คู่มือเลี้ยง หนูแกสบี้ (Guinea Pig) เพื่อนซี้ตัวจิ๋ว

หนูแกสบี้

หนูแกสบี้ หรือ “ หนูตะเภา ” สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่นิยมเลี้ยงกันเพื่อดูเล่น ความนิยมในการเลี้ยง ได้แพร่หลายไปทั่วโลก ด้วยความน่ารัก และพฤติกรรมที่ปรับตัวได้ง่าย จึงกลายเป็นสัตว์เลี้ยง ที่ทาสหนูที่มีพื้นที่เลี้ยงน้อย ๆ อย่าง ห้องพัก, คอนโด ชอบเลี้ยงกัน วันนี้จะพามาทำความรู้จักให้มากขึ้น

ทำความรู้จัก หนูแกสบี้ สัตว์เลี้ยงยอดนิยม

“ Guinea Pig ” หนูตะเภา หรือ หนูแกสบี้ เป็นสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก ฟันแทะ อยู่ในสายพันธุ์สกุล Cavia ในวงศ์ Caviidae มักนิยมใช้น้องในบริบททางวิทยาศาสตร์ หรือพวกห้องปฏิบัติการ มีต้นกำเนิดในภูมิภาคแอนดีสของอเมริกาใต้ ในสังคมตะวันตก หนูตะเภาได้รับความนิยม

ในฐานะสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน นับตั้งแต่ที่พ่อค้าชาวยุโรป นำเข้ามาในยุโรป รวมถึงอเมริกาเหนือเมื่อศตวรรษที่ 16 อีกทั้งศตวรรษที่ 17 น้องมักถูกใช้งาน ในการทดลองทางชีวภาพบ่อย ๆ จนศตวรรษที่ 20 มีการเรียกชื่อน้องว่าเป็น “ ผู้ทดลองในมนุษย์ ” [1]

หนูแกสบี้ ชื่อนี้มีที่มา

หนูแกสบี้

ด้วยความที่คนติดปากเรียกว่า หนูแกสบี้ นั่นเป็นชื่อที่เรียกผิดกันมาตลอด เริ่มจากผู้ขายเรียกว่า “ แกสบี้ ” โดยที่ไม่มีเหตุผลอะไร จากนั้นคนไทยที่เป็นทาสหนู ก็เริ่มรู้จักน้องในชื่อเรียกว่า “ แกสบี้ ” จนกระทั่งได้มีคนสนใจ ที่จะศึกษารายละเอียด จากตำราต่างประเทศ จึงรู้ว่าชื่อที่ถูกต้อง คือ “ เควี่ ” หรือ “ หนูตะเภา ” นั่นเอง [2]

ลักษณะเฉพาะ หนูแกสบี้

  • ความยาว : ประมาณ 20 – 40 เซนติเมตร ( 8 – 16 นิ้ว ) เพศผู้จะมีความยาวลำตัวมากกว่า ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
  • น้ำหนัก : 500 – 1,500 กรัม ( 1 – 3 ปอนด์ ) เพศผู้จะน้ำหนักเยอะกว่า ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
  • น้ำหนักแรกเกิด : 60 – 120 กรัม ( 2 – 4 ออนซ์ )
  • อายุขัย : 4 – 8 ปี
  • การตั้งครรภ์ : 68 วัน
  • จำนวนลูกที่คลอด : มากถึง 13 ตัว

ที่มา: San Diego Zoo – Guinea Pig Cavia porcellus [3]

พื้นที่เลี้ยง หนูแกสบี้ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

หนูแกสบี้

ว่าด้วยพื้นที่ในการเลี้ยงนั้น จะต้องเป็นพื้นที่อาศัยที่ปลอดภัย สะดวกสบาย กรงจะต้องกว้างขวาง พร้อมพื้นรองที่แข็งแรง ส่วนนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องซื้อ นั่นก็เพราะเท้าของน้องมีความบอบบาง มีโอกาสบาดเจ็บได้ง่าย

คนเลี้ยงจะต้องจัดเตรียมวัสดุรองนอน อาทิเช่น หญ้าแห้ง, ก้านปอ, ซังข้าวโพด เพื่อดูดซับของเสียที่น้องปล่อยออกมา นอกจากนี้ Guinea Pig มีความไวต่ออุณหภูมิ เจ้าของจะต้องรักษาสภาพแวดล้อม ให้อยู่ในช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสม ระหว่าง 65 – 75 ฟาเรนไฮต์ หรือ 18 – 24 องศาเซลเซียส

ราคาจำหน่าย หนูแกสบี้

สำหรับราคาที่ร้านขายสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่ เริ่มจำหน่ายในราคา 1,500 – 10,000 บาท เห็นได้ชัดว่า ค่าตัวจะแพงกว่า แฮมสเตอร์ ซึ่งหนูแฮมสเตอร์ราคาอยู่ที่ 80 – 300 บาท แน่นอนว่าค่าตัวขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์

หนูแฮมสเตอร์มีสายพันธุ์ให้เลือก 5 พันธุ์ แต่ หนูแกสบี้ มีทั้งหมด 6 พันธุ์ ที่ราคาแพงกว่า นั่นก็เพราะเป็นสายพันธุ์หายาก บวกมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า หากทาสหนูสนใจ สามารถซื้อเลี้ยงทั้งสองได้ แต่จะต้องแยกกรงกัน

เรื่องควรรู้ หนูแกสบี้ สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง

หนูแกสบี้
  • เลือกกรงให้เหมาะสม ขนาดกรงจะต้องใหญ่พอ จะต้องมีพื้นที่ให้เดิน หรือวิ่งได้
  • อาหารของน้องคือ “ หญ้าแห้ง ” อาทิเช่น หญ้าโอ๊ต, หญ้าทิโมธี
  • หนูตะเภาไม่ควรใช้วงล้อหมุน เพราะจะทำให้หลังบาดเจ็บ
  • น้องต้องได้รับวิตามินซีทุกวัน นั่นก็เพราะร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ วิตามินซีเองได้ จึงจำเป็นจะต้องเสริมให้เพียงพอ เป็นต้น

สรุป หนูแกสบี้ ( Guinea Pig )

อีกหนึ่งสัตว์เลี้ยงตัวจิ๋ว ที่ทั่วโลกนิยมเลี้ยงกัน ค่าตัวในตลาดซื้อ – ขายแตะที่ 1,500 – 10,000 บาท เลี้ยงง่าย คนที่พักอาศัยอยู่ตามห้องพัก, หอพัก, คอนโด สามารถเลี้ยงได้สบาย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Pet Noi
Pet Noi

แหล่งอ้างอิง