นกเหยี่ยว สัตว์เลี้ยงที่คนคลั่งเหยี่ยว มักเลี้ยงไว้เพื่อความสวยงาม อีกทั้งเลี้ยงไว้เพื่อการ “ ล่า ” โดยเฉพาะ แต่การจะเป็นเจ้าของได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนไทย เพราะการครอบครองโดยไม่มีใบอนุญาต จะถือว่าผิดกฎหมาย แล้วขั้นตอนการเป็นเจ้าของ รวมถึงข้อมูลต่าง ๆ มีอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
“ Falcon ” หรือนกอีเหยี่ยว [1] จัดอยู่ในสกุล “ นกล่าเหยื่อ ” มีลักษณะคล้ายกับนกอินทรี ไม่ว่าจะเป็นลวดลาย ปีก หรือการล่าเหยื่อก็ตาม แต่นกอีเหยี่ยวมีขนาดที่เล็กกว่า
ส่วนอาหารทั่วไป จะเป็นสัตว์น้ำ, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์ฟันแทะ เป็นต้น ความที่เป็นนกล่าเหยื่อ น้องจึงถูกเจ้าของใช้เลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง บางคนก็เลี้ยงเพื่อสร้างรายได้ให้ตัวเอง มานานกว่า 2,000 ปี
ในส่วนนี้จะเป็นลักษณะทางกายภาพ รวมถึงส่วนอื่น ๆ ถ้าคนคลั่งจริง ๆ ต้องการเป็นเจ้าของ เพื่ออยากมีเส้นทางรวย จะต้องพิจารณาลักษณะเหล่านี้ ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้
ที่มา : นกเหยี่ยว FALCON [2]
สำหรับเรื่องของพฤติกรรมนั้น นกเหยี่ยว มีสัญชาตญาณของการล่าเหยื่อ มากกว่านกชนิดอื่น ๆ แน่นอนว่า พฤติกรรมที่เห็นกันบ่อย ๆ คงจะเป็นการไล่ต้อนเหยื่อให้จนมุม ด้วยการใช้สายตาที่แหลมคม
เสมือนสวมใส่แว่นสายตา มองหาอาหารจากระยะไกล เมื่อไหร่ที่พบอาหาร มันจะบินโฉบลงมาอย่างรวดเร็ว กรงเล็บที่แหลมคม ทำให้เหยื่อหลายราย ต้องกลายเป็นอาหารอันโอชะ
ในส่วนของการฝึก ให้ไล่นกชนิดอื่นนั้น เริ่มแรกเลยเกิดขึ้นที่ประเทศไทย ซึ่งเป็นบริษัทไล่นกพิราบ ที่มีเจ้าของเป็นคนไทยทั้ง 2 คน พวกเขาเปิดมาแล้ว 2 – 3 ปี รายได้ที่ได้รับแต่ละครั้ง มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ไปไล่ด้วย อาทิเช่น
ที่มา : เส้นทางรวย! ฝึกเหยี่ยวไล่นกรายได้เฉียดล้าน สายพันธุ์นอกซื้อถูกต้องตัวละครึ่งแสน [3]
การครอบครอง นกเหยี่ยว หรือการเป็นเจ้าของ อย่างถูกกฎหมายในประเทศไทยนั้น ก่อนอื่นจะต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ที่สำคัญ จะต้องมีใบอนุญาตครอบครอง จากกรมป่าไม้ หรือใบอนุสัญญาระหว่างประเทศ ( ใบนำเข้า CITES ) [4] หากคุณมีทั้งหมดที่กล่าวไปข้างต้น จะถือว่าถูกกฎหมาย
สำหรับการอนุรักษ์ Falcon เริ่มแรกเลยที่ การอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัย เพราะน้องทุกตัวจำเป็นต้องมี ที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม เพื่อการพักผ่อน การหาอาหาร สถานที่ที่เหมาะสม เช่น บ้านที่มีพื้นที่เกษตรกรรม, แหล่งน้ำ, ป่า เป็นต้น หากอนุรักษ์อย่างถูกวิธี จะทำให้ยืดอายุขัย
สัตว์เลี้ยงที่สุดแสนจะแปลก ถ้านำมาเลี้ยงในไทย แต่ก่อนจะเลี้ยง จะต้องหาฟาร์มนำเข้าต่างประเทศ เตรียมเงินค่าตัว 5,000 บาทขึ้นไป ที่สำคัญ อย่าลืมขอใบอนุญาตจากกรมป่าไม้ หรือใบนำเข้า CITES เพื่อการเลี้ยงอย่างถูกกฎหมายในไทย