ปลาดาว สัตว์ทะเลที่น่าหลงใหลและน่าศึกษา

ปลาดาว

ปลาดาว หรือดาวทะเล ที่เรารู้จักกัน เป็นสัตว์ทะเล ที่มีความงดงาม  และมีความหลากหลาย ทางชีวภาพที่น่าสนใจ พบได้ในท้องทะเลทั่วโลก ตั้งแต่เขตร้อนจนถึงเขตหนาว กับรูปลักษณ์ที่โดดเด่น ของปลาดาวที่มีแขนที่เป็นดาวห้าแฉก แม้ว่าในบางสายพันธุ์จะมีจำนวนแขนมาก หรือน้อยกว่าห้าแขนก็ตาม ทำให้เราสนใจจะเรียนรู้ และอยากที่จะศึกษาต่อ

ปลาดาวปลาที่ไม่ใช่ปลา

ปลาดาว แม้ชื่อจะบ่งบอกว่าเป็น “ปลาดาว” แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปลาดาวไม่ใช่ปลาเลย เพราะเป็นสัตว์จำพวก ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ปลาจัดว่าเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ในบางครั้งจะถูกเรียกว่า “ดาวทะเล” เพื่อป้องกันการสับสน

ปลาดาวไม่มีเลือด ระบบประสาทของพวกมัน เป็นวงแหวนประสาทที่อยู่รอบปาก ส่วนระบบการไหลเวียนใช้ระบบน้ำหล่อเลี้ยง ซึ่งแตกต่างจากปลา ที่มีหัวใจ และเลือดในการไหลเวียนของสารอาหาร และออกซิเจน

ที่มา: “Are starfish really fish” [1]

ลักษณะทางกายภาพและการเคลื่อนไหว

ปลาดาวมีสีสันหลากหลาย ตั้งแต่สีส้ม สีแดง สีฟ้า สีเขียว ไปจนถึงสีม่วง ทำให้พวกมันโดดเด่นมาก ในท้องทะเล ผิวหนังของปลาดาวมีลักษณะขรุขระ และมีหนามเล็กๆ ตามตัว ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ ของกลุ่มสัตว์เอไคโนเดอร์มาต์ (Echinodermata)

ปลาดาวไม่มีสมอง และเลือด แต่มีระบบน้ำหล่อเลี้ยง ที่เรียกว่า “ระบบน้ำช่อง” (water vascular system) ซึ่งช่วยในการเคลื่อนที่ และจับอาหาร โดยอาศัยอวัยวะที่เรียกว่า “ทิวบ์ฟีต” (tube feet) ที่อยู่ใต้แขนของพวกมัน

หรือสามารถไปดูปลาดาวชนิดต่างๆ ได้ในอควาเรียมใกล้บ้านได้ เช่น ซีไลฟ์ แบงคอก
ศูนย์การค้าสยามพารากอน ชั้นบี1-บี2 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
พิกัด : https://maps.app.goo.gl/zHA4LehTJ5LDQwKX9

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

  • โดเมน : ยูแคริโอต Eukaryota
  • อาณาจักร : สัตว์ Animalia
  • ไฟลัม : เอไคโนเดอร์มาตา Echinodermata
  • ชั้นใหญ่ : Asterozoa
  • ชั้น : ดาวทะเล Asteroidea De Blainville

อันดับ

  • Brisingida (100 ชนิด)
  • Forcipulatida (300 ชนิด)
  • Paxillosida (255 ชนิด)
  • Notomyotida (75 ชนิด)
  • Spinulosida (120 ชนิด)
  • Valvatida (695 ชนิด)
  • Velatida (200 ชนิด)

ที่มา: “ดาวทะเล” [2]

อาหารและการดำรงชีวิต

ปลาดาวเป็นสัตว์กินเนื้อ ที่มักล่ากินหอยนางรม หอยแมลงภู่ และสัตว์ทะเล ขนาดเล็กอื่นๆ พวกมันสามารถกลับด้าน กระเพาะอาหารออกมา เพื่อย่อยอาหารภายนอกร่างกาย ทำให้สามารถกินสัตว์ ที่มีเปลือกแข็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือว่าเป็นความสามารถอีกอย่างหนึ่ง ที่ยากที่จะพบเห็นในสัตว์อื่นๆ

ปลาดาวมีกลไกในการงอกใหม่ และการอยู่รอด

ปลาดาว

ปลาดาว มีคุณสมบัติที่น่าทึ่ง คือความสามารถในการงอกแขนใหม่ได้ เมื่อแขนของพวกมันหัก หรือถูกตัดขาด ซึ่งเป็นคุณสมบัติ ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการอยู่รอด ปลาดาวบางสายพันธุ์ สามารถจงใจสลัดแขนให้หลุด เพื่อหนีจากผู้ล่า และสามารถงอกตัวเต็มตัวใหม่ได้ จากแขนเพียงแขนเดียว หากมีส่วนกลางของลำตัวติดมาด้วย [3]

บทบาทในระบบนิเวศ

ปลาดาวมีบทบาทสำคัญ ในระบบนิเวศทางทะเล โดยช่วยควบคุมประชากร ของสัตว์ทะเลอื่นๆ และช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศ การรักษาทะเลให้สะอาด และปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ปลาดาวและสัตว์ทะเลอื่นๆ ยังคงอยู่คู่กับท้องทะเลอย่างยั่งยืน

ปลาดาวยังเป็นตัวชี้วัดที่ดี ของสุขภาพระบบนิเวศทางทะเล การเปลี่ยนแปลงในประชากรปลาดาว สามารถบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลง ของสิ่งแวดล้อม เช่น การปนเปื้อนของสารพิษ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ หรือการเสื่อมสภาพของที่อยู่อาศัย

การสืบพันธุ์ของปลาดาว

การสืบพันธุ์ของปลาดาวมีทั้งการอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ

  • การไม่อาศัยเพศ คือการแยกตัวของร่างกาย และงอกใหม่ ที่ได้อธิบายไปข้างต้น
  • การอาศัยเพศ คือตัวผู้จะปล่อยสเปร์มลงในน้ำ และตัวเมียก็ปล่อยไข่ลงในน้ำเช่นกัน ไข่ และสเปิร์มจะผสมกันในน้ำทะเล และเกิดการปฏิสนธิภายนอก หรือ External fertilization หลังการปฏิสนธิ ตัวอ่อนจะพัฒนา ไปตามลำดับขั้นตอน โดยเริ่มจากระยะ blastula, gastrula จนถึงระยะที่เรียกว่า bipinnaria larva ซึ่งมีรูปร่าง ที่สามารถเคลื่อนที่ในน้ำได้ ตัวอ่อนจะลอยไปในน้ำทะเล เป็นเวลาหลายวัน หรือหลายสัปดาห์ ก่อนที่จะตกลงสู่พื้นทะเล และพัฒนาเป็นปลาดาวขนาดเล็ก

สรุป ปลาดาว ดาวทะเล

สรุป ปลาดาว ไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ของความงดงาม และความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ แต่ยังเป็นตัวอย่างของความสามารถ ในการปรับตัว และการอยู่รอดในโลก ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเรียนรู้ และการอนุรักษ์ปลาดาวเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยให้เราสามารถรักษาท้องทะเล ให้คงความงดงามไว้ตลอดได้

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง