สัตว์สูญพันธุ์ไปแล้ว เสียงสะท้อนจากอดีตของธรรมชาติ

สัตว์สูญพันธุ์ไปแล้ว

สัตว์สูญพันธุ์ไปแล้ว ในโลกของเรานั้น เกิดจากหลายสาเหตุมากมาย อย่างการสูญพันธุ์ที่เกิดขึ้น จากสาเหตุทางธรรมชาติ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือแม้แต่การพัฒนาของสิ่งมีชีวิตใหม่ แต่ในปัจจุบัน การสูญพันธุ์ของสัตว์จำนวนมาก เกิดจากผลกระทบที่มนุษย์มีต่อธรรมชาติ

ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จัก กับสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยเน้นถึงความหวังในการฟื้นฟู ให้กลับสู่ธรรมชาติ และสาเหตุที่ทำให้พวกมัน ต้องหายไปจากโลก

สัตว์สูญพันธุ์ไปแล้ว ที่ยังมีหวังในการฟื้นฟู

สัตว์สูญพันธุ์ไปแล้ว เริ่มมีความหวังที่จะฟื้นฟูสัตว์สูญพันธุ์ ให้กลับมาสู่ธรรมชาติอีกครั้ง
เพราะในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีด้านพันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จนทำให้ความคิดในด้านการฟื้นฟู ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ความพยายามในการนำสัตว์เหล่านี้ กลับมาสู่โลกเรียกว่า “การฟื้นฟูพันธุ์สัตว์สูญพันธุ์” (de-extinction) [1]

โดยนักวิทยาศาสตร์ ใช้วิธีการทางพันธุศาสตร์ และวิศวกรรมชีวภาพ ในการคืนชีวิตให้กับสิ่งมีชีวิตที่เคยสูญพันธุ์ไปแล้ว แม้ว่าจะยังไม่มีการฟื้นฟู ที่ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ แต่มีสัตว์บางชนิด ที่นักวิทยาศาสตร์เห็นว่า อาจสามารถนำกลับมาได้ในอนาคต

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่สูญพันธุ์

แมมมอธ (Mammoth)
แมมมอธเป็นสัตว์ตระกูลช้าง ที่เคยอาศัยอยู่บนโลกในยุคน้ำแข็ง แมมมอธมีขนาดที่ใหญ่และปกคลุมไปด้วยขนหนา เพื่อป้องกันความหนาวเย็น แม้จะสามารถอยู่รอดได้ ในสภาพอากาศหนาวจัด ของยุคน้ำแข็ง แต่เมื่อภูมิอากาศของโลกเริ่มอุ่นขึ้น หลังจากยุคน้ำแข็งสิ้นสุดลง การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้แมมมอธ สูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหาร และสูญพันธุ์ไปในที่สุด เมื่อ 4,000 ปีก่อน

ในปัจจุบัน มีโครงการวิจัยที่น่าสนใจอย่างมาก คือการฟื้นคืนชีพช้างแมมมอธ นักวิทยาศาสตร์ ใช้เทคโนโลยีทางพันธุกรรม ที่เรียกว่า “การโคลนนิ่ง” เพื่อพยายามสร้างช้างแมมมอธขึ้นมาใหม่ จากดีเอ็นเอที่พบในซากฟอสซิล หรือซากแช่แข็งของพวกมัน ในพื้นที่ไซบีเรีย แม้ว่าการคืนชีพของแมมมอธ ยังอยู่ในขั้นทดลอง แต่ก็ถือว่าเป็นการพัฒนาที่น่าจับตามอง และอาจเปลี่ยนแปลง วงการวิทยาศาสตร์ในอนาคต [2]

ไทลาซีน (Thylacine)
ไทลาซีน หรือที่รู้จักในชื่อ เสือแทสเมเนีย มีลักษณะคล้ายสุนัข แต่มีแถบสีดำตามลำตัว อยู่ในวงศ์มาร์ซูเปียล (marsupial) หรือสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องที่คล้ายกับจิงโจ้ มันถูกล่าอย่างหนักจากมนุษย์ เพราะถูกมองว่าเป็นภัยต่อปศุสัตว์ ไทลาซีนสูญพันธุ์ไปจากแผ่นดินใหญ่ ของออสเตรเลีย เมื่อหลายพันปีก่อน แต่ยังคงมีชีวิตอยู่บนเกาะแทสเมเนีย จนกระทั่งศตวรรษที่ 20 โดยไทลาซีนตัวสุดท้าย ตายที่สวนสัตว์ในโฮบาร์ต แทสเมเนีย เมื่อปี ค.ศ. 1936

แม้ว่าไทลาซีน จะถูกประกาศว่าสูญพันธุ์ ไปแล้วแต่การค้นหา และรายงานการพบเห็นไทลาซีน ยังคงมีอยู่เป็นระยะ นอกจากการค้นหาในธรรมชาติแล้ว นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่ม ยังให้ความสนใจกับการคืนชีพไทลาซีน ผ่านเทคโนโลยีการโคลนนิ่ง DNA ซึ่งเป็นกระบวนการ ที่พยายามนำสัตว์ที่สูญพันธุ์ กลับมาใช้ชีวิตอีกครั้ง โดยในปัจจุบันมีการค้นคว้า และวิจัยเกี่ยวกับ DNA ของไทลาซีน ที่ถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ [3]

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่สูญพันธุ์เพิ่มเติม

สัตว์สูญพันธุ์ไปแล้ว

เสือแคสเปียน (Panthera tigris virgata)
เคยเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ย่อย ของเสือโคร่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ เสือโคร่งไซบีเรีย ได้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเชื่อกันว่าตัวสุดท้าย ได้หายไปในช่วงทศวรรษ 1970 หนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้สูญพันธุ์ คือการล่าเสืออย่างไม่หยุดยั้ง มนุษย์ล่าเสือเพื่อเอาขน และอวัยวะภายใน ไปใช้ในการทำยาแผนโบราณ โดยเฉพาะในประเทศจีน และแถบเอเชียกลาง

ปัจจุบันนักวิจัยบางท่าน ได้เสนอแนวคิดว่าเสือโคร่งไซบีเรีย อาจถูกนำมาเพาะพันธุ์ และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ในพื้นที่ที่เสือโคร่งแคสเปียน เคยอาศัยอยู่ แนวคิดนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และระบบนิเวศน์ในพื้นที่เหล่านั้น ให้กลับมาอยู่ในสภาพแบบเดิม

สัตว์สูญพันธุ์ไปแล้ว หลายร้อยปี

สัตว์สูญพันธุ์ไปแล้ว หลายร้อยปีอย่างไม่มีหวนกลับ ทำให้เรารู้ว่าโลกของเราได้สูญเสียสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดไปอย่างถาวร สัตว์ที่เคยเดินท่องอยู่ในป่า บินบนท้องฟ้า หรือว่ายน้ำในมหาสมุทร ก็จะรับรู้แค่ในประวัติศาสตร์ บางชนิดได้หายไปจากโลกนี้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ แต่ส่วนใหญ่แล้ว สาเหตุของการสูญพันธุ์เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เราเองทั้งนั้น

นกที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

นกโดโด (Dodo)
เป็นนกที่ไม่สามารถบินได้ และมีขนาดตัวใหญ่ เคยอาศัยอยู่บนเกาะมอริเชียส ในมหาสมุทรอินเดีย โดโดมีชีวิตอยู่อย่างสงบสุขบนเกาะ โดยไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ จนกระทั่งมนุษย์เข้ามาถึงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 มนุษย์ล่าโดโดเพื่อใช้เป็นอาหาร และสัตว์ที่มนุษย์นำเข้ามายังเกาะ เช่น สุนัขและหนู ก็กินไข่และทำลายรังของโดโด ส่งผลให้จำนวนประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว

ในที่สุดโดโดก็สูญพันธุ์ไป ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องจากการล่าจากมนุษย์ และการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย โดโดเป็นตัวอย่างสำคัญ ของการสูญพันธุ์ ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์

อินทรีฮาสท์ (Haast’s Eagle)
เป็นนกล่าเหยื่อ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่อาศัยอยู่ในนิวซีแลนด์ มันสามารถล่าเหยื่อขนาดใหญ่อย่าง นกโมอา ซึ่งเป็นนกบินไม่ได้ที่มีน้ำหนักถึง 230 กิโลกรัมได้ง่าย ๆ แต่ปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปประมาณ ช่วงปี ค.ศ. 1400-1500 ซึ่งเกิดขึ้นไม่นาน หลังจากที่มนุษย์ชนเผ่าเมารี เข้ามาตั้งถิ่นฐานในนิวซีแลนด์ สาเหตุหลักของการสูญพันธุ์ เกี่ยวข้องกับการที่มนุษย์ล่านกโมอา ซึ่งเป็นเหยื่อหลักของอินทรีฮาสท์

เมื่อโมอาถูกล่าจนสูญพันธุ์ อินทรีฮาสท์จึงขาดแหล่งอาหารที่สำคัญ ประกอบกับการที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมัน โดยการทำลายป่าทำให้พื้นที่ล่าเหยื่อ ของอินทรีฮาสท์ลดลง ส่งผลให้มันไม่สามารถปรับตัว และอยู่รอดได้

สัตว์เลื้อยคลานที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

สัตว์สูญพันธุ์ไปแล้ว

ไดโนเสาร์ (Dinosaurs)
ไดโนเสาร์ เป็นกลุ่มสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ที่ครองโลกเมื่อประมาณ 230 ล้านปีก่อนในยุคมีโซโซอิก พวกมันเจริญรุ่งเรืองเป็นเวลาหลายล้านปี ก่อนที่จะสูญพันธุ์ไปเมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง อุกกาบาตทำให้เกิดการปิดกั้นแสงอาทิตย์ ฝุ่นละอองและซัลเฟอร์ในชั้นบรรยากาศ ทำให้พืชไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ และระบบนิเวศทั้งหมดล่มสลาย

สรุป สัตว์สูญพันธุ์ไปแล้ว extinct animals

สรุป สัตว์สูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ละชนิดเป็นกระบวนการธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นมานานหลายล้านปี แต่ในปัจจุบัน การสูญพันธุ์ของสัตว์หลายชนิด เป็นผลจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การล่า การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย และการเปลี่ยนแปลง ของสภาพภูมิอากาศ สิ่งมีชีวิตในอดีตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ไม่เพียงแต่เป็นส่วนหนึ่ง ของประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติ แต่ยังเป็นการเตือน ให้เราตระหนักถึงความสำคัญ ของการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง