ข้อมูลการขุด เหมืองทอง อุตสาหกรรมที่เติบโตเสมอไป

เหมืองทอง

เหมืองทอง หนึ่งในอุตสาหกรรม มูลค่าสูง ความต้องการสูง และอยู่ในลิสต์การลงทุน ที่สร้างเม็ดเงินได้มากสุด แถมยังถือว่าเป็นทรัพย์สิน ที่มีความปลอดภัย และมีแนวโน้มราคา บวกเพิ่มทุกปี

ซึ่งจะมีประเทศไหนบ้าง ที่เป็นผู้ส่งออกยักษ์ใหญ่ และเหมืองใดบ้าง ที่เป็นผู้ผลิตสำคัญ รวมถึงเหมืองแร่ทองคำต่างๆ และที่สำคัญ เราจะพาไปดู inspiration ที่ได้มาจากเหมืองแร่ทอง ดังต่อไปนี้

ประวัติโดยย่อของการทำ เหมืองทอง

เหมืองทอง

เหมืองทอง เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน แต่สิ่งประดิษฐ์ทองคำชิ้นแรก ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด ถูกค้นพบในสุสานวาร์นา (Varna) ประเทศบัลแกเรีย ซึ่งหลุมศพในสุสาน คาดว่าสร้างขึ้นระหว่าง 4,700 ถึง 4,200 ปีก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งบ่งชี้ว่าการขุดทองคำ อาจเกิดขึ้นมาแล้วอย่างน้อย 6,724 ปี

นอกจากนี้ ในระหว่างการขุดหลายครั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1878-1922 ยังพบทองคำหนักกว่า 6 กิโลกรัม ในหลุมศพอีกด้วย โดยมีการกล่าวอ้าง จากกลุ่มนักโบราณคดี ชาวเยอรมันและชาวจอร์เจีย ว่าในพื้นที่ Sakdrisi ทางตอนใต้ของจอร์เจีย มีอายุประมาณ 3,000-4,000 ปีก่อน ซึ่งอาจเป็นเหมืองแร่ทอง ที่มีอายุมากสุดของโลก

ซึ่งสิ่งประดิษฐ์จากทองคำ บางส่วนมีอายุย้อนไปถึง ยุคเมโสโปเตเมียโบราณ (Mesopotamia) โดยเฉพาะในภูมิภาคอิรัก ทองคำถูกขุดเป็นจำนวนมาก จากชาวสุเมเรียเมื่อประมาณ 2,5000 ปีก่อน และถูกยกย่องจากผู้คน มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ [1]

สำรวจ เหมืองทอง ประเทศใดมีทองเยอะสุด

กระแสการตื่นทองคำ ที่เป็นหน้าประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นในปี 1848 ณ รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อเจมส์ มาร์แชล (James Marshall) ค้นพบทองในหุบเขาแซคราเมนโต เมื่อข่าวแพร่สะพัดออกไป ผู้อพยพนับพันคน จึงเดินทางไปยังแคลิฟอร์เนีย จากนั้นภายในปี 1855 ก็มีการขุดทองได้มูลค่ากว่า 2,000 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

อเมริกา ออสเตรเลีย และรัสเซีย เป็นผู้ผลิตทองรายใหญ่ จนถึงช่วงทศวรรษปี 1890 จากนั้นแอฟริกาใต้ ก็ขึ้นมาเป็นผู้นำอันดับ 1 จากการพบเหมือง Witwatersrand ซึ่งเป็นแหล่งทองคำ ใหญ่สุดจนถึงตอนนี้ [2] ส่วนประเทศที่ผลิตทอง 5 อันดับแรกในปัจจุบัน อ้างอิงข้อมูลในปี 2024 มีดังนี้

ประเทศจีน

  • ผลิตทองได้สูงถึง 455 tonne ในปี 2016 และไม่ลดลงต่ำกว่า 300 ตัน ในรอบกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ เช่น Shandong Gold เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นประเทศที่ซื้อ โลหะทองรายใหญ่อีกด้วย โดยมียอดรวมอยู่ที่ 2,235 ตัน

ประเทศออสเตรเลีย

  • ในปีที่ผ่านมา ออสเตรเลียผลิตทองได้ 310 ตัน ลดลง 4 ตัน จากปี 2022 โดยเหมืองที่ขุดได้มากสุดคือ Boddington ในรัฐเวสเทิร์น ซึ่งมีปริมาณถึง 589,000 ounces เฉพาะช่วงไตรมาสแรกของปี 2023 และมีทองคำสำรองมากสุดในโลก 12,000 ตัน

ประเทศรัสเซีย

  • การผลิตทองในปี 2023 อยู่ที่ 310 tonne เท่ากับปีที่แล้ว และมีทองคำสำรองอยู่ที่ 11,100 tonne ซึ่งมากสุดเป็นอันดับ 2 รองจากออสเตรเลีย แต่ในปัจจุบัน ทองคำรัสเซียประสบปัญหาในตลาดโลก เนื่องจากการรุกรานยูเครน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022

ประเทศแคนาดา

  • ในปี 2023 เหมืองทอง ในแคนาดาผลิตทอง ลดลงอย่างน้อย 6 tonne ซึ่งมีรัฐออนแทรีโอ และรัฐควิเบก เป็นแหล่งผลิตสำคัญของประเทศ รวมกันคิดเป็นมากกว่า 70% โดยมีการส่งออก มูลค่าสูงถึง 22.34 พันล้านเหรียญ เมื่อปี 2022

สหรัฐอเมริกา

  • สหรัฐฯ ผลิตทองได้ 170 tonne ในปี 2023 ลดลง 3 tonne จากปีก่อน โดยคิดเป็น 73% จากรัฐเนวาดา ตามมาด้วย 13% จากรัฐอะแลสกา และมีทองคำสำรองอยู่ประมาณ 3,000 tonne แถมยังมีการประเมินว่า ทองคำราวๆ 33,000 tonne ถูกระบุว่ามีอยู่ แต่ยังไม่ถูกขุดพบ

ที่มา: Largest Producers of Gold by Country [3]

รู้จัก เหมืองทอง ใหญ่ที่สุดของโลกโดยการผลิต

เหมืองทอง

ถึงแม้ว่าประเทศจีน จะเป็นประเทศผู้ผลิตทองอันดับ 1 (2023-2024) แต่กลับไม่ใช่ที่ตั้งของ เหมืองทอง ที่ขุดพบทองมากสุด ซึ่ง 10 แห่งรายใหญ่ ตั้งอยู่ใน 9 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น อเมริกาเหนือ โอเชียเนีย แอฟริกา และเอเชีย โดยเมื่อคิดรวมกัน มีอัตราประมาณ 12% ของทองคำโลกปี 2021 ยกตัวอย่างเช่น

  • Nevada Gold Mines : ตั้งอยู่ในอเมริกา มีการผลิตประมาณ 3,311,000 ออนซ์ คิดเป็น 2.9% ของโลก
  • Muruntau : ตั้งอยู่ในประเทศอุซเบกิสถาน มีการผลิตประมาณ 2,990,020 ออนซ์ คิดเป็น 2.6% ของโลก
  • Grasberg : ตั้งอยู่ในอินโดนีเซีย มีการผลิตประมาณ 1,370,000 ออนซ์ คิดเป็น 1.2% ของโลก
  • Olimpiada : ตั้งอยู่ที่ประเทศรัสเซีย มีการผลิตประมาณ 1,184,068 ออนซ์ คิดเป็น 1.0% ของโลก
  • Pueblo Viejo : ตั้งอยู่ที่สาธารณรัฐโดมินิกัน มีการผลิตประมาณ 814,000 ออนซ์ คิดเป็น 0.7% ของโลก

ที่มา: Largest Gold Mines in the World, by Production [4]

ทำไม เหมืองทอง ถึงมีความสำคัญ

ทองคำถูกใช้เป็นสกุลเงิน มาตั้งแต่ยุคก่อนคริสตกาล และเข้าสู่การสร้างมาตรฐาน ในช่วงศตวรรษที่ 19-20 ซึ่งมีบทบาทมากๆ ในทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนสินค้า การสะสมมูลค่า แถมยังมีความทนทาน และเป็นที่ต้องการ ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทันตกรรม ยานยนต์ และอื่นๆ อีกด้วย

ซึ่งในปัจจุบัน เหมืองทอง ทั่วโลก ยังถือว่าแข็งแกร่งอย่างมาก ถึงแม้จะเผชิญกับ Covit-19 แต่ราคายังคงสูงขึ้น ซึ่งบางแห่งคาดการณ์ว่า การผลิตทองโลกจะเพิ่มจาก 117.7 moz จากเมื่อปี 2023 จะขยับเพิ่มเป็น 135.1 moz ภายในปี 2032 ซึ่งเติบโตเฉลี่ย 0.8% ในช่วงปี 2016-2020 [5]

ส่วนความต้องการทองคำในปี 2024 สำหรับไตรมาสแรก มีรายงานจากสภาทองคำโลก หรือ World Gold Council ว่าอุปสงค์ทองคำทั่วโลก เพิ่มขึ้น 3% เป็น 1,238 ตัน ซึ่งมีความแข็งแกร่งมากสุด นับตั้งแต่ปี 2016 ส่งผลให้ราคาทองสูงขึ้น 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี และ 5% เมื่อเทียบเป็นไตรมาส [6]

ศึกษา เหมืองทอง ในไทยเป็นยังไงบ้าง

เหมืองทอง

สำหรับการทำ เหมืองทอง ในประเทศไทย เดิมที่รู้จักจากชื่อ “สุวรรณภูมิ” ซึ่งหมายถึงดินแดนทอง ในภาษาสันสกฤต โดยมีการระบุว่า แหล่งแร่ทองในไทย มีอยู่ด้วยกัน 32 แหล่ง คิดเป็นปริมาณราว 148 ตัน ซึ่งแยกออกเป็น 5 บริเวณที่พบหลักๆ ได้แก่

เลย – เพชรบูรณ์ – ปราจีนบุรี

  • เป็นบริเวณที่ ทองคำมีคุณภาพที่สุด โดยเริ่มจากพื้นที่ภาคอีสานตอนบน จังหวัดเลย หนองคาย อุดรธานี ไปจนถึงจังหวัดเพชรบูรณ์ พิจิตร ลพบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว โดยมีแหล่งแร่ทองทั้งหมด 7 แห่ง 64 ตัน

เชียงราย – แพร่ – ตาก

  • พบทองส่วนใหญ่ บริเวณแนวภูเขาไฟ เริ่มจากจังหวัดเชียงราย ทางทิศตะวันตก ผ่านพะเยา แพร่ ลำปาง พบแหล่งแร่ทองทั้งหมด 16 แห่ง คิดเป็น 45.5 ตัน

เชียงราย – ลำปาง – แม่ฮ่องสอน

  • อยู่เขตชายแดนไทย-เมียนมา เหนือสุดของภูมิประเทศ เริ่มจากจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และตาก ซึ่งไม่ถือว่าเป็นแหล่งแร่ แต่อยู่ในกลุ่มแนวแร่ทองคำ ที่มีประสิทธิภาพ

ชลบุรี – นราธิวาส

  • พบทองคำในบริเวณ 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และคาดว่ามีระยะทางยาวถึง จังหวัดนราธิวาส ซึ่งสุดเขตแดนด้วยอ่าวไทย มีแหล่งแร่ทองทั้งหมด 7 แห่ง คิดเป็นราวๆ 6 ตัน

กาญจนบุรี – ประจวบคีรีขันธ์ – พังงา

  • แร่เกิดขึ้นตามลำน้ำต่างๆ และส่วนใหญ่จะพบพร้อมกับแร่ดีบุก ทางตะวันตกของไทย เช่น จังหวัดชลบุรี พังงา ประจวบคีรีขันธ์ มีแหล่งแร่ทั้งหมด 2 แห่ง คิดเป็น 32.5 ตัน

ที่มา: แหล่งแร่ทองคำในประเทศไทย “ดินแดนสุวรรณภูมิ” [7]

การใช้งานทองคำจาก เหมืองทอง และอื่นๆ

ทองคำที่ผลิตในปี 2023 คิดเป็นเครื่องประดับ 46%, ธนาคารกลาง 23%, ทองคำแท่ง 16%, เหรียญต่างๆ 9%, อิเล็กทรอนิกส์ 5% และส่วนอื่น 1% และนอกจากนี้ เหมืองขุดทองคำ ยังไม่ได้สำคัญแค่ในเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมการลงทุน

แต่ยังลามไปถึง การเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับอุตสาหกรรมยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนตร์ที่เนื้อหาเกี่ยวกับเหมืองแร่ เช่น The 33 : 33 ใต้นรก 200 ชั้น (2015), Gold Panning : เหมืองทองขุมทรัพย์มรณะ (2022) หรือจะเป็นหนังไทยอย่าง มหาลัยเหมืองแร่ (2005) ที่สามารถรับชมได้บน Prime video หรือ Netflix

ทางด้านของอุตสาหกรรมเกม 3D ก็ไม่น้อยหน้า เพราะมีให้เล่นมากมาย ทั้งเกมบนมือถือ เช่น Mine & Slash, Jetpack Joyride, Rail Rush, Mr.Mine, ทัวร์ขุดทองระดับโลก ซึ่งยังรวมไปถึงเกมออนไลน์ เช่น Drill That Gold จากค่าย PP Slot, Gemstones Gold จากค่ายเกมพีจี เป็นต้น

สรุป เหมืองทอง

เหมืองทอง เป็นอุตสาหกรรม ที่สามารถเติบโตได้เสมอไป ตราบใดที่ทองคำ ยังเป็นที่ต้องการ และมีการลงทุนสูงขึ้น ซึ่งถึงแม้ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเจอโรคระบาด สงคราม เงินเฟ้อ หรือความวุ่นวายอื่นๆ แต่โลหะสีทอง ยังคงสร้างกำไรได้อย่างต่อเนื่อง และเหมืองขุดทองยังคงสำคัญมากๆ

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Jynx
Jynx

แหล่งอ้างอิง