ทำความรู้จัก ปลาฉลามหางแดง (Red-tailed black shark) หรือปลาทรงเครื่อง

ปลาฉลามหางแดง

ปลาฉลามหางแดง (Red-tailed black shark) หรือชื่อเรียกสุดแปลก ในไทยว่า “ปลาทรงเครื่อง” หนึ่งในพันธุ์ปลา จากวงศ์ปลาคาร์ป ที่ถูกตั้งชื่อสามัญว่าฉลาม เช่นเดียวกับ ปลาฉลามหางไหม้ (Bala Shark) ซึ่งพบได้ทั่วไป ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ โดยข้อมูลต่างๆ มีรายละเอียด ต่อไปนี้

ประวัติ ปลาฉลามหางแดง สายพันธุ์ประจำถิ่นไทย

ปลาพันธุ์ฉลามหางแดง หรือชื่ออื่นๆ ในวงการ ไม่ว่าจะเป็น ปลาฉลามทรงเครื่อง หรือปลาหมูทรงเครื่อง เป็นปลาน้ำจืดสกุล Cyprinidae ซึ่งมีข้อมูลแน่ชัดครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2474 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน Hugh McCormick Smith ซึ่งพบได้ทั้งใน บึงบอระเพ็ด และแม่น้ำเจ้าพระยา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 มีรายงานว่า จับตัวอย่างปลาได้ ในคลองสีลม กระทั่งปี พ.ศ. 2544 หลงเหลืออยู่แค่ใน แม่น้ำเจ้าพระแห่งเดียว ทำให้นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ถึง 2554 ในบัญชีแดงของ IUCN เชื่อกันว่า พวกมันสูญพันธุ์ไปแล้ว ตามธรรมชาติ เนื่องจากมีการระบายน้ำ เพื่อสร้างเขื่อนในช่วงทศวรรษ 2513 [1]

คำอธิบายลักษณะ ปลาฉลามหางแดง เป็นยังไง

ปลาฉลามหางแดง

ลักษณะทั่วไปของ ปลาฉลามดำแดง คือมีลำตัวสีดำ น้ำเงินเข้ม ไร้ลวดลาย และจุดเด่นคือ หางสีแดงส้ม รูปร่างคล้ายๆ กับปลากาดำ ในสกุลเดียวกัน แต่ตัวจะเรียวยาว และขนาดเล็กกว่า ครีบใหญ่ หลังสูงทรงโค้ง มีอวัยวะรับความรู้สึก หรือศัพท์ทางการเรียกว่า Barbel บริเวณปาก

ซึ่งโตเต็มวัย ยาวได้ประมาณ 10-15 ซม. และมีอายุขัยเริ่มต้น 5-8 ปี สำหรับในตู้เลี้ยง หรืออาจยืนยาวถึง 10 ปีก็เป็นได้ โดยผู้คนส่วนใหญ่ มักสับสนว่ามัน เป็นสายพันธุ์เดียวกับ ปลาฉลามสีรุ้ง หรือปลาฉลาดกาแดง เพราะหน้าตาค่อนข้างเหมือนกัน แต่มีจุดสังเกตบางอย่าง ดังนี้

ข้อแตกต่างระหว่าง ปลาฉลามหางแดง vs ฉลามสายรุ้ง

ฉลามหางแดง

  • มีเพียงครีบหางเท่านั้น ที่มีสีแดง ส่วนอื่นๆ ของลำตัว จะเป็นสีดำ หรือน้ำเงินเข้ม ไม่มีลวดลาย
  • มีพฤติกรรมการอาศัย อยู่ก้นบ่อ หรือตรงกลางของตู้ และโผล่ขึ้นผิวน้ำ เพื่อกินอาหารเท่านั้น
  • ต้องการน้ำไหลเร็วมาก มีนิสัยกึ่งก้าวร้าว พบได้ในประเทศไทย

ฉลามสายรุ้ง

  • ครีบทุกส่วนเป็นสีแดง-ส้ม ลำตัวสีดำเข้ม สีเงินอมดำ สีเผือก หรือสีน้ำเงิน-ม่วง
  • ชอบกินสาหร่าย ตะไคร้น้ำ และชอบทำความสะอาดตู้ ซึ่งกินเร็วมากๆ
  • ชอบอยู่ในน้ำอุ่น อุณหภูมิสูงได้ถึง 27.2 องศา พบได้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • มีพฤติกรรมซ่อนตัว อยู่ใกล้ๆ กับของตกแต่ง นิสัยก้าวร้าว
  • ต้องการน้ำไหลปานกลาง และพื้นผิวแบบทราย กรวด หรือหินแหลม

ที่มา: Red Tail Shark vs. Rainbow Shark [2]

การผสมพันธุ์ ปลาฉลามหางแดง ยากจริงหรือ

ปลาฉลามหางแดง

การเพาะพันธุ์ ฉลามหางแดง ขึ้นชื่อว่ายากมากๆ เนื่องจากพวกมัน มีพฤติกรรมค่อนข้างก้าวร้าว ไม่ว่าจะเป็นกับพันธุ์เดียวกัน หรือเพื่อนปลาพันธุ์อื่น แต่ก็ใช้ว่าจะทำไม่ได้ เมื่อถึงช่วงผสมพันธุ์ ต้องจับกลุ่มปลาอย่างน้อย 5 ตัว โดยมีตัวเมีย 4 ตัว ต่อตัวผู้ 1 ตัว ซึ่งในแต่ละครั้ง จะออกไข่ประมาณ 30 ฟอง

ที่อยู่ พารามิเตอร์น้ำ ปลาฉลามหางแดง และเพื่อนร่วมตู้

  • ขนาดตู้ : สำหรับเลี้ยงปลา 1 ตัว แนะนำไซส์ขั้นต่ำ 30 แกลลอน หรือประมาณ 113 ลิตร
  • พารามิเตอร์น้ำ : pH 6.5-7.5 / ความกระด้าง 5-12 dGH / แอมโมเนีย 0 PPM / ไนไตรต์ต่ำกว่า 20 PPM
  • อาหาร : เวเฟอร์สาหร่าย, สาหร่ายสไปรูลินา, กุ้งน้ำเกลือ หนอนเลือด ไรน้ำ, ผักโขม และบวบ เป็นต้น
  • การตกแต่ง : ใช้พื้นผิวเป็นหิน หรือก้อนกรวด และพืชน้ำบางชนิด เช่น สกุลเฟิร์น, สกุล Anubias, หญ้าปลาไหล, วัชพืชน้ำ เป็นต้น
  • เพื่อนร่วมตู้ : ปลาที่เข้ากันได้ดี เช่น ปลาสลิดขนาดใหญ่, ปลาหมอสี Geophages, ปลาหนามขนาดใหญ่, ปลาลายเสือ เป็นต้น / ปลาที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น ปลากัด, ปลาเทวดา, ปลาฉลามทุกสายพันธุ์ เป็นต้น [3]

ที่มา: Care And Keeping In A Tank [4]

ราคา ปลาฉลามหางแดง มีเสน่ห์แต่ค่าตัวไม่แพง

ด้วยเสน่ห์อันโดดเด่น คือหางสีแสงสดใส หลายคนอาจคิดว่า พวกมันจะมีค่าตัวที่แพง แต่ในความจริง ตลาดซื้อ-ขายราคาสัตว์น้ำ จำหน่ายเริ่มต้นที่ 1xx บาท สามารถสอบถามได้ ตามร้านขายปลาทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์ Facebook, IG, Line หรือหน้าร้านโดยตรง

สรุป ปลาฉลามหางแดง

ปลาน้ำจืดฉลามหางแดง หรือ ปลาทรงเครื่อง ชื่ออาจจะดูแปลกๆ ดูน่าอร่อย แต่เรื่องความเด่น น่ามอง อยู่ในระดับต้นๆ อีกทั้งราคายังเบากระเป๋า ซื้อง่าย มีขายทั่วไป แต่ไม่เหมาะกับมือใหม่ เพราะนิสัยก้าวร้าว พฤติกรรมจุกจิก และส่วนใหญ่ต้องเลี้ยงแค่ตัวเดียว

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Jynx
Jynx

แหล่งอ้างอิง