ปูเสฉวน นักเดินทางในเปลือกหอย

ปูเสฉวน

ปูเสฉวน หลายคนไปทะเล น่าจะเคยเห็นปู ที่อยู่ในเปลือกหอย เดินป้วนเปี้ยนตามชายหาด ถ้าเคยเห็นนั่นแหละ ที่เรียกว่า “ปูเสฉวน” ที่ต้องอยู่ในเปลือกหอย ก็เพราะว่าพวกมัน ไม่สามารถสร้างกระดอง ของตัวเองขึ้นมาได้ เหมือนปูทั่วไป ปูเสฉวนจึงต้องหาที่พักพิง จากเปลือกหอยที่ว่างเปล่า เพื่อป้องกันลำตัวที่นุ่ม และเปราะบางของพวกมัน เป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่ง ที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก

ปูเสฉวน เป็นเทศบาลประจำหาด

ปูเสฉวนมีบทบาทสำคัญ ในการรักษาความสะอาด ของหาดทราย และระบบนิเวศทางทะเล พวกมันทำหน้าที่เป็น “ผู้เก็บกวาดธรรมชาติ” โดยการกินซากสิ่งมีชีวิต ที่ตายแล้ว รวมถึงเศษอาหาร และพืชที่ตกค้างอยู่บนหาดทราย การกระทำเช่นนี้ ช่วยลดการสะสม ของของเสียบนชายหาด และทำให้สภาพแวดล้อมชายฝั่ง มีความสะอาดมากขึ้น

นอกจากนี้ ปูเสฉวนยังช่วยหมุนเวียนสารอาหาร ในระบบนิเวศ ทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่ ในธรรมชาติถูกนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในระบบนิเวศ ของชายฝั่งทะเลอีกด้วย

ลักษณะทั่วไปของปูเสฉวน

ปูเสฉวนเป็นสัตว์ทะเล ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ที่แตกต่างจากปูทั่วไป ปูเสฉวนมีลำตัวแบ่งออกเป็น สองส่วนหลักคือ ส่วนหน้าที่แข็งแรง และห่อหุ้มด้วยเกราะ ที่มีความแข็ง และส่วนหลังที่มีลักษณะ ที่อ่อนนุ่มกว่ามาก ทำให้ส่วนหลัง มีความเปราะบาง และต้องการการปกป้องเป็นอย่างมาก กามของปูจะมีหนึ่งข้าง ที่ใหญ่กว่าปกติ เอาไว้สำหรับเป็นอาวุธ และเอาไว้สำหรับปิดฝาหอย

มีขนาดตัวที่เล็ก มีความยาวประมาณ 1-6 เซนติเมตร มีขาทั้งหมด 10 ขา แต่เราจะสามารถ เห็นได้แค่ 2 คู่หน้าเท่านั้น เพราะที่เหลือจะอยู่ในเปลือกหอย เพื่อยึดเปลือกหอยเอาไว้ ลำตัวที่นุ่ม และเปราะบาง ทำให้มันต้องอาศัยเปลือกหอย เพื่อปกป้องตัวเองจากศัตรู

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

  • อาณาจักร : Animalia
  • ไฟลัม : Arthropoda
  • ไฟลัมย่อย : Crustacea
  • ชั้น : Malacostraca
  • อันดับ : Decapoda
  • อันดับย่อย : Pleocyemata
  • อันดับฐาน : Anomura
  • วงศ์ใหญ่ : Paguroidea Latreille

วงศ์

  • Coenobitidae
  • Diogenidae
  • Lithodidae
  • Paguridae
  • Parapaguridae
  • Parapylochelidae
  • Pylochelidae
  • Pylojacquesidae

ที่มา: “ปูเสฉวน” [1]

สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับปูเสฉวน

สิ่งที่น่าสนใจ เกี่ยวกับปูเสฉวนคือ พฤติกรรมการเลือกเปลือกหอยใหม่ เมื่อพวกมันโตขึ้น และเปลือกหอย ที่ใช้เริ่มเล็กเกินไป ปูเสฉวนจะออกตามหา เปลือกหอยใหม่ที่เหมาะสม หากพบเปลือกที่ดีกว่า ปูเสฉวนอาจสลับเปลือกกับตัวอื่นๆ ซึ่งบางครั้ง ก็อาจมีการแย่งชิงเปลือกเกิดขึ้น หากปูเสฉวนอยู่ข้างนอกนานเกิน อาจทำให้มันตายได้ [2]

มีการสืบพันธุ์ที่ไม่เหมือนใคร เมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์ ตัวผู้จะดึงตัวเมียออกจากกระดองหอย เมื่อทั้งคู่ออกมาแล้ว ตัวผู้จะปล่อยอสุจิใส่ตัวเมีย และตัวเมียก็จะลงไปวางลงในทะเล เมื่อลูกของปูเสฉวนฟักออกมา จะเป็นแพลงตอนลอยในทะเล จนถึงเวลาที่ร่างกาย เป็นปูเสฉวนอย่างสมบูรณ์ ถึงจะขึ้นมาบนฝั่งเพื่อหา กระดองหอยใส่ต่อไป

ปูเสฉวน

ปูเสฉวนมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศทางทะเล

ปูเสฉวนด้วยความสำคัญที่มีต่อระบบนิเวศ เพราะพฤติกรรมการกินซากพืช ซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว ทำให้ระบบนิเวศ ทางทะเลสมดุลขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่เราควรอนุรักษ์ปูเสฉวน และสภาพแวดล้อม ที่พวกมันอาศัยอยู่ การลดการใช้พลาสติก และการจัดการขยะทะเลอย่างเหมาะสม เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยรักษาปูชนิดนี้ และสัตว์ทะเลอื่นๆ ให้มีที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย และสะอาด

ที่อยู่อาศัยของปูเสฉวน

ปูเสฉวนสามารถพบได้ทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตร้อน และเขตอบอุ่น พวกมันอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล หาดทราย และโขดหินที่มีคลื่นกระทบ ปูเสฉวนบางชนิด สามารถอาศัยอยู่บนบก ในบริเวณที่มีความชื้นสูง และบางชนิดสามารถปรับตัว เพื่ออยู่ในน้ำจืดได้ ปูเสฉวนมีความสามารถในการปรับตัว และการดำรงชีวิต ในการเอาตัวรอดสูงมาก [3]

ปูเสฉวนไม่สามารถ ที่จะอยู่ในทะเลได้ เนื่องจากระบบการหายใจ ถูกพัฒนาให้รับออกซิเจนโดยตรง หากลงไปอยู่ในน้ำ อาจทำให้จมน้ำตายได้ แต่ก็ต้องลงกินน้ำทะเล เพื่อรับแคลเซียม และเกลือแร่ให้กับร่างกาย

 ปูเสฉวนสามารถเลี้ยงได้หรือไม่

ปูเสฉวนไม่ได้รับ การคุ้มครองจากกฎหมาย จึงมีคนจับไปเลี้ยง ในเชิงธุรกิจเยอะขึ้น โดยผู้เลี้ยง มักจะหาซื้อเปลือกหอย สีสันหลากหลาย หรือวาดระบายสีเปลือกหอยให้กับมัน อย่างไรก็ตาม ผู้เลี้ยงปูเสฉวนควรศึกษา เรื่องอาหาร และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อให้ปูเสฉวนมีสุขภาพที่ดี การเตรียมเปลือกหอยสำรอง ให้ปูเสฉวนก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะพวกมันอาจต้องการ เปลี่ยนเปลือกใหม่เมื่อโตข

สามารถศึกษาดูวิธีการ เปลี่ยนเปลือกหอยที่เลี้ยงอยู่ ได้ที่ Wikihow

สรุป ปูเสฉวนปูกระดองหอย

สรุป ปูเสฉวนเป็นสัตว์ทะเลที่มีลักษณะ และพฤติกรรมเฉพาะตัว การที่พวกมันอาศัยเปลือกหอย เป็นที่พักพิง และมีพฤติกรรมการเปลี่ยนเปลือกหอย ตามขนาดที่โตขึ้น ทำให้ปูเสฉวนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่น่าศึกษา นอกจากนี้ ปูเสฉวนยังมีบทบาทสำคัญ ต่อระบบนิเวศทางทะเล การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ จึงเป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญ เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศในธรรมชาติ

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง