สัตว์อันตรายในทะเล สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในน้ำเป็นส่วนใหญ่ โดยจะเป็นสัตว์น้ำที่มนุษย์ไม่ควรเข้าใกล้ หากได้ไปเที่ยวชมทะเล หรือลงเล่นน้ำทะเล ซึ่งบล็อกนี้พามาทำความรู้จัก และต้องการให้เฝ้าระวัง 4 รายชื่อ สัตว์มีพิษอันตราย เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักป้องกัน และการรักษาตัวเอง เมื่อเผลอได้รับสารพิษเข้าร่างกาย
ว่ากันด้วยสิ่งมีชีวิตอันตรายอย่าง “ สัตว์น้ำ ” หรือ “ สัตว์ทะเล ” เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำซะเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลาย แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ที่บรรดา สัตว์โลกมีพิษ ต่าง ๆ อาศัยอยู่
โดยสัตว์น้ำแตกต่างจากสัตว์บก และสัตว์กึ่งน้ำ ทั้งนี้ สัตว์น้ำทั้งหลายจะมีทั้งประเภทที่ไม่มีพิษ และประเภทที่มีพิษ ไปจนถึงมีพิษร้ายแรงที่สุด เมื่อไหร่ที่ได้ไปเที่ยวชมทะเล หรือแหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ แนะว่าให้เฝ้าระวังสิ่งมีชีวิตอันตราย ตามรายชื่อที่บล็อกนี้นำเสนอ [1]
ช่วงเวลาที่ได้ดำน้ำลงท้องทะเลลึก ทุกคนมีโอกาสที่จะได้รับอันตรายจากสัตว์ในทะเลได้ โดยสัตว์อันตรายสามารถแบ่งออกมาได้ 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
งูทะเล : สัตว์เลื้อยคลานจำพวกงู มีการดำรงชีวิตอยู่ในทะเลตลอดชีวิต ไม่เคยขึ้นมาโผล่บนบก หรือพื้นดินทรายเลย เว้นแต่ช่วงที่มีการผสมพันธุ์กัน โดยงูทะเลทั่วโลกมีประมาณ 50 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นงูมีพิษร้ายแรง ซึ่งพิษของงูทะเลสามารถทำลายระบบกล้ามเนื้อ เมื่อถูกกัดผ่านไปครึ่งชั่วโมง – 1 ชั่วโมง ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากงูทะเลอยู่บ่อย ๆ [2]
ปลาสิงโต : ปลาน้ำเค็มทะเลสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาแมงป่อง ซึ่งปลาสิงโตมีต่อมพิษที่ก้านครีบทุกก้าน รวมถึงมีถุงพิษเล็ก ๆ เต็มรอบตัว เมื่อไหร่ที่คนโดนปลาสิงโตแทง คนนั้นจะเริ่มรู้สึกปวดแสบปวดร้อน หากคนไหนได้รับพิษในปริมาณมาก ผู้ป่วยถึงขั้นเป็นอัมพาตชั่วคราว จนเกิดเป็นแผลพุพองได้ [3]
ถึงแม้ว่าสัตว์น้ำบางชนิดจะอยู่ในประเภทของ สัตว์อันตรายในทะเล แต่กลับมีบทบาทสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ในฐานะที่เป็นตัวบ่งชี้ชนิดพันธุ์ คุณภาพน้ำ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยสัตว์น้ำเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อความยั่งยืนของระบบนิเวศทางน้ำ เนื่องจากมันสะท้อนถึงระบบห่วงโซ่อาหาร อีกทั้งบรรดาสัตว์น้ำอันตราย รวมถึงกลุ่มก้อนของสัตว์นักล่าอย่าง สัตว์อันตรายในป่า เอง
ก็มีความสำคัญต่อมนุษย์ด้วยเช่นกัน เพราะถือว่าเป็นแหล่งอาหาร และแหล่งวัตถุดิบสำหรับอาหารสัตว์ เป็นแหล่งผลิตภัณฑ์ยา รวมถึงสารเคมีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งผลผลิตจากสัตว์น้ำอย่าง ปลานิยมบริโภค อาทิเช่น ปลาทู ในปี 2016 มีทั้งหมด 171 ล้านตัน นับว่าสัตว์น้ำทุกชนิดมีความสำคัญ ไม่ว่าจะด้านสภาพแวดล้อม หรือกับมนุษย์โดยตรง
แมงกะพรุน : หรือกะพรุน สัตว์น้ำลักษณะลำตัวใส มีเข็มพิษบริเวณหนวดอยู่ด้านล่าง ซึ่งแมงกะพรุนหลายชนิดส่วนใหญ่มีพิษ แต่พิษมักจะใช้สำหรับสังหารเหยื่ออย่างปลา และมีเพื่อป้องกันตัวมันเอง โดยปริมาณของสารพิษมีจำนวนถึง 80,000 เซลล์ ซึ่งอาจทำให้คนที่โดนมีอาการคัน ผื่นบวมแดง จนกลายเป็นรอยไหม้ที่ปวดแสบปวดร้อน จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ [4]
เม่นทะเล : หรือหอยเม่น สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามพื้นทะเล ตามทุกมหาสมุทรไปตั้งแต่ชายฝั่ง จนถึงระดับความลึกของน้ำทะเล 5,000 เมตร โดยหอยเม่นเองเป็นอาหารของ มนุษย์, นากทะเล, ดาวทะเล, ปลาไหล, หมาป่า, ปลาวัว เป็นต้น ทั้งนี้ หอยเม่นมีหลายชนิดทั้งมีพิษ และไม่มีพิษ ส่วนใหญ่พิษจะเป็นหนามสั้น ๆ อยู่ใกล้บริเวณผิวลำตัว [5]
สำหรับการป้องกันตัวเอง และการรักษาตัวเอง เมื่อได้รับอันตรายจาก สัตว์อันตรายในทะเล มีขั้นตอนง่าย ๆ มีรายละเอียดดังนี้
นอกจากสัตว์อันตรายในป่าใหญ่ โลกกลม ๆ ใบนี้ยังมีสัตว์อันตรายอาศัยในท้องทะเล ที่มนุษย์ควรเฝ้าระมัดระวังตัวเอง เนื่องจากเป็นสัตว์มีพิษอ่อน ไปจนถึงพิษระดับรุนแรงใกล้ตัว แนะว่าหากคุณจะต้องเดินทางไปเที่ยวชมทะเล บล็อกนี้อาจช่วยได้ เมื่อคุณได้รับอันตรายจากสัตว์น้ำเหล่านี้