สัตว์ในตำนานไทย อย่างที่คนไทยทุกคนรู้กันดีว่า Thailand จะมีสิ่งมีชีวิตประจำชาติ อย่าง ปลากัด และช้าง แต่ปัจจุบันนี้ประเทศไทย มีสิ่งมีชีวิตประจำชาติเพิ่มมาอีก จึงทำให้ 4 รายชื่อดังต่อไปนี้
ถูกเพิ่มเข้าไปยังหมวดหมู่ “ สัตว์ตามความเชื่อของไทย ” อย่างเป็นทางการ อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ ที่จะช่วยต่อยอดให้เป็น Soft Power กระตุ้นระบบการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจ โดยบทความฉบับนี้ จะพามาทำความรู้จักไปพร้อม ๆ กัน
เริ่มกันด้วย “ สัตว์ตามตำนานความเชื่อ ” หากพูดเชิงความหมายง่าย ๆ แล้ว จะมีความหมายว่า สัตว์ หรือสิ่งมีชีวิต ที่ปรากฏในเทพนิยาย หรือในตำนานที่ถูกแต่งขึ้นมา โดยลักษณะของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ จะมีลักษณะพิเศษที่ไม่ซ้ำกัน แถมยังมีความสามารถ รวมไปถึงอภินิหาร หรือพลังพิเศษต่าง ๆ
แต่ก่อนเชื่อกันว่า สิ่งมีชีวิตตามความเชื่อในตำนาน คือ สัตว์ของเทพเจ้า หรือสัตว์ที่อยู่ในช่วงเยุคโบราณ ที่สูญพันธุ์จากโลกนี้ไปแล้ว และยังมีพลังอำนาจแตกต่างกัน จนมีชาวบ้านบางกลุ่มได้ปั้นรูปปั้นต่าง ๆ ขึ้นมา เพราะต่างมีความเชื่อกันว่า จะช่วยปกป้องหมู่บ้านของพวกเขาได้ เป็นต้น
พญานาค : หรือนาคราช สัตว์ในตำนานไทย มีความหมายว่า “ นาคผู้เป็นใหญ่ ” และ “ นาคผู้เป็นหัวหน้า ” ถ้าตามความเชื่อในศาสนาของอินเดียแล้ว จะมีรูปร่างคล้ายกับพญามังกร
แต่หากเป็นศาสนาพุทธ ตามข้อมูลในพระไตรปิฎกภาษาบาลี มีการกล่าวถึงพญานาคหลายตน ได้แก่ มณิกัณฐะ, มุจลินท์, สุปัสสะ, กาฬะ เป็นต้น ทั้งนี้ พญานาคนับว่ามีความสำคัญ ซึ่งเป็นทั้งเรื่องเล่า เป็นประเพณีท้องถิ่นของไทย อาทิเช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ [1]
ครุฑ : สิ่งมีชีวิตในเทพนิยายของศาสนาพุทธ, ฮินดู และเชน มักปรากฏในวรรณคดีหลาย ๆ เรื่อง อาทิเช่น มหาภารตะ เป็นต้น ตามคติไทยโบราณเชื่อกันว่า ครุฑเป็นเจ้าแห่งนกทั้งหมด ซึ่งเป็นสัตว์ที่รูปร่างใหญ่ มีพละกำลังมหาศาล บินได้รวดเร็ว สติปัญญาก็ฉลาดไม่มีสัตว์ไหนเทียบได้ และยังมีสัมมาคารวะ อีกทั้งยังเป็นพาหนะของพระนารายณ์อีกด้วย [2]
กิเลน : สัตว์ในเทพนิยายของประเทศจีน เชื่อกันว่ากิเลนมีอายุได้ถึง 1,000 ปี อีกทั้งยังถือว่ากิเลนนั้น เป็นยอดแห่งสัตว์ทั้งหลาย แถมยังเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณงามความดี หากปรากฏตัวยังสถานที่ใด บ้านเมืองนั้นจะมีผู้มีบุญคอยปกป้อง นอกจากนี้ กิเลนเป็นหนึ่งในสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งประกอบไปด้วย มังกร, เต่า, หงส์ [3]
ช้างเอราวัณ : กลุ่มช้างที่มีรูปลักษณะพิเศษ ด้วยการเป็นช้างสายพันธุ์เผือก ซึ่งเป็นช้างพาหนะของพระอินทร์ ตามตำนานความเชื่อแล้ว ช้างเอราวัณมีขนาดตัวที่ใหญ่ มีเศียรถึง 33 เศียร ปัจจุบันนิยมทำเป็นรูปปั้น เพื่อนำไปประดับในทางเข้าวัด หน้าวิหาร หรือตามเจดีย์ เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ
หากพูดถึงความศรัทธาของพญานาค สัตว์ในตำนานไทย ก็ได้มีหลายชุดข้อมูล หลายเรื่องเล่าทางพุทธศาสนา ยังไม่มีใครสามารถสรุปได้ว่า ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติจากนาคนั้น มีจริงหรือไม่อย่างไร แต่ศรัทธาทั้งหลายในช่วงวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับ 15 ค่ำ เดือน 11
ทั้ง 2 ฝั่งโขงไทย – ลาว ได้มีผู้คนมาเฝ้ารอดูดวงไฟพุ่งขึ้นจากน้ำ สิ่งนี้ไม่สามารถอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ แต่ทว่า สิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ก็ใช่ว่าจะไม่มีอยู่จริง ด้วยพลังของความศรัทธา ความนับถือ ผู้คนก็ได้ยกย่องให้พญานาค เป็นสิ่งมีชีวิตชั้นสูงในสังคมไทย มาตั้งแต่อดีตกาล จนถึงเวลาปัจจุบันนี้ [4]
สำหรับสิ่งมีชีวิตในเทพนิยาย สัตว์ที่เชื่อกันว่ามีพละกำลัง และมีอภินิหารพลังพิเศษ หากถามผู้คนในยุคปัจจุบันนี้ ว่ามี สัตว์ในตำนานไทย จริงหรือไม่ ก็จะมีการแบ่งกลุ่มออกมาเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกเชื่อว่ามีจริง และกลุ่มที่ 2 เชื่อว่าไม่มีจริง สาเหตุที่เชื่อว่ามีจริงนั้น เพราะมีเรื่องเล่าที่พูดต่อ ๆ กันมา ตั้งแต่ช่วงอดีตกาล
จนมีการทำรูปปั้นขึ้นมา จนในประเทศไทยก็ได้ดันให้เป็น “ สัตว์ประจำชาติไทย ” ที่จะช่วยกระตุ้นจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทย ที่ต้องการมาเรียนรู้ประวัติความเป็นมา ส่วนกลุ่มคนที่ไม่เชื่อ แต่ไม่ได้ลบหลู่นั้น อาจจะคิดกันว่า เพราะไม่ได้เห็นตัวเป็น ๆ เห็นแต่รูปปั้น จึงทำให้คิดว่าไม่มีอยู่จริง
แต่ถ้าเป็นสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล คนทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สัตว์มหัศจรรย์ใต้ทะเล อาทิเช่น ฉลาม, วาฬ, ปลาการ์ตูน, ปลาปักเป้า, แมงกะพรุน เป็นต้น เหล่านี้มีอยู่จริง ซึ่งสามารถพบเจอได้ที่ท้องทะเล หรือตามพิพิธภัณฑ์สวนน้ำต่าง ๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับทัศนคติของแต่ละบุคคล
นอกเหนือจากสิ่งมีชีวิตในเทพนิยายต่าง ๆ แล้ว ในประเทศไทยยังมีความเชื่อโบราณ ที่อยู่คู่กับคนไทยมาเนิ่นนาน เนื่องจากเป็นสิ่งที่คอยเตือนใจ ให้คนหันมาฉุกคิดก่อนที่จะทำอะไร โดยความเชื่อโบราณ มีดังนี้
แมวดำ : หากเป็นคนประเทศอื่น เชื่อกันว่าแมวดำเป็นสิ่งชั่วร้าย แต่ในประเทศไทยกลับให้ความสำคัญ แมวดำกับความเชื่อ เพราะน้องเป็นแมวมงคล หากใครเลี้ยงภายในบ้าน น้องจะดลบันดาลมาแต่เรื่องเงิน และเรื่องโชคดีเข้ามาให้กับเจ้าของ
จิ้งจกร้องทัก : หากร้องทักในตอนที่กำลังจะออกบ้าน คนโบราณเชื่อว่าห้ามออกจากบ้าน แต่หลักความเป็นจริงแล้ว จิ้งจกมันชอบอยู่ทุกส่วนของบ้าน และคนก็อย่าประมาท เวลาจะเดินทางไปไหน
ตัวเงินตัวทองเข้าบ้าน : หากตัวเงินตัวทองเข้าบ้าน คนโบราณแนะนำให้พูดแต่สิ่งดี ๆ ห้ามไล่ด้วยถ้อยคำหยาบคาย หรือใช้กำลังรุนแรง แต่หลักความเป็นจริงแล้ว เราสมควรจะไล่ออกจากบ้าน เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์เล็ก หรือเด็ก ๆ ได้ เป็นต้น
ด้วยความเชื่อ ความศรัทธา ความนับถือของกลุ่มคนในไทย นับว่าเป็นพลังขับเคลื่อน ให้สัตว์ในเทพนิยายขึ้นเป็น “ สัตว์ประจำชาติ ” และ “ สัญลักษณ์ของไทย ” เพื่อต้องการกระตุ้นจำนวนนักท่องเที่ยว และต่อยอดให้เป็น Soft Power ของไทย ทั้งนี้ เรื่องเล่าต่าง ๆ ที่เป็นตำนาน ขึ้นอยู่กับความเชื่อ บวกความคิดของแต่ละบุคคล