มดแดงไฟ พิษร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

มดแดงไฟ

มดแดงไฟ (Red Imported Fire Ant, ชื่อวิทยาศาสตร์ Solenopsis invicta) เป็นมดตัวจิ๋วที่หลายคนอาจเคยเจอ หรือโดนกัดมาก่อน และถึงแม้ว่ามันจะมีขนาดเล็กมาก ด้วยขนาดตัวแค่ประมาณ 2-6 มิลลิเมตร แต่พฤติกรรมและพิษของมัน ก็ถือว่าน่ากลัวพอตัวเลยทีเดียว มดแดงไฟมักจะทำรังใต้ดิน หรือในที่ร่ม ๆ และเมื่อมีใครไปรบกวนมัน ก็พร้อมจะพุ่งเข้าโจมตีทันที มาดูกันว่าเจ้ามดแดงไฟนี้ มีอะไรน่าสนใจและควรรู้บ้าง

พิษของ มดแดงไฟ

มดแดงไฟ แม้ว่าจะมีขนาดเล็ก แต่พิษของมันเป็นสิ่งที่ต้องระวังอย่างมาก พิษจากการกัด และต่อยของมดแดงไฟ สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวด และอักเสบได้ทันที และในบางกรณี ยังทำให้เกิดอาการแพ้ที่รุนแรงขึ้น ในบางคนได้ พิษของมดแดงไฟนั้น ไม่เพียงส่งผลต่อมนุษย์เท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสัตว์เลี้ยง และสัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ ด้วย

ลักษณะของพิษ
พิษของมดแดงไฟมีองค์ประกอบ เป็นสารเคมีที่เรียกว่า Alkaloid venom ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ทางเคมีแรงสูง ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทของเหยื่อ พิษนี้ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน คล้ายกับการถูกไฟไหม้ เมื่อโดนต่อย ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “มดแดงไฟ” นั่นเอง [1]

นอกจากนี้ พิษของมดแดงไฟยังมีเอนไซม์ และโปรตีน ที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ในร่างกายของมนุษย์ ให้ตอบสนองเป็นอาการแพ้ได้ ซึ่งอาจมีทั้งอาการแพ้แบบเล็กน้อย จนถึงรุนแรง

อาการเมื่อถูกมดแดงไฟต่อย

  • อาการแสบและเจ็บปวดทันที : เมื่อมดแดงไฟต่อย ผู้ที่ถูกต่อยจะรู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรงทันที โดยมีอาการคล้ายถูกไฟไหม้ หรือไฟลวกบริเวณที่ถูกต่อย
  • อาการบวมแดง : หลังจากนั้นไม่นาน บริเวณที่ถูกต่อยจะเริ่มมีอาการบวมแดงและอักเสบ อาการนี้ สามารถขยายตัว และเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง
  • ตุ่มน้ำใส : จุดที่ถูกต่อย อาจเกิดเป็นตุ่มน้ำใสขนาดเล็ก ซึ่งอาจมีลักษณะคล้ายกับตุ่มน้ำ จากการถูกไฟลวก และตุ่มเหล่านี้สามารถแตก และทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ถ้าไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม

สัตว์เลี้ยงเช่นสุนัขและแมว ก็สามารถโดนมดแดงไฟต่อยได้เช่นกัน หากสัตว์เลี้ยงไปเล่น หรือเหยียบใกล้รังมดแดงไฟ อาจถูกมดจำนวนมากต่อยพร้อมกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้คล้ายกับมนุษย์ รวมถึงอาการบวมแดงที่ผิวหนัง ตุ่มน้ำ และการอักเสบ หากสัตว์เลี้ยงแสดงอาการแพ้ หลังจากถูกมดแดงไฟต่อย ควรพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

วิธีการรักษาเมื่อถูกมดแดงไฟต่อย

วิธีการรักษาเบื้องต้นหากถูกมดแดงไฟต่อย

  • ทำความสะอาดแผล : ล้างบริเวณที่ถูกต่อยด้วยน้ำสะอาดและสบู่ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ใช้ยาทาภายนอก : ยาแก้คันหรือยาลดการอักเสบ ที่ใช้ทาภายนอก เช่น ยา Hydrocortisone สามารถช่วยบรรเทาอาการ บวมแดงและคันได้
  • หลีกเลี่ยงการเกา : ควรหลีกเลี่ยงการเกา บริเวณที่ถูกต่อย เพราะอาจทำให้แผลติด เชื้อและอาการบวมแดงขยายตัวมากขึ้น
  • ใช้ยาแก้แพ้ : สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้เล็กน้อย สามารถใช้ยาแก้แพ้ประเภท Antihistamine เพื่อลดอาการคันและบวมได้
  • พบแพทย์ทันที : หากมีอาการแพ้รุนแรง ควรรีบพบแพทย์โดยทันที

 พฤติกรรมของ มดแดงไฟ

มดแดงไฟ

มดแดงไฟ เป็นมดที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว และมีการจัดการสังคม อย่างเป็นระบบภายในรังของพวกมัน ทั้งในด้านการหาอาหาร การป้องกันรัง และการสืบพันธุ์ ซึ่งล้วนแสดงถึงความสามารถ ในการปรับตัวของมัน ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ มดแดงไฟเป็นนักล่าที่มีประสิทธิภาพ พวกมันหาอาหาร โดยออกจากรัง และสร้างเส้นทางออกหาเหยื่อ เป็นแนวตามกลิ่น มันกิน แมลงเล็ก ๆ ซากสัตว์ และบางครั้งยังล่าพืช หรือเมล็ดพันธุ์เล็ก ๆ อีกด้วย

การทำงานเป็นทีมของมดแดงไฟ ทำให้มันสามารถล่าเหยื่อ ที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวเองได้อย่างง่ายดาย เมื่อหาอาหาร มดจะส่งสัญญาณเคมีผ่านฟีโรโมน เพื่อบอกตำแหน่งอาหารให้กับมดตัวอื่น ๆ ในรัง

 ลักษณะของมดแดงไฟ

มดแดงไฟเป็นมดที่มีลักษณะเด่นชัดเจน ด้วยสี เหลืองแดง บนตัวและมีขนที่หัวและลำตัวเล็กน้อย หนวดของมันมีทั้งหมด 10 ปล้อง และมีลักษณะของอกที่แคบ จนสามารถสังเกตได้ชัดเจน จุดสำคัญที่ทำให้มดแดงไฟแตกต่าง จากมดชนิดอื่น คือ มีปุ่มที่ลำตัว 2 ปุ่ม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพวกมัน และท้องของมันมีลักษณะเป็นรูปไข่ พร้อมลายขวางสีน้ำตาล

มดแดงไฟมีเหล็กใน เหมือนกับแมลงอย่าง ผึ้งหลวง ต่อหัวเสือ หรือ แตนยักษ์เอเชีย ที่ใช้ในการป้องกันตัวและโจมตีศัตรู เมื่อมันต่อย ผู้ที่ถูกต่อยจะรู้สึกเจ็บแสบคล้ายกับถูกไฟลวก หลังจากถูกต่อย อาการบวมแดงจะขยายตัว และจุดที่ถูกต่อยจะมีตุ่มน้ำใสคล้ายถูกไฟลวก นอกจากนี้ ยังมีอาการคันรุนแรง ซึ่งถ้าเกาผิวหนังตรงบริเวณนั้น จะทำให้บวมแดงและขยายวงกว้างขึ้นได้ [2]

ถิ่นที่อยู่อาศัยของมดแดงไฟ

เป็นมดขนาดเล็ก ที่มักพบเจอได้ในหลายพื้นที่ ทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น แต่เดิมทีมดแดงไฟมีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกาใต้ ก่อนจะแพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในอเมริกาเหนือ เอเชีย หรือยุโรป มันสามารถอยู่ในที่อยู่อาศัยหลากหลาย ทั้งในพื้นที่เกษตรกรรม เมือง หรือแม้แต่ในสวนสาธารณะ

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

  • อาณาจักร : Animalia
  • ไฟลัม : Arthropoda
  • ชั้น : Insecta
  • อันดับ : Hymenoptera
  • อันดับย่อย : Apocrita
  • วงศ์ใหญ่ : Vespoidea
  • วงศ์ : Formicidae
  • สกุล : Solenopsis
  • สปีชีส์ : S. invicta

ชื่อทวินาม

  • Solenopsis invicta

ที่มา: “มดคันไฟอิวิคต้า” [3]

สรุป มดแดงไฟRed Imported Fire Ant

สรุป มดแดงไฟ อาจจะเป็นแค่มดตัวเล็ก ๆ แต่พลังของมันไม่เล็กอย่างตัวเลย ทั้งในแง่ของการกัด การปล่อยพิษ และการโจมตีที่เจ็บปวด ทำให้มดชนิดนี้เป็นที่น่ากลัว และควรระมัดระวังหากพบเจอเข้า แต่ถ้าหากเรารู้วิธี การป้องกันที่เหมาะสม และการจัดการอย่างถูกวิธี เราก็สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้ โดยไม่ต้องกังวลมากนัก

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง