เขาว่าน่ารัก อัลปาก้า สัตว์เลี้ยงชื่อแปลก หน้าตาเป็นมิตร

อัลปาก้า

อัลปาก้า สัตว์ตระกูลเลี้ยงลูกด้วยนม [1] สัตว์ที่เพิ่งถูกเพิ่มเข้าไปในลิสต์ สัตว์เลี้ยงสุดแปลก เป็นสัตว์อีกหนึ่งชนิดที่น่าสนใจ ส่วนน้อยที่จะเห็นคนเลี้ยงในประเทศไทย

เพราะราคาตัวค่อนข้างแพง รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ก็ค่อนข้างแพง หากใครสนใจอยากเลี้ยง สัตว์ที่มีทรงผมจ๊าบ ๆ ขับถ่ายเป็นที่เป็นทาง อยากให้ติดตามบทความนี้

ข้อมูลเบื้องต้น อัลปาก้า ( Alpaca ) ( Vicugna Pacos )

“ Alpaca ” [2] ชื่อภาษาสเปน แต่ถ้าชื่อวิทยาศาสตร์ คือ “ Vicugna Pacos ” เป็นสัตว์ในตระกูลเลี้ยงลูกด้วยนม อีกทั้งยังอยู่ในตระกูลเดียวกันกับอูฐ ( Camelidae )

อัลปาก้า เป็นสัตว์ที่ชอบอยู่ด้วยกันเป็นฝูง ส่วนใหญ่พบได้มากที่เทือกเขาแอนดีส ทวีปอเมริกาใต้ ไม่ว่าจะเป็น ตอนเหนือของประเทศชิลี ตอนเหนือของโบลิเวีย ตอนใต้ของเปรู และเอกวาดอร์

ลักษณะทั่วไป อัลปาก้า สัตว์ที่เหมือนมีผมบนหัว

อัลปาก้า
  • ความสูง = ถ้าตัวที่โตเต็มวัย จะมีความสูงประมาณ 81 – 99 เซนติเมตร ( 32 – 39 นิ้ว )
  • น้ำหนัก = ปกติจะหนักประมาณ 48 – 90 กิโลกรัม ( 106 – 198 ปอนด์ ) ส่วนตัวเล็กหนักประมาณ 7 – 10 กิโลกรัม
  • ช่วงชีวิต = 15 – 20 ปี
  • ระยะการตั้งครรภ์ = 11 – 12 เดือน
  • การคลอดลูก = น้องให้กำเนิดลูกทีละตัว ส่วนน้อยจะพบฝาแฝด
  • ฟันหน้า = น้องเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟันหน้า เวลาเคี้ยวจะเคี้ยวแบบเอื้อง
  • ขน = ส่วนใหญ่จะนำขนมาทำเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม อาทิเช่น เสื้อกันหนาว ผ้าพันคอ ถุงมือ บลา ๆ ส่วนของขนขึ้นชื่อว่าเป็น “ ขนที่นุ่มที่สุดในโลก ” จนได้รับฉายาว่า “ เส้นใยจากพระเจ้า ” จะมีราคาขายเป็นกิโลกรัมละ 30,000 บาท
  • กระเพาะ = มี 3 กระเพาะ
  • การจำแนกสีขน = ประเทศออสเตรเลีย จำแนกไว้ 12 สี สหรัฐอเมริกาจำแนก 16 สี

ที่มา : ANIMAL2YOU “อัลปากา” สัตว์ชื่อแปลก แต่น่ารักที่จะทำให้คุณยิ้ม [3]

พฤติกรรม อัลปาก้า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

สำหรับพฤติกรรมส่วนใหญ่ ที่ อัลปาก้า มักจะแสดงออกมา ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ข้างหน้า และขึ้นอยู่กับอารมณ์ของน้อง รายละเอียดมีดังนี้

  • Alpaca มีเสียงร้องหลายเสียง เมื่อไหร่ที่ส่งเสียงแหลม ๆ นั่นแปลว่ากำลังตกอยู่ในอันตราย ส่วนถ้าทำเสียงดูดเพดานปาก หรือทำเสียงในรูจมูก นั่นแปลว่า กำลังแสดงความเป็นมิตร
  • เวลาที่ต่อสู้กัน จะร้องเหมือนเสียงนกแว๊ด ๆ เพื่อให้อีกตัวรู้สึกหวาดกลัว และจะพ่นน้ำลายออกมา เพื่อป้องกันตัวเอง
  • Vicugna Pacos มักจะชอบฮัมเพลงสั้น ๆ เพราะต้องการให้ตัวอื่น ได้รับรู้ว่ากำลังมีความสุข โดยแต่ละเสียงจะแตกต่างกัน

อัลปาก้า ( Exotic Pet ) นิยมเลี้ยงในประเทศไทย

อัลปาก้า

ปัจจุบันนี้ ความนิยมในการเลี้ยง อัลปาก้า ทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นสัตว์ที่เชื่อง เชื่อฟัง โดยต่างประเทศส่วนใหญ่ที่เลี้ยง จะเป็นผู้มีชื่อเสียง ไม่ว่าจะเป็น “ โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ ”, “ นิโคล คิดแมน ”

ซึ่งราคาซื้อ – ขายแต่ละตัว ตกตัวละหลักแสน บางตัวหลักล้านก็มี ส่วนประเทศไทยก็มีคนเลี้ยงเช่นกัน แต่จะเป็นระบบเลี้ยงในฟาร์ม นั่นก็คือ “ ไร่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ” ฟาร์มเลี้ยง Alpaca แห่งแรกในประเทศไทย

ฟาร์ม อัลปาก้า แห่งแรกในประเทศไทย

สำหรับฟาร์มแห่งแรกในประเทศไทย ที่เลี้ยง Vicugna Pacos อย่างเปิดเผย อีกทั้งยังเปิดให้เข้าชม เปิดให้ซื้อขาย อัลปาก้า รวมถึงสัตว์อื่น ๆ นั่นก็คือ “ AlpacaHill ” [4] เป็นฟาร์มแห่งแรกในประเทศไทย แห่งเดียว และใหญ่ที่สุด

นอกจากจะเปิดตลาด เพื่อให้ซื้อ – ขายแล้วนั้น ยังให้คำแนะนำ คำปรึกษา รวมไปถึงวิธีการเลี้ยงให้กับผู้ที่สนใจ โดยรายละเอียดสำหรับคนที่อยากจอง เพื่อเข้าชมก่อนซื้อ มีข้อมูลดังนี้

  • เวลาเปิดให้เข้าชม = วันจันทร์ – วันพฤหัสบดี เวลาทำการ 09:30 – 17:00 น. วันศุกร์เวลาทำการ 09:30 – 18:00 น. วันเสาร์เวลาทำการ 09:00 – 18:30 น. วันอาทิตย์เวลาทำการ 09:00 – 18:00 น.
  • ประเภทบัตรเข้าชม = จะมีประเภทของบัตรทั้งหมด 7 ประเภท 7 ราคา อาทิเช่น บัตร 290, 390, 500, 790, 990, 1,290, 1,690
  • จำนวนผู้เข้าชม = วัน ๆ หนึ่งจะกำหนดจำนวนผู้เข้าชมเพียง 200 คนต่อวัน

ฟาร์ม อัลปาก้า กับช่องทางการติดต่อ

อัลปาก้า

ในส่วนของช่องทางการติดต่อนั้น จะมีให้ผู้ที่สนใจเลือกอยู่ 6 ช่องทาง สะดวกติดต่อเข้ารับชม หรือทำการซื้อ – ขายแบบไหน สามารถเลือกได้ด้วยตนเอง รายละเอียดมีดังนี้

  • เว็บไซต์ = http://www.alpacahill.com
  • Facebook = AlpacaHillThailand
  • โทรศัพท์ = 080-821-2108, 081-145-9565
  • ID Line = alpacahill01
  • อีเมล = info@alpacahill.com
  • GPS = N 13.709522, E 99.203961

สรุป อัลปาก้า สัตว์แปลกหน้าตาน่ารัก

สัตว์เลี้ยงแปลกใหม่ ทรงผมสุดจ๊าบ ค่าตัวแพงหลักแสนถึงหลักล้าน ส่วนน้อยจะเห็นคนไทยเลี้ยง แต่ถ้าสนใจจะเลี้ยง สามารถจองบัตรเข้าชมก่อนซื้อ – ขาย ได้ที่ฟาร์มแห่งแรกของประเทศไทย ไร่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Pet Noi
Pet Noi

แหล่งอ้างอิง