สื่อสารด้วยการสัมผัส ของสัตว์สายพันธุ์ต่างๆ

สื่อสารด้วยการสัมผัส

สื่อสารด้วยการสัมผัส ในสัตว์ เป็นอีกหนึ่งในวิธีที่น่าสนใจ เพราะในธรรมชาติของสัตว์ สัตว์มีวิธีการสื่อสารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้เสียง การใช้ท่าทาง หรือแม้กระทั่งการปล่อยกลิ่น แต่การสื่อสารด้วยการสัมผัส เป็นวิธีการสื่อสารที่ใกล้ชิดที่สุด เพราะต้องใช้ร่างกายในการสัมผัสกัน ช่วยสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม และยังเป็นวิธีที่สัตว์ใช้แสดงอารมณ์ หรือความต้องการต่าง ๆ บทความนี้จะพาทำความเข้าใจ ถึงการอยู่ร่วมกันในโลก ของสัตว์แต่ละชนิด

รูปแบบของ สื่อสารด้วยการสัมผัส ในสัตว์

สื่อสารด้วยการสัมผัส นั้นมีความสำคัญในชีวิตประจำวัน ของสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ที่อยู่ในสังคม การสื่อสารระหว่างสัตว์ไม่ได้มีแค่ การสื่อสารด้วยเสียง หรือ การสื่อสารด้วยท่าทาง เท่านั้นแต่ “การสัมผัส” ก็เป็นหนึ่งในรูปแบบการสื่อสาร ที่สำคัญเช่นกัน

สัตว์หลายชนิดใช้การสัมผัส เพื่อส่งต่อข้อมูล ความรู้สึก หรือสร้างความผูกพันต่อกัน การสัมผัส ไม่เพียงช่วยสร้างความใกล้ชิดระหว่างกัน แต่ยังเป็นวิธีที่สัตว์ ใช้เพื่อแสดงออกถึงการดูแลซึ่งกันและกัน การส่งสัญญาณเตือนภัย หรือแม้แต่การแสดงความเป็นผู้นำ

การสัมผัส ที่แสดงถึงอารมณ์

สื่อสารด้วยการสัมผัส

ช้าง (elephant)
ช้าง เป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์ ภายในฝูงที่แข็งแกร่ง และการสัมผัสเป็นวิธีที่พวกมันใช้สื่อสารอย่างสำคัญ งวงของช้าง ไม่เพียงเป็นเครื่องมือที่ใช้หาของกิน หรือยกสิ่งของ แต่ยังใช้ในการลูบสัมผัสสมาชิกในฝูง ช้างจะใช้งวงลูบหัว หรือหลังของกันและกัน เพื่อแสดงถึงความรัก ความห่วงใย หรือแม้กระทั่งการปลอบโยน ในยามที่ช้างตัวหนึ่งรู้สึกเครียด การสัมผัสแบบนี้ ช่วยสร้างความผูกพันที่แข็งแกร่ง ระหว่างสมาชิกในฝูง [1]

ลิง (elephant)
ลิงหลายชนิด เช่น ลิงชิมแปนซี และลิงบาบูน ใช้การสัมผัสในการทำความสะอาดขน ของกันและกัน ไม่เพียงเป็นการรักษาความสะอาดเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธี ในการสร้างความสัมพันธ์ และความไว้วางใจในกลุ่ม การที่ลิงช่วยกันทำความสะอาดขน แสดงถึงความสนิทสนม และการยอมรับสถานะทางสังคม นอกจากนี้ยังช่วยลดความตึงเครียด และเสริมสร้างความสามัคคีในกลุ่มลิง

การสัมผัส เพื่อการทำงานในสัตว์

ผึ้ง (bee)
ผึ้งเป็นตัวอย่างที่ดี ของการสื่อสารผ่านการสัมผัส โดยเฉพาะในรังที่มีผึ้งจำนวนมาก ผึ้งใช้การสัมผัสกันระหว่างตัว เพื่อบอกทิศทางของแหล่งอาหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ “การเต้นระบำวงกลม” ผึ้งงานจะใช้ร่างกายสัมผัสผึ้งตัวอื่น เพื่อบอกระยะทาง และทิศทางที่ต้องไปหาน้ำหวาน การทำงานร่วมกันผ่านการสัมผัสนี้ ช่วยให้ผึ้งสามารถดำรงชีวิต อยู่ในรังที่มีการทำงาน อย่างซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ [2]

มดงาน (Worker ants)
มดงานเมื่อมดพบแหล่งอาหาร มันจะรีบกลับไปที่รัง และใช้การสัมผัสผ่านหนวด กับมดตัวอื่นๆ เพื่อแจ้งข่าวสาร นอกจากนี้ มดจะปล่อย ฟีโรโมน บนเส้นทางที่มันเดินผ่าน ทำให้เพื่อนมดตามกลิ่นนั้น ไปยังแหล่งอาหารได้ แต่ระหว่างการเดินทาง หนวดของพวกมันยังคงทำหน้าที่ในการสัมผัส และตรวจสอบสถานะของมดตัวอื่น เช่น บอกให้รู้ว่าแหล่งอาหาร ยังมีเพียงพอหรือไม่ [3]

มดสามารถสื่อสาร ถึงอันตรายที่กำลังจะมาถึง ได้ผ่านการสัมผัสโดยใช้หนวด เมื่อมดพบผู้ล่า มันจะกลับมาที่รัง และสัมผัสกับเพื่อนในฝูง เพื่อส่งสัญญาณเตือน บางครั้งอาจมีการใช้การ “กระทบตัว” หรือ ชนกันเบาๆ เพื่อสื่อสารถึงความเร่งด่วน ทำให้เพื่อนมดเตรียมพร้อมป้องกันตัว หรืออพยพหนีทันที

สัตว์น้ำที่ใช้ สื่อสารด้วยการสัมผัส

สื่อสารด้วยการสัมผัส

สื่อสารด้วยการสัมผัส ในสัตว์น้ำ เป็นอีกหนึ่งในวิธีของการสื่อสารที่มักใช้ เพราะพวกมันไม่เพียงสื่อสารกันผ่านเสียง แต่ยังใช้ การสัมผัส เป็นเครื่องมือในการส่งต่อข้อมูล ความรู้สึก และเสริมสร้าง ความสัมพันธ์ในกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นการถูตัว แสดงความรัก ส่งสัญญาณเตือนภัย หรือช่วยเหลือกัน ในสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อม ที่การใช้เสียงหรือการมองเห็น อาจมีข้อจำกัด การสัมผัสจึงมีบทบาทสำคัญ ในชีวิตในน้ำ

การสื่อสารของโลมา

การถูตัวเพื่อ แสดงความเป็นมิตร
โลมา (dolphin) มักถูตัวกับเพื่อนในฝูง เพื่อแสดงถึงความสนิทสนม และความผูกพัน การถูตัวช่วยเสริมความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการจับมือ หรือกอดในมนุษย์ การสัมผัสนี้ยังช่วยลดความตึงเครียด หลังจากมีการปะทะ หรือขัดแย้งกันระหว่างสมาชิกในฝูง

การเตือนภัย และป้องกันตัว
เมื่อโลมาเจออันตราย เช่น ฉลามใกล้เข้ามา มันจะใช้การกระแทกตัว หรือชนเพื่อนสมาชิกในฝูงเพื่อเตือนให้ระวัง และเตรียมพร้อมสำหรับการหลบหนี หรือป้องกันตัว การชนเบาๆ หรือเคลื่อนไหวร่วม กันยังช่วยให้ฝูงเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็ว และเป็นระเบียบ

การสัมผัส ของปลาวาฬ

ปลาวาฬ (whale) หลายชนิด เช่น วาฬเพชฌฆาต และ วาฬหลังค่อม ใช้การสัมผัสเพื่อสื่อสารกับสมาชิกในฝูง และสร้างความผูกพัน โดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์

การชน และถูตัวกัน : เป็นวิธีที่วาฬเพชฌฆาต ใช้เพื่อแสดงความสนใจ ต่อคู่ผสมพันธุ์ หรือแสดงความรักภายในครอบครัว
การผลักเบาๆ ระหว่างแม่ลูก : วาฬแม่มักใช้การสัมผัสเบาๆ กับลูกของมัน เพื่อให้ลูกว่ายน้ำไปในทิศทางที่ถูกต้อง การสัมผัสเหล่านี้ ช่วยให้วาฬสื่อสาร และสร้างความไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน

สรุป สื่อสารด้วยการสัมผัส

สรุป สื่อสารด้วยการสัมผัส เป็นบทบาทสำคัญ ต่อการสร้างปฏิสัมพันธ์ในสังคมสัตว์ เป็นหนึ่งในเครื่องมือ ที่สัตว์ใช้ในการอยู่รอดในการดำรงชีวิต และสร้างความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกันในสัตว์ ทำให้พวกมันสามารถอยู่ร่วมกัน และเผชิญความท้าทายในธรรมชาติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่เราเรียนรู้พฤติกรรมเหล่านี้ ช่วยให้เราเข้าใจวิธีการสื่อสาร ของสัตว์ในธรรมชาติในโลกของเรา ได้ดีมากยิ่งขึ้น

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง