แมงเวา นักล่าเงียบที่ซ่อนตัวในเงามืด

แมงเวา

แมงเวา เป็นสัตว์ที่มีลักษณะเด่น ด้วยก้ามใหญ่หางโค้ง และเป็นที่รู้จักในฐานะ นักล่าที่เงียบและมีพิษตรงเหล็กในปลายหาง ที่พร้อมปล่อยพิษได้ตลอด หากถูกคุกคาม แต่แม้ว่ามันจะดูน่ากลัว แต่แมงเวามีบทบาทสำคัญ ในระบบนิเวศ เป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมการล่า และการป้องกันตัวที่น่าสนใจ และมักถูกมองว่า เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง และการอยู่รอด ในบทความนี้ จะพาไปทำความรู้จัก กับแมงเวาในด้านต่างๆ กันให้มากขึ้น

แมงเวา คืออะไร

แมงเวา เป็นภาษาไทยถิ่นเหนือ หมายถึง “แมงป่อง” เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่อยู่ในไฟลัม Arthropoda (สัตว์ข้อปล้อง) และจัดอยู่ในกลุ่ม Arachnida ซึ่งรวมถึงแมงมุม และเห็บ โดยแมงเวามีลักษณะเฉพาะ ที่ทำให้มันแตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ

เป็นสัตว์ที่มีพิษ เอาไว้สำหรับการล่าเหยื่อ และป้องกันตัวจากศัตรู และเป็นสัตว์ที่สามารถรู้ ได้จากการสั่นสะเทือน ในพื้นดินเวลาออกหากิน สามารถพบได้ทั่วโลก ยกเว้นในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวจัด

ลักษณะของแมงเวา

แมงเวามีลักษณะเด่นคือ มีลำตัวที่แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ ส่วนหัวและอก (cephalothorax) และส่วนท้อง (abdomen) แมงเวามี 8 ขาและมีส่วนหางยาว ที่โค้งขึ้นด้านหลัง ลำตัวยาว ประมาณ 2–10 เซนติเมตร ปลายหางมีเข็มพิษ ที่ใช้สำหรับป้องกันตัวหรือจับเหยื่อ ลักษณะเด่นอีกอย่างของแมงเวา คือมีปากที่คล้ายก้ามปูขนาดใหญ่ บริเวณส่วนหัว-อก (chelicerae) ที่ใช้ในการจับเหยื่อ

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

  • อาณาจักร : สัตว์ Animalia
  • ไฟลัม : สัตว์ขาปล้อง Arthropoda
  • ไฟลัมย่อย : เชลิเซอราตา Chelicerata
  • ชั้น : แมง Arachnida
  • อันดับ : Scorpiones

ที่มา: “แมงป่อง” [1]

ที่อาศัยและ พฤติกรรมของแมงเวา

แมงเวาพบได้ในหลายพื้นที่ทั่วโลก ตั้งแต่ทะเลทราย ป่าเขตร้อน ไปจนถึงทุ่งหญ้า พวกมันมักซ่อนตัวอยู่ตามซอกหิน ใต้เปลือกไม้ หรือในดินร่วน พฤติกรรมของแมงเวาส่วนใหญ่ เป็นสัตว์กลางคืน เพื่อหลบแดดในตอนกลางวัน และออกหากินในตอนกลางคืน

ซึ่งจะต่างจาก จั๊กกะเล้อเกลี้ยง ที่ชอบอาบแดด แมงเวาเป็นนักล่าที่กินแมลง และสัตว์เล็ก เช่น จิ้งหรีด ตั๊กแตน และแมงมุม พวกมันใช้ก้ามจับเหยื่อ และปล่อยพิษจากเหล็กในเพื่อลดการขัดขืนก่อนกินเหยื่อ

วงจรชีวิตของแมงเวา
แมงเวาผสมพันธุ์ผ่านการเต้นรำ ระหว่างตัวผู้และตัวเมีย หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะตั้งท้อง และให้กำเนิดลูกแมงเวาเป็นตัว ลูกแมงเวาจะปีนขึ้นไปอยู่บนหลังแม่ จนกว่าจะลอกคราบครั้งแรก จากนั้น จึงจะแยกตัวออก ไปใช้ชีวิตตามลำพัง แมงเวามีอายุยืนกว่าแมลงทั่วไป โดยเฉลี่ยสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 3-8 ปี บางชนิดสามารถอยู่ได้นานถึง 15 ปี หากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

พิษของ แมงเวา

แมงเวา

แมงเวา ทุกชนิดมีพิษ แต่ละชนิดก็จะมีระดับความรุนแรง ของพิษแตกต่างกันออกไป แมงเวาส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์ หากไม่ถูกรุกล้ำ แต่หากโดนต่อยแล้วพิษทั่วไป อาจทำให้เกิดอาการปวด บวม และชาในบริเวณที่ถูกต่อย แต่แมงเวาบางชนิดก็มีพิษรุนแรง อย่างเช่น Arizona Bark Scorpion เป็นพิษที่อาจเป็นอันตราย ต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการหายใจติดขัด หรือหัวใจเต้นผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรักษาทันที [2]

วิธีเอาตัวรอด หากเป็นเยื่อของแมงเวา

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อโดนแมงเวาต่อย

  • ล้างบริเวณที่ถูกต่อยด้วย สบู่และน้ำสะอาด เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ
  • ใช้ ถุงน้ำแข็ง หรือผ้าห่อน้ำแข็งประคบ บริเวณที่ถูกต่อย 10-15 นาที แล้วพัก 10 นาที ทำซ้ำเป็นระยะๆ เพื่อบรรเทาอาการปวด และลดอาการบวม
  • ใช้ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือ ไอบูโพรเฟน เพื่อลดอาการปวด
  • หากมีอาการ หายใจลำบาก เวียนศีรษะ หรือ ใจสั่น ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที

วิธีป้องกันแมงเวาในบ้าน

  • อุดรอยแตกหรือรูเล็กๆ รอบบ้าน เพื่อลดช่องทางที่แมงเวาจะเข้ามา
  • เก็บกวาดบ้านให้เป็นระเบียบ เพื่อไม่ให้เป็นที่หลบซ่อน
  • ใช้ไฟฉาย UV ตรวจหาพวกมัน ในเวลากลางคืน เนื่องจากแมงเวาเรืองแสง เมื่อโดนแสงนี้ [3]

ความสำคัญของแมงเวาในธรรมชาติ

  • ควบคุมจำนวนแมลง : แมงเวาช่วยลดจำนวนแมลง ที่เป็นศัตรูพืชในระบบนิเวศ
  • เป็นอาหารของสัตว์นักล่า : แมงเวาเป็นแหล่งอาหารสำคัญ ของนกฮูก จั๊กก่า และสัตว์นักล่าอื่นๆ
  • ตัวบ่งชี้สภาพแวดล้อม : แมงเวาสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ ความสมดุลของระบบนิเวศ ในพื้นได้

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับแมงเวา

  • แมงเวาสามารถทนความหิว ได้นานหลายเดือนโดยไม่ตาย
  • พวกมันมีความสามารถ ในการเรืองแสง ภายใต้แสง UV ทำให้นักวิทยาศาสตร์ สนใจศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง ของร่างกายแมงเวามาก
  • แมงเวาสามารถควบคุมการใช้น้ำ ในร่างกายได้ดี ทำให้สามารถอยู่รอด ในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้

สรุป แมงเวา scorpion

สรุป แมงเวา เป็นสัตว์ที่มีความน่าสนใจ และสำคัญในด้านระบบนิเวศ แม้ว่ามันจะมีพิษที่อาจทำให้เกิดอันตราย แต่ส่วนใหญ่ ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต หากไม่แพ้รุนแรง การทำความเข้าใจพฤติกรรม และบทบาทของแมงเวาจะช่วยให้เรารู้จัก กับสัตว์ชนิดนี้มากขึ้น และสามารถรับมือ หากเผชิญหน้ากับแมงเวา การเข้าใจธรรมชาติของแมงเวา อาจทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับพวกมัน ได้อย่างสงบ และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง