ต๊กโต เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ที่หลายคนคุ้นเคยโดยเฉพาะคนไทย ที่มักพบมันตามบ้านเรือน หรืออาคารต่างๆ ต๊กโตมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งเสียงร้องที่ฟังแล้ว เหมือนมันกำลังเรียกว่า “ต๊ก-โต” และรูปลักษณ์ที่อาจจะไม่ถูกใจ ใครหลายๆคน และบางคนอาจจะมองว่าน่ากลัว แต่แท้จริงแล้วต๊กโต เป็นสัตว์ที่มีประโยชน์มาก เพราะมีบทบาทในระบบนิเวศของเรา และมีเรื่องน่าสนใจมากมาย บทความนี้ จะพาไปทำความรู้จักกับต๊กโต ว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง
ต๊กโต มาจากภาษาเหนือ (ภาษาล้านนา) หมายถึง “ตุ๊กแก” ในภาษาไทย เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง พบได้ทั่วไปในประเทศไทย และภูมิภาคใกล้เคียง ชอบอาศัยอยู่ตามบ้านเรือน หรือในป่า จะไม่ค่อยออกมาเพ่นพ่าน ให้เห็นมากนัก เพราะต๊กโตจะชอบอาศัย อยู่ตามมุมมืด ปราศจากการรบกวน เป็นสัตว์ที่มีนิสัยดุร้าย มีพฤติกรรมชอบกัดกันเอง และอาจจะกัดผู้ที่ไปรบกวนได้ มีพฤติกรรมสุดแปลกของต๊กโต คือมีพฤติกรรมกินพวกเดียวกันด้วย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
ชื่อทวินาม
ที่มา: “ตุ๊กแกบ้าน” [1]
ต๊กโตเป็นสัตว์ในกลุ่ม Gecko ลำตัวของมันยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ตัวเป็นสีเทาแกมน้ำเงิน มีลวดลายเป็นจุดสีส้มแดงทั่วตัว ทำให้ดูโดดเด่นไม่เหมือนใคร ส่วนสำคัญอีกอย่างของต๊กโตคือ เท้า ที่มีแผ่นดูดช่วยให้มันเกาะติด กับผนังหรือเพดานได้แน่น เหมือนกับ จั๊กกิ้ม แม้จะเป็นพื้นผิวที่เรียบลื่นก็ตาม นอกจากนี้ต๊กโตยังมี หางยาว ที่สามารถขาดได้หากมันต้องการหนีจากศัตรู และหางก็จะงอกใหม่ได้ภายในเวลาไม่นาน
หนึ่งในสิ่งที่ทำให้คนจดจำต๊กโตได้ดีคือ เสียงร้อง ของมัน บางคนเชื่อว่าเสียงนี้ เป็นลางบอกเหตุ อย่างเช่น ถ้าร้องสามครั้งตอนเจอกันครั้งแรก คนเฒ่าคนแก่ ก็จะถือเป็นโชคดี นอกจากนี้ ช่วงเวลาที่ต๊กโตออกมาหากิน มักจะเป็นตอนกลางคืน ซึ่งช่วยลดการเผชิญหน้ากับคน ทำให้ต๊กโตมีประโยชน์ ในการควบคุมแมลง และศัตรูพืชภายในบ้าน
ต๊กโตเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมเฉพาะตัว ทั้งในด้านการหากิน การป้องกันตัว และการสื่อสาร ต๊กโตส่วนใหญ่จะ ออกหากินในช่วงเวลากลางคืน เพื่อหลีกเลี่ยงความร้อนในตอนกลางวัน และลดการพบเจอกับศัตรู มันจะซ่อนตัวตามมุมมืด ในบ้านหรือที่ซึ่งแมลงชุกชุม อย่างเช่น ใกล้แหล่งไฟฟ้า ที่มีแมลงบินเข้ามา ต๊กโตเป็นนักล่าที่มีความคล่องแคล่ว มันจะ รอจังหวะนิ่งๆ แล้วพุ่งตัวไปจับแมลงอย่างรวดเร็ว เมื่อเจอเหยื่อ
ต๊กโตมีวิธีป้องกันตัวจากศัตรู ที่หลากหลาย เช่น การปล่อยหางทิ้ง (Autotomy)เมื่อถูกศัตรูจับที่หาง ต๊กโตสามารถปล่อยหางทิ้ง เพื่อให้หนีรอดไปได้ โดยหางใหม่จะงอกขึ้นมาแทน [2] แต่หางที่งอกใหม่ มักจะมีสีเข้มกว่าของเดิม นอกจากเสียง “ต๊ก-โต” ที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว หากรู้สึกถูกคุกคาม ต๊กโตอาจส่งเสียงร้อง ที่ดังกว่าเพื่อขู่ศัตรู
เสียงร้องของต๊กโต นอกจากจะขู่ศัตรูแล้ว ยังใช้เพื่อ สื่อสารกับต๊กโตตัวอื่น เช่น การแสดงอาณาเขตหรือเรียกหาคู่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์ เสียงร้องบ่อยครั้งจะดัง และถี่ขึ้นกว่าปกติ
ต๊กโต มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อ ระบบนิเวศ มีบทบาทในการรักษาสมดุล ของธรรมชาติ ด้วยพฤติกรรมการกิน และความสามารถ ในการควบคุมประชากรแมลง ทำให้ต๊กโตกลายเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ที่ช่วยให้ระบบนิเวศ ดำเนินไปอย่างปกติ นอกจากจะช่วยควบคุมประชากร ของแมลงที่อาจเป็นศัตรูพืช และพาหะนำโรคแล้ว ต๊กโตยังมีส่วนช่วยป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคบางชนิด เช่น ไข้เลือดออก
แม้ต๊กโตจะเป็นผู้ล่า แต่ในห่วงโซ่อาหาร มันก็เป็นเหยื่อสำคัญ ของสัตว์อื่นๆ อย่างเช่น งู นก การที่ต๊กโตเป็นอาหาร ของสัตว์เหล่านี้ ช่วยให้ห่วงโซ่อาหาร ดำเนินไปอย่างสมดุล นอกจากนี้ต๊กโตยังรักษาสมดุล ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ในบริเวณที่มนุษย์อาศัยอยู่ ต๊กโตช่วยสร้างสมดุล ให้กับสภาพแวดล้อม ภายในบ้านและสวน การมีต๊กโตในบ้าน ไม่แค่ลดจำนวนแมลง แต่ยังช่วยลดความเสี่ยง จากสารเคมี ที่ใช้ในการกำจัดแมลงได้ด้วย
ต๊กโตเป็นสัตว์ที่มีความเชื่อหลายอย่าง ในวัฒนธรรมไทย ซึ่งบางคนมองว่ามันนำโชคดี ในขณะที่บางคน อาจเชื่อว่ามันเป็นสัญญาณ บอกเหตุร้าย ความเชื่อเหล่านี้ ถูกส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น ยกตัวอย่าง
ต๊กโตไม่ได้เป็นเพียงสัตว์ ที่พบได้ในบ้าน แต่ยังมีบทบาทสำคัญ ในวงการแพทย์ โดยเฉพาะใน แถบเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลี และ เวียดนาม ที่เชื่อว่าต๊กโตมีคุณสมบัติทางยาหลายอย่าง ต๊กโตแห้ง เป็นที่ต้องการสูงในตลาดสมุนไพร เพราะมีความเชื่อว่า
กระบวนการทำต๊กโตเป็นยา มักจะเริ่มจากการจับต๊กโตมาแปรรูป เป็นต๊กโตแห้ง ซึ่งต้องผ่านการตากแดด หรืออบให้แห้งสนิทก่อนส่งขาย ให้ร้านขายยา [3] อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีผลพิสูจน์ทางการแพทย์ ที่ออกมารับรองอย่างเป็นทางการ
สรุป ต๊กโต อาจดูเป็นสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็ก ที่หลายคนไม่ใส่ใจ และบางคนอาจมองว่ามันน่ากลัว แต่หากเรามองในแง่ดี จะเห็นว่าต๊กโตเป็นตัวช่วยสำคัญ ในบ้านเรา มันมีบทบาทสำคัญต่อการรักษาสมดุล ของระบบนิเวศ ตั้งแต่การช่วยควบคุมแมลง ไปจนถึงการเป็นอาหาร ของสัตว์นักล่าในห่วงโซ่อาหาร การปกป้องและไม่ทำลายประชากรต๊กโต จึงถือเป็นวิธีหนึ่ง ในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศให้ยั่งยืนได้