โปรไฟล์ ปลาสร้อยน้ำผึ้ง (Chinese algae eater) ปลาดูดสาหร่ายตระกูลจีน

ปลาสร้อยน้ำผึ้ง

ปลาสร้อยน้ำผึ้ง (Chinese algae eater) พันธุ์ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Gyrinocheilidae ซึ่งมาจากตระกูล Loach เป็นปลานักดูดสาหร่าย ตะไคร้น้ำ ที่มาจากภูมิภาคเอเชีย ส่วนข้อมูลเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นต้นกำเนิด รูปร่างหน้าตา รวมไปถึงคู่มือเลี้ยงดู มีรายละเอียดต่อไปนี้

รู้หรือไม่ ปลาสร้อยน้ำผึ้ง มีทั้งหมดกี่ชื่อเรียก

ปลาพันธุ์สร้อยน้ำผึ้ง เป็นที่รู้จักจากหลายชื่อเรียก ซึ่งแตกต่างกันตามภูมิภาค อาทิเช่น Honey sucker, Sucking loach, ปลาผึ้ง, ปลาน้ำผึ้ง, ปลาลายผึ้ง และปลาปักษ์ใต้ เป็นต้น ซึ่งหลายคนมักสับสน ระหว่าง Chinese algae eater กับ Siamese Algae Eater เพราะชื่อสามัญใกล้เคียงกัน

ทำความรู้จัก ปลาสร้อยน้ำผึ้ง หน้าตาเป็นยังไง

ปลาสร้อยน้ำผึ้ง

ปลาน้ำผึ้ง (Gyrinocheilus aymonieri) ส่วนใหญ่กำเนิดขึ้นใน แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา คาบสมุทรมลายู ตอนเหนือของแม่น้ำโขง ลุ่มแม่น้ำกลอง และแม่น้ำเซบางไฟ โดยเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ ของประเทศไทย กัมพูชา ลาว รวมไปถึงเวียดนาม

ซึ่งคนท้องถิ่น มักจับไปเพื่อการค้า บริโภค และอยู่ในกลุ่มปลาสวยงาม โดยจากข้อมูล พวกมันมีขนาดอย่างน้อย 28 ซม. แถมยังเป็นสายพันธุ์เดียวในสกุล ที่มีสีบนหลังแบ่งเป็น 9 อัน พร้อมเกล็ดเส้นด้านข้าง 36-40 เส้น ปากแบน ไม่มี Barbel (anatomy) หรืออวัยวะรับความรู้สึกคล้ายหนวด [1]

ในส่วนของสีลำตัว พบได้ตั้งแต่สีเทาอ่อน ไปจนถึงสีน้ำตาล โดยมีลวดลายเข้มๆ ปรากฏตามด้านข้าง แต่สีที่พบบ่อยที่สุด คือ ชนิดสีทอง แถบด้านข้างสีดำ หน้าท้องสีสอง, ชนิดเผือก เกล็ดสีทองล้วน ไม่มีลายจุดหรือลายแถบ และลายหินอ่อน ตัวสีน้ำตาล-เหลือง มีแถบสีเข้มแนวนอน เป็นต้น [2]

ความต่างระหว่าง ปลาสร้อยน้ำผึ้ง กับปลาจิ้งจอก

ปลากินสาหร่าย 2 สายพันธุ์ ที่คนมักเข้าใจผิดมากสุด คือ ปลาน้ำผึ้ง Chinese กับปลาจิ้งจอก Siamese เนื่องจากหน้าตาคล้ายกัน อยู่ในกลุ่มเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม พวกมันมีความแตกต่าง ดังต่อไปนี้

  • สีลำตัว : ปลากินสาหร่ายสยาม ตัวสีขาว-เงิน มีแถบสีดำ / ปลาน้ำผึ้ง ลำตัวสีทอง ครีม และน้ำตาล
  • ขนาด : ปลากินสาหร่ายสยาม ยาวได้ถึง 15 ซม. / ปลาน้ำผึ้ง ยาวได้ถึง 28 ซม.
  • ลักษณะปาก : ปลากินสาหร่ายสยาม มีปากแบบบาร์เบล / ปลาลายผึ้ง มีปากแบบดูด
  • ลวดลายบนหลัง : ปลากินสาหร่ายสยาม มีจุดดำสนิท / ปลาลายผึ้ง จุดด่างดำสีจาง
  • พฤติกรรม : ปลากินสาหร่ายสยาม นิสัยเป็นมิตร / ปลาลายผึ้ง นิสัยหวงอาณาเขต

ที่มา: The Difference Between Siamese Algae Eater and Chinese Algae Eater [3]

พฤติกรรม ปลาสร้อยน้ำผึ้ง และการผสมพันธุ์

ปลาสร้อยน้ำผึ้ง

พฤติกรรมเฉพาะของ ปลาน้ำผึ้ง คือมันรักสันโดษ หวงที่อยู่อาศัย ชอบซ่อนตัวอยู่นิ่งๆ ในบริเวณก้นบ่อ ทำให้อยู่ร่วมกับ ปลาที่มีนิสัยเดียวกันไม่ได้ เช่น ปลาเทวดา, ปลาปอมปาดัวร์ หรือปลาเคลื่อนไหวช้าอย่างปลาทอง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น กุ้ง หรือหอยทาก

แต่สามารถเลี้ยงรวมกับปลามอลลี่, ปลาซิว, ปลากระดี่แคระ, ปลาสอดหางดาบ, ปลาม้าลาย, ฉลามบาลาหรือ ปลาฉลามหางไหม้ ถือว่าเป็นเพื่อนที่ดี ในส่วนของการผสมพันธุ์ พวกมันจะสืบพันธุ์เมื่ออายุถึง 2 ปี โดยตัวเมียหนึ่งตัว สามารถวางไข่ได้มากถึง 3,000-4,000 ฟอง

เตรียมความพร้อมเลี้ยง ปลาสร้อยน้ำผึ้ง เบื้องต้น

  • ขนาดตู้ : ขั้นต่ำ 50 แกลลอน (190 ลิตร) และบวกเพิ่มทีละ 1 เท่า ต่อปลา 1 ตัว
  • ประเภทน้ำ : น้ำจืดนุ่มปานกลาง ไหลเร็ว
  • คุณภาพน้ำ : อุณหภูมิ 22-27 องศา / ความเป็นกรด pH 6.8-7.4 / ความกระด้างน้ำ 5-19 dGH
  • พื้นผิว : ทรายหรือกรวดละเอียด ตกแต่งด้วยต้นไม้ และโพรงไม้
  • อุปกรณ์เสริม : ใช้เครื่องกรอง / ปั๊มน้ำไม่จำเป็น / ใช้เครื่องทำน้ำอุ่น / ระบบไฟช่วยให้พืชและปลาโตได้ดี

ที่มา: Tank Conditions [4]

ข้อมูลราคา ปลาสร้อยน้ำผึ้ง ในไทยขายกี่บาท

ข้อมูลราคาของ Honey sucker ในต่างประเทศ ขายเริ่มต้นตัวละ 2 ดอลลาร์ (73 บาท) ถึงประมาณ 6 ดอลลาร์ (220 บาท) ขึ้นอยู่กับขนาดตัว ส่วนในเมืองไทย ขายถูกกว่าเล็กน้อย เริ่มต้น 80 บาท ไม่เกิน 200 บาทต่อตัว ซึ่งแหล่งซื้อ-ขายขนาดใหญ่ และเป็นที่นิยม คือ ตลาดปลาจตุจักร ตามพิกัดด้านล่าง

  • 588/8 ถนนกำแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร ข้างเจเจมอลล์ ตลาดหลักเปิดทุกวันเวลา 10.00-18.00 น. ส่วนตลาดลานเร่ เปิดทุกวันพุธเวลา 07.00-16.00 น. มีหลายช่องทางให้ติดต่อ ทั้งเฟซบุ๊ค ตลาดปลาจตุจักร – Fish Market Chatuchak และ IG : fishmarketchatuchak

สรุป ปลาสร้อยน้ำผึ้ง

ปลาสร้อยน้ำผึ้ง หรือฉายาว่า ปลาแม่บ้านในตู้ ซึ่งมีซิกเนเจอร์ คือการดูดสิ่งสกปรก ทำให้ตู้ปลาของคุณ สะอาดอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ค่อยนิยมเลี้ยงไว้ตัวเดียว เพราะส่วนใหญ่ จะเลี้ยงร่วมกับปลาสวยงาม เนื่องจากพวกมัน ไม่ค่อยสะดุดตา ยกเว้นสายพันธุ์ปลาสีทอง

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Jynx
Jynx

แหล่งอ้างอิง