สัตว์กีบคู่ สัตว์ป่ากลุ่มมีแกนสันหลัง อย่าง กวาง, แกะ, ยีราฟ, วัว, อูฐ, รูเมน บลา ๆ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเคี้ยวเอื้องที่มีกีบเท้า เดินด้วยปลายเท้า และมีเปลือกหุ้มที่แข็ง สามารถยืดหยุ่นได้ แต่ทว่า ยังมีสัตว์บางชนิดที่ไม่มีกีบ อาทิเช่น วาฬ โลมา กลุ่ม สัตว์น้ำ ที่เคลื่อนตัวโดยครีบ ด้วยวิวัฒนาการที่พัฒนามากขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงต้องจำแนก แบ่งออกมาเป็นสัตว์กีบเท้าคู่ และสัตว์กีบเท้าคี่
สัตว์มีกีบเท้าไม่ว่าจะคู่ หรือคี่ ต่างเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อีกทั้งส่วนมากสัตว์เหล่านี้มักอาศัยอยู่บนบก ใช้ปลายกีบเท้าในการพยุงน้ำหนักตัว ขณะที่กำลังเคลื่อนไหว หรือกำลังยืนอยู่ ทั้งนี้ สัตว์กีบเท้าคู่มีความหลากหลายสูง
แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือ พวกมันเป็น สัตว์กินพืช บางตัวก็อาจกินหญ้า แต่ยกเว้น หมู หมาป่า ฮิปโป ที่พวกมันจะกินทั้งพืช และกินสัตว์ อย่างไรก็ตาม สัตว์กีบเท้าคู่ได้ตั้งรกราก ในทุกมุมส่วนของโลก ตั้งแต่ภูเขาไปจนถึงใต้ท้องทะเล ทุ่งหญ้า ไปจนถึงทะเลทรายอันร้อนระอุ เป็นต้น [1]
สำหรับลักษณะเฉพาะของสัตว์กีบเท้าคู่ ได้มีการพัฒนาทักษะในการปรับตัว ในรูปแบบเฉพาะเจาะจง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนประกอบของกะโหลกศีรษะ ฟัน และสัณฐานของขา รวมถึงการปรับเปลี่ยนกระดูกข้อเท้า สัตว์กีบคู่ ให้มีหัวที่สั้นลง แต่ยังคงความแข็งแรงไว้อยู่ ทั้งนี้ สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเฉพาะ ด้วยการมีกีบเท้าที่ช่วยพยุงน้ำหนักตัว ถูกแบ่งออกมาเป็น 10 วงศ์ ราว ๆ 270 ชนิด ยกตัวอย่างเช่น
อย่างไรก็ตาม สัตว์กีบเท้าคู่มักมีความแตกต่างกัน ทางด้านของรูปร่างเป็นอย่างมาก โดยสัตว์ที่ถือว่าใหญ่ที่สุด และถือเป็น สัตว์บก ที่สูงที่สุด คือ “ ยีราฟ ” ซึ่งพวกมันมีความสูงกว่า 5 เมตร ส่วนสัตว์กีบเท้าคู่ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ “ กระจง ” เพราะมีความสูงเพียง 1 ฟุตเท่านั้น [2]
ยีราฟ : สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์เคี้ยวเอื้องที่สูงที่สุด มีต้นกำเนิดในทวีปแอฟริกา สัตว์ตัวสูงมีหัวใจขนาดใหญ่ เพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมอง ซึ่งสามารถสูบฉีดได้มากกว่ามนุษย์ 3 เท่า แต่ถึงแม้ สัตว์ป่าแอฟริกา ชนิดนี้จะตัวสูงใหญ่แค่ไหน แต่ยีราฟยังถูกคุกคามจากบรรดา สัตว์กินเนื้อ ได้ ทั้งนี้ สัตว์กีบเท้าคู่ชนิดนี้ ต่างมีสายพันธุ์ให้เห็นทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น ยีราฟใต้ ยีราฟมาไซ เป็นต้น [3]
แกะ : สัตว์กีบเท้าคู่กลุ่มเคี้ยวเอื้อง ส่วนใหญ่มนุษย์เลี้ยงเพื่อใช้งานเกษตรกรรม รวมถึงนำขน หนัง นม เนื้อ ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิเช่น เสื้อขนแกะ นมแกะ บลา ๆ ทั้งนี้ แกะถูกแบ่งออกมา 2 ประเภท ตามลักษณะรูปร่างกะโหลก ได้แก่ แกะภูเขา และแกะบ้าน [4]
ข้อเปรียบเทียบที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ระหว่าง สัตว์กีบคู่ VS สัตว์เท้ากีบคี่ ได้แก่ “ จำนวนกีบเท้า ” โดยทั่วไปแล้ว สัตว์ที่มีกีบเท้าเดียว หรือสามกีบจะเรียกว่า สัตว์กีบคี่ อย่างพวกม้าลาย สมเสร็จ แรด บลา ๆ ส่วนสัตว์กีบเท้าคู่เป็นสัตว์ที่มีกีบเท้า 1 คู่ 2 นิ้ว ทั้งนี้ สัตว์กีบเท้าคู่อาจได้เปรียบทางจำนวน ประชากรที่หนาแน่นกว่าสัตว์ป่าต่าง ๆ ที่มีกีบเท้าคี่ เพราะปัจจุบันสัตว์กีบเท้าคี่เหลืออยู่บนโลกเพียง 17 สายพันธุ์เท่านั้น
โอคาพี : สัตว์กีบเท้าคู่อยู่ในวงศ์เดียวกับยีราฟ เป็นสัตว์พื้นเมืองของเขตป่าฝนอีตูรี ถือว่าเป็นสัตว์ 1 ใน 2 ชนิดของวงศ์ยีราฟ ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ จำนวนประชากรโอคาพีในป่า มีประมาณ 10,000 – 20,000 ตัว [5]
หมู : สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีบรรพบุรุษ คือ “ หมูป่า ” พวกมันถือเป็นสัตว์เลี้ยง ที่มนุษย์เลี้ยงในแบบปศุสัตว์ สามารถพบเห็นได้ทุกพื้นที่รอบโลก อีกทั้งมนุษย์ยังมีการใช้ประโยชน์ ในด้านการนำหมูมาบริโภคเป็นอาหารอีกด้วย
สัตว์เท้ากีบคู่มีอะไรบ้าง : สัตว์ป่าส่วนใหญ่ที่เป็นสัตว์เท้ากีบคู่ ได้แก่ ชะมด, อูฐ, กวาง, ยีราฟ, หมู, หมูป่า, ฮิปโปโปเตมัส, แกะ, แพะ บลา ๆ
สัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกีบคู่ : สัตว์ที่เป็นทั้งกลุ่มเคี้ยวเอื้อง และกลุ่ม สัตว์กีบคู่ ได้แก่ “ แกะ ”
หมูเป็นสัตว์เท้ากีบคู่หรือไม่ : หมูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และเป็นสัตว์เท้ากีบคู่
กวางมีกี่กีบ : กวางเป็นสัตว์มีกีบใหญ่ 2 กีบ กีบเล็ก 2 กีบ เป็นต้น
กลุ่มสัตว์ป่า รวมถึงสัตว์ที่มนุษย์เลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์ อย่าง หมู, แกะ, แพะ, ยีราฟ, โอคาพี บลา ๆ ต่างเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่ พวกมันล้วนเป็นสัตว์ที่มีเท้ากีบคู่ เปลือกหุ้มที่แข็งแรง จัดอยู่ในประเภทสัตว์กินพืช ที่จะมักจะถูกสัตว์กินเนื้อล่าอยู่บ่อย ๆ