เรื่องเล่าของพังพอน กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ถูกจัดอยู่ในอันดับของ สัตว์กินเนื้อ ขนาดเล็กอย่าง “ พังพอน ” ( Mongoose ) โดยพวกมันมีชื่อเรียกทางภาษาเหนือที่ว่า “ จ่อน ” สัตว์ที่มองดูยังไงก็คิดว่าเป็นกระรอก โดยบล็อกนี้จะมาเล่าเรื่องราวของตัวจ่อน สัตว์ตัวเล็กที่เป็นคู่ปรับกับงูพิษ
ตัวจ่อน หรือพังพอน สัตว์ที่มองยังไงก็คล้ายกับกระรอก แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย พวกมันแค่เพียงมีรูปลักษณ์ บวกรูปร่างที่คล้ายกระรอกเท่านั้น โดยถ้าพูดกันตาม เรื่องเล่าของพังพอน พวกมันจะมีใบหน้าบวกลำตัวที่ยาว หูกลมเล็ก ขาสั้น และหางที่เรียวยาว ส่วนใหญ่สีที่พบเห็นบ่อย ๆ จะเป็นสีลายเสือ สีเทา และสีน้ำตาลทอง
ถ้าตัวที่โตเต็มวัยแล้ว จะมีความยาวหัวถึงลำตัว 24 – 58 เซนติเมตร หรือประมาณ 9.4 – 22.8 นิ้ว โดยที่ไม่รวมหาง และอาจมีน้ำหนักตั้งแต่ 320 กรัมขึ้นไป หรือประมาณ 11 ปอนด์ ไปจนถึง 5 กิโลกรัม หรือประมาณ 11 ปอนด์ ทั้งนี้ พังพอนส่วนใหญ่จะมีต่อมกลิ่นที่ทวารหนัก ใช้สำหรับทำเครื่องหมายอาณาเขต อีกทั้งใช้ส่งสัญญาณสถานการณ์ในการสืบพันธุ์แก่ตัวอื่น ๆ [1]
ในปัจจุบันตัวจ่อนมีทั้งหมด 33 ชนิด ในทั้งหมด 14 สกุลสายพันธุ์ ซึ่งทั้ง 33 ชนิดนี้ ได้แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกา ไปจนถึงเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกกลาง ส่วนในประเทศไทยจะพบแค่เพียง 2 ชนิด ได้แก่ พังพอนเล็ก หรือพังพอนธรรมดา และพังพอนกินปู หรือพังพอนยักษ์ โดยสกุล + ชนิดของตัวจ่อน สามารถแบ่งออกมาได้ดังนี้
ที่มา: วิกิพีเดีย – วงศ์พังพอน [2]
ตัวจ่อนแต่เดิมนั้น มีต้นกำเนิดมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มนุษย์มีการนำพวกมันมาเลี้ยงในเมืองต่างถิ่น เพื่อให้ทำหน้าที่ปราบหนู และปราบงูพิษ โดยถ้าอิงจากเรื่องเล่า พวกมันจะมีพฤติกรรมชอบออกหากินตอนกลางคืน มีนิสัยซุกซน ขี้เล่นบ้าง แต่ส่วนใหญ่มักจะออกหากินเพียงลำพัง บางครั้งก็อาจมีการรวมกลุ่มกันหาอาหาร โดยอาหารจานหลัก
ได้แก่ แมลง, ปู, ไส้เดือน, จิ้งจก, นก, สัตว์ฟันแทะ อีกทั้งยังกินซากสัตว์ และไข่อีกด้วย นอกจากนี้ ความสามารถของตัวจ่อนขนาดเล็ก นั่นก็คือ มีชั้นเชิงในการต่อสู้ บวกการจับเหยื่อที่แพรวพราว ถ้าเมื่อไหร่ที่พวกมันได้เผชิญหน้ากับงูพิษ อย่างงูเห่า งูจงอาง พังพอนจะสังหารด้วยการกัดไปที่ท้ายทอยทันที สัตว์คู่ปรับที่ไม่ว่าเจอกันเมื่อไหร่ ก็ต้องมีการปะทะต่อสู้กันทุกครั้ง [3]
ด้วยความที่ตัวจ่อนเป็นสัตว์ที่ปราดเปรียว มีความว่องไวพอสมควร แถมยังสามารถสังหารสัตว์ ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ จึงทำให้บางพื้นที่ของต่างประเทศ นิยมที่จะพูดถึง เรื่องเล่าของพังพอน และนิยมในการเลี้ยงพังพอนไว้เป็น สัตว์เลี้ยงแสนรู้ ในพื้นที่ที่มีการทำเกษตร
เพื่อใช้งานให้พวกมันคอยกำจัดหนู ในขณะที่ประเทศอินเดียเอง ประชากรก็นิยมนำตัวจ่อนมาละเล่น ให้พวกมันต่อสู้กับงูเห่า งูจงอาง ทั้งนี้ ประเทศไทยอาจยังไม่นิยมในการเลี้ยงเท่าไหร่ นอกจากกลุ่มคนที่ชอบสัตว์แปลก ๆ อย่าง สัตว์เลี้ยง exotic เท่านั้นที่อาจเลี้ยง
อย่างไรก็ตาม นอกจากบล็อกนี้ยังบอกเล่าเรื่องราวของตัวจ่อนแล้ว ยังมีการนำเสนอเรื่องราวของม้าลาย สัตว์ป่าตัวลาย ๆ ที่มักจะถูกนักล่าสังหารกินเป็นอาหาร หากสนใจก็อยากให้ติดตาม เรื่องเล่าของม้าลาย บันทึกที่คุณอาจได้อ่านก่อนใคร
แต่ก่อนสมัยโบราณของเมโสโปเตเมีย ตัวจ่อนถือว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้า ประชากรสมัยนั้นเชื่อกันว่า พังพอนจะช่วยปกป้องตนจากงูพิษได้ อีกทั้งเมื่อในปี ค.ศ. 1894 พังพอนได้โด่งดังในส่วนของ เรื่องเล่าของพังพอน ซึ่งเป็นนวนิยายเรื่อง “ The Jungle Book ”
เป็นเรื่องสั้นที่ตัวจ่อนได้ช่วยเหลือครอบครัวหนึ่ง ให้พ้นอันตรายจากงูพิษ นอกจากนี้ ยังมีการนำพังพอนไปสร้างเป็นตัวเอกของภาพยนตร์ บวกเพลงประกอบละครอีกด้วย ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรก ประเทศเดียว ที่มีการสั่งห้ามเลี้ยงพังพอน
พังพอนมีนิสัยอย่างไร : เป็นสัตว์ที่ชอบอยู่ตัวคนเดียว ค่อนข้างเป็น สัตว์รักสันโดษ พอสมควร ชอบออกหากินตอนกลางคืน ส่วนตอนกลางวันจะชอบวิ่งไปมา ค่อนข้างซุกซน
พังพอนกินอะไรเป็นอาหารจานหลัก : ส่วนใหญ่ชอบกินเนื้อสัตว์มากกว่าพวกผัก พวกผลไม้ โดยเนื้อที่กิน ได้แก่ กระต่าย, นก, งู, จิ้งจก, ไส้เดือน, ปู บลา ๆ
พังพอนกับเพียงพอน แตกต่างกันอย่างไร : พังพอนจะมีขนบนลำตัวที่หยาบ และมีความยาว ส่วนเพียงพอนจะมีขนลำตัวที่นิ่ม และเป็นลายผ้าสักหลาด
ภาคใต้เรียกพังพอนว่าอะไร : ส่วนใหญ่จะเรียกว่า “ อีเห็น ” เป็นคำเรียกจากมลายูว่า “ มูซัง ” แต่ภาคใต้ออกเสียงว่า “ มูสัง ” เป็นต้น
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก มีใบหน้าบวกรูปร่างที่คล้ายกับกระรอก อย่าง “ พังพอน ” หรือภาษาเหนือที่ว่า “ จ่อน ” กลุ่มสัตว์กินเนื้อมีความสามารถ จึงทำให้คนในต่างถิ่นนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เพื่อให้ทำหน้าที่ไล่หนู ไล่งู ให้ออกจากพื้นที่การทำเกษตร