นกอพยพในไทย สัตว์ปีกที่มีการย้ายถิ่นฐานเป็นประจำ เพื่อต้องการมองหาสภาพแวดล้อมใหม่ ที่เหมาะกับการดำรงอยู่ และการวางไข่ในฤดูผสมพันธุ์ บล็อกสำรวจ และจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ นกในประเทศไทย ที่มีการอพยพ พร้อมกับการเปิดรายชื่อ เปิดหน้าตา และบริเวณที่คาดว่าจะพบนกอพยพมากที่สุด
ว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่นฐานของนก หมายถึง การเคลื่อนย้ายจากถิ่นหนึ่งไปอีกถิ่นหนึ่ง หรือการย้ายจากถิ่นเดิมไปอยู่ถิ่นใหม่ ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับ นกแปลกในไทย ต่อการดำรงชีวิต และการวางไข่ในฤดูผสมพันธุ์ แถมยังมองหาสภาพแวดล้อมใหม่ ที่เป็นแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์ เพื่อเลี้ยงดูตนเอง และลูกอ่อนในตอนที่ฟักไข่ออกมา
หากนกพบว่าสภาพแวดล้อมที่ตนเองอยู่ เข้าสู่ช่วงฤดูหนาวที่อุณหภูมิลดต่ำลง น้ำกลายเป็นน้ำแข็ง พืชพรรณมีการหยุดเจริญเติบโต อาหารลดน้อยลง นกจึงจำเป็นจะต้องย้ายที่อยู่ใหม่ ทั้งนี้ นกเป็นสัตว์ที่มีการย้ายที่อยู่มากที่สุด เพื่อมองหาที่อยู่ใหม่ที่เหมาะสมกับตนเอง
สำหรับข้อมูลในประเทศไทย มีการรายงานว่าพบ นกอพยพในไทย ทั้งสิ้น 415 ชนิด ซึ่งเป็นนกอพยพ 326 ชนิด และนกที่ได้รับสถานะว่าเป็นทั้งนกอพยพ รวมถึงนกประจำถิ่นของไทยจำนวน 89 ชนิด โดยสามารถแบ่งกลุ่มสัตว์ปีกที่เป็น สัตว์โลกสวยงาม ที่มีการย้ายถิ่นฐานได้ดังนี้
นกเดินดง : วงศ์ของนกแบล็กเบิร์ด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “ Turdus merula ” เป็นกลุ่ม สัตว์โลกตัวเล็ก ที่มักกินแมลงเป็นอาหารหลัก โดยชนิดของนกเดินดงที่พบได้ทั่วโลก มีทั้งสิ้น 335 ชนิด และพบในประเทศไทยทั้งสิ้น 21 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น นกกระเบื้องคอขาว, นกกระเบื้องผา, นกเอี้ยงถ้ำ, นกเดินดงพันธุ์ญี่ปุ่น, นกเดินดงสีดำ เป็นต้น [1]
เป็ดแดง : เป็ดขนาดเล็ก พบการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็น อินเดีย, เนปาล, เวียดนาม, สิงคโปร์, มาเลเซีย, พม่า, ไทย เป็นต้น ส่วนสถานะในประเทศไทย เป็ดแดงถือว่าเป็น สัตว์สงวนในไทย หรือสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวน และการคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 หากพบว่ามีการล่า มีการครอบครองโดยไม่ได้รับการอนุญาต อาจมีโทษผิดทันที [2]
ทำไมสัตว์ปีกอย่างนก ถึงเป็นสัตว์ที่มีการย้ายถิ่นฐานบ่อยที่สุด เนื่องจากนกเป็นสัตว์ที่มีเมตาบอลิซึมสูง จึงจำเป็นจะต้องหาอาหาร กินอาหารตลอดเวลา ทำให้ต้องมองหาแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์ รวมถึงพื้นที่ที่เหมาะสมในการวางไข่ ไปจนถึงการเลี้ยงดูลูกอ่อน
ซึ่งการอพยพย้ายถิ่นฐานของ นกอพยพในไทย เกิดเนื่องมาจาก 2 ปัจจัยที่สอดคล้องกัน ได้แก่ สภาพแวดล้อม + ภูมิอากาศ กล่าวคือ จะต้องมีสภาพแวดล้อม และช่วงเวลาที่อาหารเหลือพอ สำหรับการสะสมพลังงานสำรองไว้ในร่างกาย เพราะในตอนที่นกจะบินย้ายไปที่อยู่ใหม่ จะไม่มีการแวะกินอาหาร เพราะหากมีการแวะกินอาหารจนอิ่ม นกจะสูญเสียพลังงานในการบินระยะไกลทันที
นกสติ๊นท์เล็ก : นางยางขนาดเล็กที่เกิดการผสมพันธุ์ในยุโรป และเอเชีย ซึ่งที่อยู่อาศัยจะเป็นพื้นที่อาร์กติก บางครั้งจะมีการอพยพไปยังอเมริกาเหนือ ไปจนถึงออสเตรเลีย ถือว่าเป็นกลุ่มสัตว์ปีกชนิด นกในต่างประเทศ ที่ได้รับสถานะอนุรักษ์ [3]
นกอีก๋อยใหญ่ : หรือนกปากห่างยูเรเซียน เป็นกลุ่มนกยางขนาดใหญ่ ที่มักแพร่หลายในยุโรป รวมถึงเอเชีย มีพฤติกรรมชอบระมัดระวังตัวเอง ปัจจุบันนกอีก๋อยใหญ่ ได้ถูกจัดให้อยู่ในสถานภาพของ สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ หรือสัตว์ถูกคุกคามจากมนุษย์ จากสุนัขจิ้งจอก และจากนกนักล่า [4]
ป่าดงดิบ ป่าเขาสูง ป่าละเมาะทั่วประเทศ : ส่วนใหญ่จะพบกลุ่มนกบกมากที่สุด ในพื้นที่ป่าของประเทศไทย
ทะเล และชายฝั่ง : ในทะเลอันดามันตามเกาะ ตามชายฝั่งต่าง ๆ รวมถึงอ่าวไทย จะพบกลุ่ม นกอพยพในไทย และนกนางนวลชนิดต่าง ๆ
ป่าชายเลน : ส่วนใหญ่จะพบสัตว์ปีกอย่าง นกสายพันธุ์หายาก ตามชายฝั่งรอบอ่าวไทย รวมถึงทะเลอันดามัน
พื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญของประเทศ : อาทิเช่น หนองบงคาย จังหวัดเชียงราย บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ บลา ๆ
แหล่งน้ำจืด : อาทิเช่น ทะเลสาบ, บึง, หนอง, อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา, ทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง, ห้วยศาลา จังหวัดบุรีรัมย์ บลา ๆ
พื้นที่เกษตรกรรม : รวมถึงแหล่งชุมชนในเมืองต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะพบสัตว์ปีกอย่าง นกสายพันธุ์แปลก ที่อยู่ในกลุ่มนกบก เป็นต้น
ด้วยสัตว์โลกที่เป็นกลุ่มสัตว์ปีก ถือว่าเป็นสัตว์ที่มีการย้ายถิ่นที่อยู่ เพื่อมองหาแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์มากที่สุด นอกจากมองหาอาหารแล้ว ยังมองหาสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การวางไข่ และการเลี้ยงลูกอ่อน อีกทั้งหากพบว่าสถานที่นั้น ๆ เริ่มไม่เหมาะจะดำรงอยู่ หรืออาหารน้อยลง นกจะกักเก็บพลังงาน และพากันอพยพย้ายทันที