนายตำรวจไทยไปได้ ซึ่งในปัจจุบัน มีการดัดแปลงหลายแบบ ที่มีให้เห็นทั้งในเกม และถูกสร้างเป็นภาพยนตร์

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Jynx
Jynx

แหล่งอ้างอิง