อลาสกัน มาลามิวท์ (Alaskan Malamute) สุนัขสายพันธุ์ใหญ่ ในตระกูลอลาสกัน ที่สืบเชื้อสายมาจาก สุนัขพันธุ์อาร์กติก โดยเฉพาะไซบีเรียนฮัสกี้ แต่มีความแข็งแรงกว่า เนื่องจากมักถูกใช้ในการลากเลื่อน หรือเป็นสุนัขล่าเนื้อ ส่วนข้อมูลอื่นๆ มีรายละเอียดดังนี้
อลาสกัน มาลามิวท์ เชื่อกันว่ากำเนิดขึ้น โดยชาว Malimiut Inupiaq ที่อยู่ทางตอนเหนือของอลาสก้า (อะแลสกา) และถูกระบุว่า เป็นสายพันธุ์เฉพาะ ที่เกิดขึ้นก่อนศตวรรษที่ 19 ซึ่งถูกใช้งานลากของและล่าสัตว์ ก่อนที่ในปี ค.ศ. 1935 จะมีการรู้จักสายพันธุ์นี้มากขึ้น
ก่อนจะมีบทบาทสำคัญในปี 1896 ยุคตื่นทองคลอนไดค์ กระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1947 มีประเมินว่า เหลือน้องหมามาลามิวท์เพียง 30 ตัว ทำให้มีการผสมพันธุ์ใหม่ ระหว่าง M’’Loot และ Hinman/Irwin เข้ากับสายพันธุ์ Kotzebues
และจากการศึกษาในปี 2013 บ่งชี้ว่ามาลามิวท์ มีต้นกำเนิดในเอเชียตะวันออก เช่นเดียวกับกรีนแลนด์ด็อก และเอสกิโมแคนาดา แต่ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่เมื่อปี 2015 มีข้อมูลว่ามาลามิวท์ และไซบีเรียนฮัสกี้ เกี่ยวข้องกันทาง DNA
ที่มา: Lineage, History [1]
ที่มา: สุนัขอลาสกัน มาลามิวท์ (รู้หรือไม่) [2]
ลักษณะเฉพาะตัวของ Alaskan-Malamute เป็นมิตรปานกลาง มีความภักดี ทุ่มเท ไม่ชอบอยู่ตัวเดียว และชอบเป็นผู้นำ ส่วนรูปร่างมีโครงสร้างใหญ่ ขาไม่สั้น กระดูกหนา เอาชีวิตรอดในอากาศหนาวได้ยอดเยี่ยม และอื่นๆ ดังนี้
ที่มา: Alaskan Malamute [3]
หากมองผิวเผิน เจ้ามาลามิวท์ คล้ายกับเพื่อนพันธุ์อื่นๆ หลายตัว ไม่ว่าจะเป็น ยูโทนากัน, ซามอยด์, อลาสกัน คลี ไค, ปอมสกี้ และที่หลายคนแยกไม่ค่อยออก คือสายพันธุ์ ไซบีเรียนฮัสกี้ ที่วันนี้เราจะพาไปเทียบความต่าง ต่อไปนี้
ขนาดตัว / อายุ
รูปร่าง
บุคลิก
การเข้าสังคม
ที่มา: Alaskan-Malamute and Siberian Husky Differences [4]
อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นความต่าง ระหว่าง Alaskan-Malamute และ Siberian Husky คือค่าตัวการจำหน่าย โดยมาลามิวท์มีราคาตั้งแต่ 35,000 ถึง 60,000 บาท ในขณะที่ไซบีเรียน มีราคาเริ่มต้นที่ 5,000 ถึง 45,000 บาท หรือสามารถสอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฟาร์มนำเข้าในประเทศไทย แนะนำเช่น
Alaskan-Malamute เป็นน้องหมาไซส์หมี ตัวใหญ่ ขนหนา ที่มีความแข็งแรง และใช้งานได้หลายด้าน โดยสืบสายเลือดมาจาก สุนัขสายพันธุ์อาร์กติก ขั้วโลกเหนือ นอกจากนี้ พวกมันยังมีสตอรี่สำคัญ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก ทั้งสงคราม กู้ภัย ส่งเสบียง ซึ่ง ณ ปัจจุบัน มีราคาสูงแตะ 6 หลัก หากนำเข้ามาในไทย