แมวจรต่างประเทศ ประเด็นปัญหาที่หยิบยกมาถกเถียงกัน จนภาครัฐของประเทศต่าง ๆ เกือบจะมองหน้ากันไม่ติด เนื่องจากอัตราของสัตว์จรจัด รวมไปถึง แมวจรในไทย เพิ่มจำนวนขึ้นในทุก ๆ ปี พวกเขาจึงมีการหารือร่วมกันเพื่อแก้ไขให้ตรงจุด บล็อกนี้จะมานำเสนอ 2 ประเทศชั้นนำ ที่มีวิธีแก้ไขปัญหาในระยะสั้น และระยะยาว
ด้วยชีวิตของเหล่าสัตว์โลกต่าง ๆ อย่าง แมว หรือสุนัข สัตว์ที่มีจำนวนประชากรเกิดมากจนเกินไป และไม่มีหน่วยงานไหนจริงจัง ที่จะเข้าไปช่วยเรื่องทำหมัน หาสถานที่เหมาะสมในการดูแล ทำให้ปัญหา แมวจรต่างประเทศ กลายเป็นปัญหาระดับโลก ไม่ว่าจะในประเทศไทย, ญี่ปุ่น, อังกฤษ, เนเธอร์แลนด์, สิงคโปร์ บลา ๆ พวกเขาต่างก็อยากรีบเร่งแก้ไข
มองหาวิธีใหม่ ๆ ที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา บางที่ก็มีการสร้างมูลนิธิดูแล บางที่ก็มีมาตรการจัดการเรื่องทำหมัน หรือบางที่ก็ถึงขั้นมีสงครามกับแมวจร อย่างประเทศออสเตรเลียเอง ต่างก็มีแผนกำจัดแมวจรจัดจำนวน 2 ล้านตัว เพื่อต้องการให้ประชากรลดลง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะประเทศไหน ๆ ต่างก็อยากรีบเร่งในการแก้ปัญหา ด้วยรูปแบบอย่างมีมนุษยธรรม
จากปัญหาของแมวจรจัด รวมถึงสัตว์จรจัดอื่น ๆ ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น จนสุดท้ายได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ไม่เพียงแค่ผู้คนที่อยู่อาศัยตามพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีแมวจรจัดเท่านั้น แต่ประเด็นนี้กลับกลายเป็นปัญหาระดับโลก โดยผลกระทบหลัก ๆ มี 2 ส่วนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น
ที่มา: CHEEWID – ปัญหาหมาแมวจรจัดสำคัญยังไง วิธีแก้ปัญหา และการช่วยเหลือ [1]
“ ประเทศญี่ปุ่น ” ( Japan ) ชาติชั้นนำที่ขึ้นชื่อเรื่องความมีระเบียบ แต่กลับเป็นประเทศที่มีปัญหาแมวจรจัด สุนัขจรจัด ซึ่งก่อนหน้านี้ในปี 2012 Japan ได้จับสุนัขจรจัดถึง 210,000 ตัว และต้องทำให้ตายไปถึง 160,000 ตัว แต่ต่อมาใน 2024 รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามจะแก้ไขปัญหา ด้วยการฝังไมโครชิปลงไปในแมว และสุนัข
รวมถึงมีการติดที่อยู่ ชื่อเจ้าของ เพื่อระงับการปล่อยทิ้ง อีกทั้งคนที่จำหน่าย สัตว์เลี้ยงยอดฮิต ในประเทศญี่ปุ่น ก็ต้องให้ความรู้ในเรื่องของวิธีการเลี้ยง และคอยดูให้ออกว่า ลูกค้าที่มาซื้อนั้นอยากเลี้ยงจริงหรือไม่ เพื่อป้องกันคนที่ไม่ได้ตั้งใจจะเลี้ยง สัตว์เลี้ยงง่าย ในระยะยาว ถือว่าเป็นการปลูกฝังที่ดี และสร้างความเข้าใจให้กับเจ้าของสัตว์เลี้ยง [2]
“ ประเทศอังกฤษ ” ( England ) อีกหนึ่งชาติชั้นนำที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ แมวจรต่างประเทศ เพราะพวกเขาถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ซับซ้อน แต่ทว่า England กลับมีทางออกง่าย ๆ ได้แก่ งด “ การรับเลี้ยง ” แทนการซื้อ โดยพวกเขาคิดว่าสาเหตุของปัญหาแมวจรจัด
มาจากผู้ประกอบการซื้อขาย สัตว์เลี้ยงง่ายตัวเล็ก ในตลาด เนื่องจากมีการปล่อยให้สัตว์เกิดขึ้นมาจำนวนมาก โดยที่ไม่มีการทำหมัน ทั้งนี้ ทางอังกฤษจึงมีการฝังไมโครชิปเช่นเดียวกับ Japan อีกทั้งยังได้สร้างคาเฟ่แมวขนาดใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาแมวที่ถูกทอดทิ้ง
โดยคาเฟ่แมวตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน เปิดบริการให้แก่ทาสแมว แก่คนรักในการกินกาแฟ โดยเหมียวในคาเฟ่แห่งนี้ ไม่ใช่แมวสายพันธุ์ต่างประเทศที่เป็น แมวยอดนิยม หรือแมวราคาแพง แต่เป็นกลุ่มแมวสายพันธุ์ทั่ว ๆ ไปอย่าง แมวบ้าน ที่กำลังมองหาบ้านหลังใหม่ [3]
ด้วยรัฐบาลของแต่ละประเทศต่าง ๆ ต่างก็มีวิธีแก้ไขปัญหาแมวจรจัด ที่ปัจจุบันนี้กำลังดำเนินการไปพร้อม ๆ ประชากรในพื้นที่ของประเทศนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็น
แมวจรจัดมีเชื้อโรคหรือไม่ : ส่วนใหญ่แมวจรจัดในต่างประเทศ มักจะมีเชื้อไวรัสกลุ่ม Retrovirus หรือโรคเอดส์ในแมว และโรคลิวคีเมียในแมว
แมวจรจัดสกปรกหรือไม่ : อยากแนะให้กับคนที่มองว่า แมวจรต่างประเทศ สกปรก ให้ลองเปลี่ยนมุมมองแนวความคิดใหม่ เพราะแมวจรจัดไม่ได้สกปรกเสมอไป
ทำความสะอาดแมวจรจัดอย่างไร : หากคุณเดินอยู่ตามท้องถนน หรือตามซอกซอย แล้วเกิดอยากทำความสะอาดให้กับแมวจรจัด แนะว่าทำขั้นตอนง่าย ๆ ไปก่อน อาทิเช่น การตัดเล็บ การใช้หวีแปรงขน หรือการพาน้องไปอาบน้ำที่ร้านอาบน้ำแมว บลา ๆ
การอาบน้ำให้กับแมวจรจัด : เมื่อคุณพาน้องเหมียวจรเข้าบ้านครั้งแรก อย่าเพิ่งรีบอาบน้ำเด็ดขาด ให้น้องได้คุ้นชินกับสถานที่ รวมถึงตัวคุณก่อน แต่หากใครที่อดใจไม่ไหว อยากอาบน้ำให้เต็มที แนะว่าให้ใช้ทิชชู่เปียกเช็ดตามตัวไปก่อน
ให้อาหารแมวจรจัดผิดหรือไม่ : ไม่มีกฎหมายของประเทศไหน ๆ ที่ระบุว่า การให้อาหารเหมียวจรเป็นเรื่องผิด
จับแมวจรจัดไปปล่อย ผิดกฎหมายหรือไม่ : ถ้าเป็นเนเธอร์แลนด์เอง ถ้ามีการพบเห็นคนจับแมวจรจัดไปปล่อย ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง ประเทศไทยก็เช่นกัน หากคนใดนำสัตว์จรจัดไปปล่อยตามวัด จะเข้าข่ายผิดกฎหมายทันที เป็นต้น
ด้วยปัญหาที่มันใหญ่ระดับโลก อย่างปัญหาของแมวจรจัดล้นเมือง รวมไปถึงสุนัขจรจัด ทำให้แต่ละประเทศชั้นนำต่าง ๆ อย่างประเทศญี่ปุ่น และประเทศอังกฤษ ก็มีมาตรการแก้ไขด้วยการฝังไมโครชิป และอังกฤษเองก็ได้มีการสร้างคาเฟ่สำหรับทาสแมว เพื่อลดจำนวนประชากรที่ล้นเมือง