ช้างแมมมอธ ช้างขนฟูยุคน้ำแข็ง

ช้างแมมมอธ

ช้างแมมมอธ สัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ ที่หลายคนคงนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ ถ้าพูดถึงสัตว์ในยุคนั้น
ถ้าเราย้อนกลับไป ในยุคโบราณเมื่อหลายหมื่นปีก่อน เราคงได้เห็นสัตว์ยักษ์ ที่เรียกว่าช้างแมมมอธเดินเตร็ดเตร่ไปทั่วพื้นที่ ที่ปกคลุมด้วยหิมะและน้ำแข็ง ช้างแมมมอธเป็นสัตว์ในตระกูลเดียวกับช้างที่เราคุ้นเคย แต่มีขนาดใหญ่ยักษ์ กว่าช้างทั่วไปมาก ใช้ชีวิตมาตั้งแต่ยุคน้ำแข็ง จนถึงยุคที่มนุษย์ เริ่มพัฒนาเครื่องมือหิน ซึ่งพวกมันอยู่รอด มานานหลายล้านปี แต่สุดท้ายก็ต้องเผชิญกับการสูญพันธุ์ไป เมื่อประมาณ 11,700 ปีก่อน

ช้างแมมมอธ คืออะไร

ช้างแมมมอธ (Mammoth) เป็นสัตว์ที่เคยมีชีวิตอยู่ในยุคน้ำแข็ง พวกมันมีความใกล้ชิดกับช้างในปัจจุบันมาก โดยเฉพาะช้างเอเชีย แต่อย่างที่หลายคนคงทราบ แมมมอธเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เมื่อประมาณ 11,700 ปีก่อนในช่วงปลายยุคน้ำแข็ง ชนิดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ “แมมมอธขนยาว” (Woolly Mammoth) ซึ่งมีขนยาวหนา เพื่อให้ทนทานต่ออากาศหนาวเย็น ที่ปกคลุมในยุคนั้น

ลักษณะของช้างแมมมอธ

สิ่งที่โดดเด่นที่สุด สำหรับช้างแมมมอธก็คือ ขนหนาและยาว ขนนี้ช่วยป้องกันไม่ให้พวกมัน หนาวจนเกินไป เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่เย็นจัด อย่างไซบีเรียหรือยุโรปเหนือ ขนของพวกมันยาวได้ถึงประมาณ 90 เซนติเมตร ซึ่งทำให้พวกมันดูเหมือน ยักษ์ขนฟูขนาดใหญ่ งายาวและโค้งมากกว่าช้างปัจจุบัน งาของมันสามารถยาวได้ถึง 4 เมตร และงาที่โค้งนี้ ช่วยให้พวกมันสามารถขุดหาพืชพรรณใต้หิมะ เพื่อนำมาเป็นอาหาร

อีกทั้งยังใช้ป้องกันตัวจากนักล่า ที่อาจคุกคามพวกมันด้วย ช้างแมมมอธมีขนาดตัวที่ใหญ่มาก เมื่อโตเต็มที่ แมมมอธสามารถสูงได้ถึง 2.67-3.49 เมตร และหนักถึง 3-8 ตัน ขนาดตัวที่ใหญ่มหึมานี้ ทำให้พวกมัน เป็นสัตว์ที่น่าเกรงขาม ในยุคสมัยนั้น ช้างแมมมอธแข็งแรงมาก เพราะพวกมันต้องเดินทางไกล ท่ามกลางหิมะและน้ำแข็ง เพื่อหาอาหาร และที่พักอาศัย [1]

สภาพแวดล้อม ที่ช้างแมมมอธอาศัยอยู่

ช้างแมมมอธเจริญเติบโตได้ดี ในช่วงยุคน้ำแข็ง ซึ่งเป็นช่วงที่อุณหภูมิของโลก เย็นลงอย่างมาก พื้นที่ส่วนใหญ่ ถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนา พวกมันอาศัยอยู่ในพื้นที่ ที่หนาวเย็นของยูเรเซีย อเมริกาเหนือ และไซบีเรีย ที่ซึ่งทุ่งหญ้าและพืชพรรณประปราย เป็นแหล่งอาหารหลักของพวกมัน

การที่แมมมอธสามารถอยู่รอด ในสภาพแวดล้อมที่หนาวเย็นได้ เป็นเพราะมีการ ปรับตัวที่ดีเยี่ยม ขนยาวหนาช่วยป้องกันความหนาว ชั้นไขมันหนาใต้ผิวหนัง ช่วยเก็บความร้อน และงาขนาดใหญ่ ที่ช่วยในการขุดหาหญ้า หรือพืชที่ซ่อนอยู่ใต้หิมะ

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

  • อาณาจักร : Animalia
  • ไฟลัม : Chordata
  • ชั้น : Mammalia
  • อันดับ : Proboscidea
  • วงศ์ : Elephantidae
  • สกุล : Mammuthus
  • ชนิดต้นแบบ : Elephas primigenius

ชนิดของช้างแมมมอธ

  •  africanavus (แมมมอธแอฟริกา)
  •  columbi (แมมมอธโคลัมเบียน)
  •  creticus (แมมมอธแคระเครตัน)
  •  exilis (แมมมอธแคระ)
  •  lamarmorai (แมมมอธแคระซาร์ดิเนียน)
  •  jeffersonii (แมมมอธเจฟเฟอร์โซเนีย)
  •  trogontherii (แมมมอธทุ่งหญ้าสเตปป์)
  •  meridionalis
  • subplanifrons (แมมมอธแอฟริกาใต้)
  • primigenius (แมมมอธขนดก)

ที่มา: “ช้างแมมมอธ” [2]

การสูญพันธุ์ของช้างแมมมอธ

ช้างแมมมอธ

ช้างแมมมอธ แม้จะอยู่รอดผ่านยุคน้ำแข็งมาได้ แต่มันกลับไม่สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลง ของสภาพอากาศ และสภาพแวดล้อมได้อีกต่อไป เหมือนกับสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เหมือนสัตว์ล้านปีอย่าง ไดโนเสาร์ สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้พวกมันสูญพันธุ์นั้น ค่อนข้างซับซ้อน หนึ่งในสาเหตุใหญ่คือ “การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ” (Climate Change) เมื่อโลกเริ่มอุ่นขึ้น ภูมิอากาศเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว พื้นที่ที่เคยเป็นแหล่งอาหารของพวกมัน ก็ถูกทดแทนด้วยป่าไม้ ที่ไม่เหมาะสมกับแมมมอธ ในการหาอาหาร การหาอาหารยากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้จำนวนประชากรลดลง

ปัจจัยอื่นๆที่ทำให้สูญพันธุ์

การล่าของมนุษย์ เพื่อเนื้อและงา

  • อีกปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ช้างแมมมอธสูญพันธุ์ คือการล่าของมนุษย์ยุคโบราณ มนุษย์ในยุคนั้น พึ่งพาแมมมอธในหลายด้าน ทั้งการใช้เนื้อเป็นอาหาร หนังและขนเพื่อทำเสื้อผ้าหรือที่พัก และงาซึ่งมีค่าในการทำเครื่องมือ และงานศิลปะ มนุษย์เริ่มมีทักษะการล่าที่พัฒนา ทำให้สามารถจัดการกับสัตว์ขนาดใหญ่ เช่นช้างแมมมอธได้มากขึ้น ส่งผลให้ประชากรแมมมอธ ลดลงอย่างรวดเร็วในหลายพื้นที่

การล่าที่มากเกินไป

  • การล่าของมนุษย์ ไม่ใช่แค่เพื่อการอยู่รอดเท่านั้น แต่การล่ามากเกินไป ในบางพื้นที่ทำให้ประชากรแมมมอธลดลง ในอัตราที่ไม่สามารถฟื้นตัวได้ ช้างแมมมอธที่ต้องพึ่งพาการสืบพันธุ์ช้าอยู่แล้ว จึงไม่สามารถเพิ่มจำนวนประชากร ได้ทันกับการถูกล่า

โอกาสการคืนชีพของช้างแมมมอธ

ในปัจจุบัน มีโครงการวิจัยที่น่าสนใจอย่างมาก คือการฟื้นคืนชีพช้างแมมมอธ นักวิทยาศาสตร์ ใช้เทคโนโลยีทางพันธุกรรม ที่เรียกว่า “การโคลนนิ่ง” เพื่อพยายามสร้างช้างแมมมอธขึ้นมาใหม่ จากดีเอ็นเอที่พบในซากฟอสซิล หรือซากแช่แข็งของพวกมัน ในพื้นที่ไซบีเรีย แม้ว่าการคืนชีพของแมมมอธ ยังอยู่ในขั้นทดลอง แต่ก็ถือว่าเป็นการพัฒนาที่น่าจับตามอง และอาจเปลี่ยนแปลง วงการวิทยาศาสตร์ในอนาคต [3]

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังคาดหวังว่า หากพวกเขาสามารถนำช้างแมมมอธกลับมาได้ มันอาจช่วยในกระบวนการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ในเขตทุนดราของอาร์กติก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก จากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยช้างแมมมอธ สามารถช่วยในการตัดทอนพืชพรรณที่ไม่เหมาะสม และเปิดพื้นที่ให้กับหญ้า ที่ช่วยลดการละลายของน้ำแข็ง

สรุป ช้างแมมมอธ Mammoth

สรุป ช้างแมมมอธ ถึงแม้จะสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่มันก็ยังคงอยู่ในจินตนาการของเรา ผ่านภาพยนตร์ หนังสือ และการค้นพบทางโบราณคดีใหม่ๆ ที่ทำให้เรายังคงรู้สึกใกล้ชิด กับสัตว์ยักษ์ตัวนี้อยู่ แมมมอธไม่ใช่แค่สัตว์ขนาดใหญ่ ที่ตายจากไปแล้ว แต่เป็นส่วนหนึ่ง ของประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ การเรียนรู้เกี่ยวกับช้างแมมมอธ ช่วยให้เราเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของโลก และสภาพแวดล้อม และเตือนใจให้เราระวังต่อผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง ของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง