รู้ก่อนเลี้ยง ปลาปักเป้าแคระ (Dwarf pufferfish) หรือปลาปักเป้าปิ๊กมี่

ปลาปักเป้าแคระ

ปลาปักเป้าแคระ (Dwarf pufferfish) หรือชื่อเรียกน่ารักๆ ว่าปลาปักเป้าปิ๊กมี่ หนึ่งในสายพันธุ์ ปลาพองลมน้ำจืด ที่มีขนาดตัวเล็กจิ๋ว สีเหลืองคัลเลอร์ฟูล หน้าตาน่าเอ็นดู ซึ่งข้อมูลที่ควรรู้ก่อนเลี้ยง มีอะไรบ้าง อ่านต่อด้านล่าง

แนะนำให้รู้จัก ปลาปักเป้าแคระ จากระบบนิเวศ

ปลาปักเป้าปิ๊กมี่ หรือปลาปักเป้าถั่ว เป็นหนึ่งจาก 27 สายพันธุ์ของ Tetraodontidae ที่ถูกปรับให้เข้ากับน้ำจืด โดยมีถิ่นกำเนิด อยู่ตามบริเวณแม่น้ำ ทะเลสาบ และปากน้ำ ซึ่งแพร่กระจายใน Kerala และกรรณาฏักตอนใต้ ทางตะวันตกของคาบสมุทรอินเดีย

ซึ่งมีข้อมูลว่า พบมากสุดในแม่น้ำ 13 สายใน Kerala เช่น ทะเลสาบVembanad, ท่าเรือNilambur, ลำธาร Kallar เป็นต้น ส่วนใหญ่อาศัยในน้ำที่มีค่า pH 7.5-8.3 ในอุณหภูมิประมาณ 22-28 องศาเซลเซียส และมักซ่อนอยู่ในน้ำ ที่พืชพรรณหนาแน่น มีกรวด หิน หรือตะกอนทราย [1]

ลักษณะสายพันธุ์ ปลาปักเป้าแคระ โดยทั่วไป

ปลาปักเป้าแคระ

การอธิบายเกี่ยวกับพันธุ์นี้ คือในปี ค.ศ. 1941 โดยชาวอินเดีย SL Hora และ KK Nair ซึ่งชื่อแรกเรียกว่า Tetraodon travancoricus ต่อมาในปี 175 WJ Dekkers ได้จำแนกสกุลใหม่ และถือว่า Carinotetraodon เป็นสกุลย่อยของ Tetraodon

กระทั่งปี 1999 ดร. Ralf Britz และ Maurice Kottelat เผยว่าปลาพันธุ์นี้ มีการดัดแปลงมาจาก Parapophyses ส่งผลให้ถูกย้ายมไปยังสกุล Carinotetraodon [2] ปัจจุบันใช้ชื่อสามัญว่า Malabar Pufferfish โตเต็มวัยได้ราวๆ 2.5 ซม. แต่ตัวใหญ่สุด ที่เคยถูกบันทึกไว้ มีขนาดอยู่ที่ 3.5 ซม.

  • รูปร่าง : ลำตัวกลมและอ้วน ลักษณะคล้ายเม็ดถั่วเหลือง ครีบสั้นรูปทรงคล้าย 3 เหลี่ยม ตาปูด นัยน์ตาสีแดง ขอบสีขาว หรือตาสีฟ้า ตัวผู้สีสดใสกว่าตัวเมีย
  • สี : ลำตัวสีเหลืองโดดเด่น ไปจนถึงสีเขียวมะกอก มีจุดสีดำหรือน้ำตาล กระจายอยู่ทั่วร่างกาย หน้าท้องสีเงินหรือเหลืองเข้ม บางตัวมีประกายสีน้ำเงิน

ศึกษาพฤติกรรม ปลาปักเป้าแคระ และการสืบพันธุ์

ถึงแม้จะเป็นสายพันธุ์เฉพาะ แต่มีปลาปักเป้าน้ำจืด 2 ถึง 3 สายพันธุ์ที่คล้ายกัน ได้แก่ ปลาปักเป้าบัมเบิลบี (Bumblebee Puffer) ขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย, ปลาปักเป้าหางแดง (Red-tailed Puffer) สีตัวเข้มกว่า หางและตาสีแดง สุดท้ายคือปลาปักเป้าสปอตฟิน (Spot-Fin Puffer) ตัวประมาณ 3 ซม. [3]

ปลาปักเป้าส่วนใหญ่ มีนิสัยหวงที่อยู่อาศัย และชอบอยู่ตัวเดียว ทำให้พวกมัน ค่อนข้างมีพฤติกรรมก้าวร้าว ชอบแทะ ชอบตอด และเป็นปลากินเนื้อ จึงเหมาะกับการเลี้ยงตัวเดียว หรืออัตราส่วนที่แนะนำ คือตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมียประมาณ 3 ตัวต่อตู้

ในส่วนของนิสัยการสืบพันธุ์ เมื่อโตเต็มวัน หน้าท้องของปลาตัวผู้ จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน และท้องของตัวเมียตัวบวมขึ้น ซึ่งสามารถผสมพันธุ์ได้ทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม โดยการกระจายไข่ 1-5 ฟองตามพืชพรรณ และใช้เวลาฟักตัว 1-4 วัน

เช็กประชากร ปลาปักเป้าแคระ ในบัญชีแดง IUCN

ปลาปักเป้าแคระ

Malabar Pufferfish ได้รับการประเมินจาก IUCN เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553 ให้อยู่ในชนิดพันธุ์ ที่ถูกคุกคามในปี 2010 ระบุว่ามีความเสี่ยงสูญพันธุ์ (VU) มีจำนวนประชากร ตามระบบนิเวศ กำลังลดลง และไม่ทราบจำนวนคงเหลือที่แน่ชัด หรือศึกษาต่อได้ที่ ICUN Red List

เงื่อนไขการตั้งค่าตู้ ปลาปักเป้าแคระ เบื้องต้น

  • ขนาด : ขั้นต่ำ 10 แกลลอน (38 ลิตร) สำหรับปลา 1 ตัว และ 20-30 แกลลอน (75-113 ลิตร) สำหรับหลายตัว
  • คุณภาพน้ำ : น้ำนุ่มนวล / ระดับ pH 7-7.6 / อุณหภูมิ 23-25 องศา / เปลี่ยนน้ำอย่างน้อย 50% เป็นประจำ
  • อาหาร : ให้วันละ 1-2 ครั้ง ซึ่งโดยปกติ มันชอบกินอาหารสด เป็นปลากินเนื้อ เช่น หอยทากตัวเล็ก, กุ้งน้ำเกลือ, หนอนดำ, หนอนเลือด เป็นต้น
  • เพื่อนร่วมตู้ : ตัวเลือกที่น่าพิจารณา คือ ปลานิสัยเงียบสงบ เช่น ปลาดุก Otocinclus, Plecos ขนาดเล็ก ส่วนพันธุ์ที่ห้ามเลี้ยงด้วยกันเด็ดขาด คือ ปลานิสัยหวงอาณาเขต เช่น ปลาฉลามหางแดง, ปลาฉลามหางไหม้ และปลาครีบยาวเคลื่อนไหวช้า เช่น ปลาหางนกยูง เป็นต้น

ที่มา: Tank Settings for Dwarf Puffer Fish, Feeding Dwarf puffer fish, Tankmates for Dwarf Puffer Fish [4]

สอบถามราคา ปลาปักเป้าแคระ ขายตัวละกี่บาท

สำหรับตลาดปลาในไทย ปลาปักเป้าปิ๊กมี่ มีค่าตัวอยู่ระหว่าง 50 ถึง 80 บาทต่อตัว โดยบางร้านขายแยก แต่บางร้านขายเป็นเซต 2-5 ตัว แล้วแต่ขนาด ซึ่งถือว่าราคา สูงในระดับปานกลาง หากใครอยากได้ข้อมูลที่ชัดเจน แนะนำให้สอบถามร้านค้าโดยตรง ก่อนเลือกซื้อ

สรุป ปลาปักเป้าแคระ

ปลาปักเป้าแคระ เป็นปลาพองลมตัวเล็ก ที่มีหน้าตา และรูปร่างน่าหลงใหล มีสีที่สวยสดใส แม้นิสัยจะดุร้าย ต่อเพื่อนร่วมตู้ปลา แต่พวกมันเป็นมิตรกับมนุษย์ มือใหม่เลี้ยงได้ แต่อาจต้องศึกษาพฤติกรรม ให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Jynx
Jynx

แหล่งอ้างอิง