แฟ้มข้อมูล ปลาฉลามหางไหม้ Bala Shark / Silver shark

ปลาฉลามหางไหม้

ปลาฉลามหางไหม้ หรือปลาฉลามเงิน หรือปลาฉลามบาลา เป็นพันธุ์ปลาน้ำจืด ที่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน แต่ด้วยรูปร่างเรียวยาว เหมือนกับตอร์ปิโด แถมยังมีครีบตั้งฉาก คล้ายกับเหาของฉลาม จึงทำให้มันได้ชื่อ “Shark” มาโดยปริยาย ส่วนข้อมูลต่างๆ ที่น่าสนใจ มีรายละเอียดต่อไปนี้

ทำความรู้จัก ปลาฉลามหางไหม้ จากแหล่งกำเนิด

Bala Shark กำเนิดขึ้นใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณแม่น้ำขนาดใหญ่ รวมถึงทะเลสาบ ซึ่งครั้งหนึ่ง เคยพบที่ประเทศไทย ในพื้นที่แม่น้ำกลอง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง และในแถบอื่นๆ ทั้งเกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว รวมถึงคาบสมุทรมลายู

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันถือว่าเป็นสายพันธุ์หายาก และเชื่อกันว่า พวกมันได้สูญพันธุ์ไปแล้วในบางพื้นที่ ซึ่งหลายคน ยังสับสนว่าพวกมัน เป็นสายพันธุ์เดียวกับ ปลาหนามหางไหม้ แต่ต่างกันตรงที่ จมูกยาวกว่า มีขอบสีดำที่ใหญ่กว่า บนอุ้งเชิงกรานและครีบหลัง

ลักษณะ ปลาฉลามหางไหม้ หน้าตาเป็นยังไง

ปลาฉลามหางไหม้

หน้าตาของปลาพันธุ์นี้ คล้ายกับปลาตามิน ซึ่งมีลำตัวยาว ค่อนข้างแบน เกล็ดไม่เล็กไม่ใหญ่ ปากเล็กแหลม ฟันเลื่อย ลำคอมีแผ่นหนัง ที่สามารถเปิดออกได้ ส่วนครีบบนมีขนาดใหญ่ รอบดวงตามีเยื่อไขมัน ไม่มีหนวด โดดเด่นด้วยครีบหาง 2 แฉกชัดเจน

ลำตัวมีความแวววาว เกล็ดสีเงินปนสีเขียวอมเทา ครีบบนหลัง ครีบหน้าท้อง ครีบตรงก้น และหาง มองเห็นเป็นสีส้ม-แดง หรือสีเหลือง-ขาว และมีขอบสีดำ ซึ่งสามารถว่ายน้ำได้เร็วมาก กระโดดสูง สามารถโตเต็มที่ได้ประมาณ 20 ถึง 30 ซม. และมีอายุขัยราวๆ 10 ปี

โดยในปัจจุบัน มีการจำแนกออกเป็น 2 ชนิด จากเดิมที่มีแค่ชนิดเดียว ได้แก่ Balantiocheilos ambusticauda หรือรู้จักในชื่อ ฉลามหางไหม้ไทย และอีกหนึ่งชนิดคือ Balantiocheilos melanopterus หรือที่รู้จักในชื่อ ฉลามหางไหม้อินโดนีเซีย [1]

ประชากร ปลาฉลามหางไหม้ และการอนุรักษ์

ฉลามหางไหม้อินโดนีเซีย (Balantiocheilos melanopterus) ถูกระบุจาก IUCN Red List ว่าเป็นปลาหายาก และมีโอกาสสูญพันธุ์สูง ซึ่งจากข้อมูลในปี 1993 และ 1995 มีรายงานว่าจำนวนน้อยลง และลดลงเรื่อยๆ ภายหลังปี 1975 โดยสาเหตุอาจมาจาก การค้าที่มากเกินไป หรือผลกระทบจากไฟป่า [2]

ซึ่งจากการประเมินล่าสุด 7 กุมภาพันธ์ 2019 ปลาฉลามบาลา จัดอยู่ในกลุ่ม Vulnerable ที่แนวโน้มกำลังลดลง และอาจว่ามีประชากรคงเหลือ 1,000 ถึง 9,999 ตัวตามธรรมชาติ [3] ส่งผลให้ปลาที่หลายคนเลี้ยงในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มาจากการเพาะพันธุ์ ภายในประเทศไทย และอินโดนีเซีย

พฤติกรรม ปลาฉลามหางไหม้ การผสมพันธุ์

นิสัยของปลาฉลามสีเงิน เป็นสัตว์น้ำจืดรักสงบ ว่ายน้ำเก่ง มีความว่องไว แต่ขี้อายและขี้กลัว ชอบอยู่รวมฝูงอย่างน้อย 4 ตัว เจ้าได้ดีกับปลาเขตร้อนพันธุ์ใหญ่ ส่วนการผสมพันธุ์ ตัวเมียออกลูกเป็นไข่ ครั้งละประมาณ 5,000 ถึง 10,000 ใช้เวลาฟักตัวออกมา 2-4 วัน

สนใจเลี้ยง ปลาฉลามหางไหม้ เตรียมตัวยังไง

ปลาฉลามหางไหม้

ถึงแม้ว่าปลาฉลามบาลา จะอยู่ในบัญชีแดงของ IUCN แต่ในทางกฎหมาย CITES ไม่ถูกระบุไว้ ดังนั้นจึงมีสิทธิ์เลี้ยงได้ทุกคน ซึ่งการเตรียมตัวไม่ยาก ทำตามวิธีต่อไปนี้

  • ขนาดถัง / ตู้ปลา : ขนาดปลาตัวเล็กไซส์ 7-15 ซม. แนะนำตู้อย่างต่ำ 20 แกลลอน (75 ลิตร) ต่อปลาหนึ่งตัว, 30 แกลลอน (113 ลิตร) ต่อปลา 3 ตัว, 120 แกลลอน (450ลิตร) ต่อปลา 6 ตัว เป็นต้น
  • คุณภาพของน้ำ : ค่าความเป็นกรด pH 6-7.8 แต่มากหรือน้อยกว่าก็ได้ ส่วนอุณหภูมิควรอยู่ระหว่าง 24 ถึง 28 องศาเซลเซียส และเมื่อใดที่คิดว่าปลาจะป่วย ควรแยกไปในอุณหภูมิน้ำ 27.5 องศา
  • พื้นผิว / แสงสว่าง : ฉลามเงินเลี้ยงได้ในพื้นผิวเปล่าๆ หรือทราย หรือกรวด แต่ต้องมีต้นไม้พอสมควร เพราะพวกมันมักใช้เป็นที่ซ่อนตัว และควรหลีกเลี่ยง การใช้หลอดไฟช่วยให้แสงสว่าง
  • เครื่องกรอง : การเลี้ยงฉลามบาลา จำเป็นต้องใช้เครื่องกรองน้ำ เนื่องจากพวกมัน ไวต่อแอมโมเนีย และไนไตรต์ที่พุ่งขึ้นสูง
  • ปลาที่เข้ากันได้ดี : ปลาเทวดา, ปลาสลิด, ปลาสีรุ้ง, ปลาแบล็คโกสต์ เป็นต้น
  • ปลาที่ไม่ควรเลี้ยงด้วยกัน : ปลากัดสยาม, ปลาออสการ์, ปลาหางนกยูง เป็นต้น

ที่มา: How to Take Care of Bala Shark [4]

สอบถามราคา ปลาฉลามหางไหม้ พร้อมพิกัดซื้อ

สำหรับใครสนใจปลาฉลามเงิน มีขายในไทยจำนวนมาก แถมราคายังถูกมาก เนื่องจากเพาะพันธุ์ได้เอง ซึ่งเริ่มต้นที่ตัวละ 1 แบงก์ยี่สิบ สำหรับลูกปลาตัวเล็ก ส่วนตัวโตเต็มวัย เริ่มต้นที่ 1 แบงก์แดง ไม่เกิน 500 บาท และเพื่อข้อมูลที่แน่ชัด แนะนำให้สอบถามกับร้านค้าที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น

  • ร้านบ้านปลาริมน้ำน่าน พิกัด 643 ถ.บรมไตรโลกนาถ 2 ต.ในเมือง อ.เมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก พิษณุโลก เปิดวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-20.00 น. โทร 081-532-1736 หรือเฟซบุ๊ก 643 บ้านปลาริมน้ำน่าน พิษณุโลก ขายทั้งพันธุ์ปลา และอุปกรณ์ดูแล

สรุป ปลาฉลามหางไหม้

ปลาฉลามหางไหม้ เป็นพันธุ์ที่ไม่ได้โดดเด่นด้วยลวดลาย แต่มีเสน่ห์ที่เรียบหรู เกล็ดสีเงินแวววาว ครีบตั้งฉาก หางเป็นแฉก ตัดขอบด้วยแถบสีดำ ที่สวยงามในแบบเฉพาะตัว ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่น่าเสียดาย เพราะฉลามหางไหม้สายพันธุ์ไทยแท้ ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Jynx
Jynx

แหล่งอ้างอิง