เรื่องจริงของอูฐ บล็อกรวมช่วงชีวิตเกี่ยวกับ “ อูฐ ” ( Camel ) สัตว์ที่ได้รับการขนานนามว่า “ เรือสำเภาแห่งท้องทะเลทราย ” อีกหนึ่งสัตว์ที่มีความอดทนสูง เพราะพวกมันอาศัยอยู่ตามทะเลทราย ทำหน้าที่คอยบรรทุกสัมภาระ เพื่อลำเลียงไปยังสถานที่ต่าง ๆ อีกทั้งยังอยู่อาศัยได้โดยที่ไม่ได้กินอาหาร ไม่ได้กินน้ำเลย 2 สัปดาห์ หากคุณสนใจเรื่องราวของอูฐ บล็อกนี้จะทำให้คุณรู้เรื่องก่อนใคร
สัตว์จำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม อย่าง “ อูฐ ” ปัจจุบันพวกมันจัดอยู่ในวงศ์อูฐ ที่มีการถูกจัดสายพันธุ์ให้เหลืออยู่ 6 ชนิดด้วย ซึ่งนี่เป็น เรื่องจริงของอูฐ ที่จำนวนประชากรสายพันธุ์คงเหลืออยู่ รายละเอียดมีดังนี้
อย่างไรก็ตาม นอกจากอูฐจะมีสายพันธุ์ที่ถูกแยกเป็นชนิดย่อยแล้ว ยังมีอีกหนึ่งสัตว์ที่สายพันธุ์ ถูกแยกออกเป็นชนิดย่อยเช่นกัน อย่าง “ ฮิปโปโปเตมัส ” ( Hippopotamus ) สัตว์บกที่โคตรจะดุร้ายที่สุด นี่จึงเป็น เรื่องจริงของฮิปโป สัตว์ที่สามารถล้มราชาอย่าง สิงโต เสือ หรือจระเข้ได้สบาย ๆ
บล็อกตามติดชีวิตของ “ อูฐ ” ( Camel ) สัตว์อึดและทนที่สุดในทะเลทราย พวกมันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อม ที่ธุระกันดารอย่างทะเลทรายได้เป็นอย่างดี ถึงแม้จะไม่ได้กินอาหาร ไม่ได้กินน้ำเลยถึง 2 สัปดาห์ โดยอาหารที่พวกมันกินส่วนใหญ่ จะเป็นอาหารประเภทใบไม้ในทะเลทราย จึงทำให้อูฐจัดอยู่ในกลุ่มก้อนของ สัตว์กินพืช ที่ตัวสูงพอ ๆ กับยีราฟ
ทั้งนี้ ตัวที่ตัวโตเต็มวัยจะมีความสูงประมาณ 1.85 เมตร มีหนอกสูงราว ๆ 75 เซนติเมตร ส่วนความสามารถในการวิ่งเฉลี่ยที่ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเดินด้วยความเร็วคงที่ประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อีกทั้งยังแบกน้ำหนักสัมภาระได้ถึง 150 – 200 กิโลกรัม ส่วนอุณหภูมิของร่างกายในตอนกลางวัน 41 องศา ส่วนในตอนกลางคืนประมาณ 35 องศา เป็นต้น [1]
สัตว์โลกที่มีความอดทนอย่าง “ อูฐ ” สัตว์ผู้ที่ได้รับฉายาว่า “ เรือสำเภาแห่งท้องทะเลทราย ” สงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมพวกมันถึงได้รับฉายานี้ นั่นก็เพราะ ทะเลทรายเป็นพื้นที่ที่ไม่มีแอ่งน้ำ ไม่มีแม่น้ำ ไม่มีทะเลสาบ แล้วก็ไม่มีเรือ การที่พวกมันได้รับฉายานี้ก็เพราะว่า อูฐเป็นสัตว์ที่รับหน้าที่บรรทุกขนส่ง และลำเลียงสัมภาระของมนุษย์ในทะเลทราย
ด้วยหน้าที่ที่สัตว์โลกอื่น ๆ ก็ทำไม่ได้นี้ อูฐจึงเป็นสัตว์ที่เหมาะสมจะทำหน้าที่นี้ที่สุด นอกจากขนส่งสัมภาระแล้ว พวกมันยังขนส่งพวกขน เนื้อ และนมอีก นอกจากนี้ อูฐที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่ไม่ใช่ทะเลทราย พวกมันมักถูกใช้งานให้ลากรถ ไถนา และชักรอกตักน้ำขึ้นจากบ่อ เป็นต้น [2]
สำหรับ เรื่องจริงของอูฐ เรื่องต่อมาก็คือ “ การปรับตัวในทะเลทราย ” อย่างที่ทราบกันดีว่า อูฐเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างมีความสามารถ อย่างการดำรงชีพในทะเลทราย พื้นที่อันแห้งแล้ง ไม่มีแอ่งน้ำ แถมยังร้อนสุด ๆ ไปเลย เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมพวกมันถึงอยู่ในสถานที่แบบนั้นได้
นั่นก็เพราะ อุณหภูมิภายในร่างกายของพวกมัน สามารถรับความร้อนได้ถึง 41 องศาเซลเซียส แถมขนชั้นนอกยังกันความร้อนได้ดี อีกทั้งสรีระของพวกมัน ยังสามารถทนทานต่อการสูญเสียน้ำได้ดี อะไรเหล่านี้เอง ทำให้พวกมันมีความพร้อมในการปรับตัว ที่อยู่ในพื้นที่อันแห้งแล้งได้นาน ๆ [3]
ด้วยจำนวนประชากรอูฐที่มีมากมาย และพวกมันก็เป็นสัตว์ที่ถูกใช้งาน ให้ทำหน้าที่เป็นพาหนะในทะเลทราย แน่นอนว่า ตัวที่ทำหน้าที่ขนของลำเลียงสัมภาระนั้น จะต้องมีลักษณะที่เหมาะกับหน้าที่นี้ ซึ่งลักษณะที่เหมาะสม มีรายละเอียดดังนี้
นอกจากพวกมันจะถูกใช้งาน ให้เป็นสัตว์พาหนะขนของแล้ว ที่ประเทศตุรกียังมีการละเล่นพื้นเมือง ที่เกี่ยวกับอูฐอีกด้วย นี่คือ เรื่องจริงของอูฐ ที่พวกมันจะต้องร่วมเล่นการละเล่น เนื่องจากมันเป็นประเพณีของตุรกี ที่พวกเขาทำมานานกว่า 2,400 ปีมาแล้ว ซึ่งการละเล่นจะจัดขึ้นปีละ 1 ครั้งในช่วงฤดูหนาว
โดยสาเหตุที่เลือกช่วงเวลานี้นั้น นั่นเป็นช่วงเวลาที่อูฐตัวผู้ จะต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงอูฐตัวเมีย หากตัวใดสามารถกดคู่แข่งให้ลงกับพื้นได้ จะถือว่าเป็นผู้ชนะที่ถูกเลือกทันที อีกทั้งตัวที่เป็นแชมป์บ่อย ๆ จะมีค่าตัวในการส่งออกขายนับล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีการแข่งขันวิ่งอูฐที่เหมือนกับการแข่งม้าอีกด้วย
ด้วยเรื่องราวชีวิตของอูฐ สัตว์ที่เป็นเหมือนเรือสำเภาของท้องทะเลทราย ผู้รับทำหน้าที่คอยเป็นพาหนะ และขนส่งลำเลียงสัมภาระต่าง ๆ บนทะเลทราย ถือว่าเป็นสัตว์มหัศจรรย์ที่มีความอดทนสูง และค่อนข้างจะปรับตัวเก่ง จึงทำให้พวกมันถูกเลือกจากมนุษย์ ให้เป็นสัตว์พาหนะประจำทะเลทราย