รู้จัก แมวสฟิงซ์ เหมียวไม่มีขนจากแคนาดา

แมวสฟิงซ์

แมวสฟิงซ์ หรือ Sphynx Cat สายพันธุ์น้องเหมียว ที่เพียงแค่มองปราดเดียว ก็รู้แล้วว่านี่คือแมวอะไร เพราะลักษณะเด่นๆ เลยก็คือ “ไม่มีขน” ตามลำตัว จะเป็นเพียงผิวหนังเปล่า ที่เต็มไปด้วยรอยย่น จนทำให้เหล่าอดใจไม่ไหว จนได้ตั้งฉายานามว่า แมวหนังไก่ เล่นเอาน้ำลาย เกือบไหลกันเลย

ซึ่งความเป็นมา หรือถิ่นกำเนิดของน้อง เกิดขึ้นที่ไหน และหากใครอยากเลี้ยง เหมียวตัวนี้มีนิสัย ลักษณะ และการดูแลยังไงบ้าง ทาสมือใหม่ต้องห้ามพลาด ไปดูกันเลย

ถิ่นกำเนิด แมวสฟิงซ์ เกิดขึ้นที่ไหน

หลายคนอาจคิดว่า แมวสฟิงซ์ ต้องมาจากอียิปต์แน่นอน เพราะหน้าตาของมัน คล้ายกับสัตว์เลี้ยง ตามตำนานของฟาโรห์ [1] ซึ่งจากการค้นข้อมูล แมวลักษณะไร้ขน ถูกเพาะพันธุ์ขึ้น เมื่อปี 1966 ในรัฐแห่งหนึ่ง ของประเทศแคนาดา และในปี 2002 ก็ถูกขึ้นทะเบียนจาก Cat Fanciers Association (CFA)

ลักษณะ แมวสฟิงซ์ เป็นยังไง

แมวสฟิงซ์

ลักษณะภายนอก แมวสฟิงซ์ แน่นอนว่าสิ่งที่สะดุดตา คือรูปร่างสูงเรียว และไม่มีขนแม้แต่เส้นเดียว ซึ่งตามผิวหนัง อาจมีรอยย่นทั่วตัว หรือในบางตำแหน่ง และมีผิวสีชมพูอ่อนๆ ส่วนข้อมูลเพิ่มเติม อ่านต่อด้านล่าง

  • ใบหูใหญ่มากๆ ชี้ตรง มีความสูง 3-4 นิ้ว
  • หัวทรง 3 เหลี่ยม มีความยาว และมีโหนกแก้มชัดเจน
  • ขนาดตัวปานกลาง สัมผัสอุ่น มีกล้ามเนื้อแข็งแรง
  • หางค่อนข้างยาว ลักษณะคล้ายกับแส้
  • ดวงตาคล้ายเมล็ดอัลมอนต์ ใหญ่ ใสแจ๋ว
  • แมวตัวเมีย มีน้ำหนักประมาณ 2.7-3.6 กิโลกรัม
  • แมวตัวผู้ มีน้ำหนักประมาณ 3.6-5.4 กิโลกรัม
  • มีอายุขัย ไม่เกิน 15-20 ปี

ทางด้านลักษณะนิสัย Sphynx Cat มีความหน้ามึน เป็นมิตร และชอบเป็นที่สนใจ แถมยังช่างคุย มีความฉลาด รวมไปถึงซุกซนบางครั้ง แต่ถึงอย่างนั้น น้องกลับชอบอยู่ตัวเดียว ไม่ชอบให้ใครรบกวน อีกทั้งเจ้าสฟิงซ์ ยังชอบนอนพักผ่อน และติดเจ้าของมากๆ

แนะนำวิธีดูแล แมวสฟิงซ์ เบื้องต้น

แมวสฟิงซ์

แมวสายพันธุ์นี้ มีวิธีดูแลไม่ต่างจากตัวอื่น แต่ผู้เลี้ยงอาจต้อง เอาใจใส่มากกว่า เพราะด้วยความที่ แมวสฟิงซ์ ไร้ขน จึงทำให้ส่วนต่างๆ ไร้สิ่งปกป้อง ไม่ว่าจะเป็น เหงื่อ, ไขมัน, แบคทีเรีย และที่สำคัญ คือแมวพันธุ์สฟิงซ์ มีอุณหภูมิร่างกาย สูงกว่าแมวทั่วไป 1-2 องศา ดังนั้นการดูแลที่แนะนำ จึงมีดังนี้

  • อาบน้ำอย่างต่ำ 1 ครั้ง / สัปดาห์ขึ้นไป และต้องควบคุม อุณหภูมิน้ำให้พอดี
  • เช็ดหูทุกวัน เนื่องจากไม่มีขน จึงเป็นตำแหน่งสะสม สิ่งสกปรกชั้นดี
  • ตัดเล็บ เช่นเดียวกับใบหู เพราะไร้ขนป้องกัน จึงอาจมีสิ่งไม่พึงประสงค์ ติดตามซอกเล็บ
  • ดูแลผิวหนัง ไม่ควรโดนแดดโดยตรง เพราะผิวน้องจะไหม้ และเสี่ยงเกิดโรค
  • ที่อยู่อาศัย ควรเป็นห้องที่อากาศปลอดโปร่ง มีแอร์ หรือที่นอนอุ่นๆ ให้น้องได้ซุก

สรุป แมวสฟิงซ์

แมวสฟิงซ์ นอกจากวิธีดูแลข้างต้น อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องรู้ไว้ คือน้องมักมี 3 โรคควรระวัง ได้แก่ โรคหัวใจ, โรคลำไส้แปรปรวน และโรคหอบหืดในแมว [2] ซึ่งทางที่ดี หลังจากรับแมวมาแล้ว แนะนำให้พาน้อง ไปตรวจสุขภาพอีกครั้ง และควรพาไปเป็นประจำ แม้ร่างกายน้อง จะแข็งแรงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Jynx
Jynx

แหล่งอ้างอิง