โลมาชมพู หรือที่เรียกอย่าง เป็นทางการว่า “โลมาหลังโหนก” (Sousa chinensis) เป็นสัตว์ทะเลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยสีสันที่เป็นสีชมพูของมัน เป็นที่น่าทึ่งมาก สำหรับคนที่พบเห็น พบได้ในบริเวณชายฝั่งของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย โดยเฉพาะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นแหล่งที่พบโลมาชนิดนี้บ่อยที่สุด
โลมาชมพู ไม่ได้มีสีชมพูตั้งแต่เกิด แต่จะค่อยๆ เปลี่ยนจากสีเทาที่เข้ม เหมือนกับ ปลาโลมาปากขวด และมาเปลี่ยนเป็นสีชมพูเมื่อโตขึ้น มีตั้งแต่สีชมพูอ่อน จนถึงชมพูสดใส การเปลี่ยนแปลงของสี อาจเป็นผลมาจากการเพิ่มของหลอดเลือดใต้ผิวหนัง และการลดลงของเม็ดสี ซึ่งเป็นการปรับตัว ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของพวกมัน [1]
สามารถรับชม ปลาโลมาสีชมพูเต็มๆ ได้ที่ อุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้
พิกัด : https://goo.gl/maps/C1EvkMwTceigzBUG6
โลมาสีชมพูหรือ โลมาหลังโหนก เป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมที่ซับซ้อน และน่าสนใจ พวกมันเป็นสัตว์สังคมที่อาศัย และทำกิจกรรมต่างๆ ในกลุ่ม ซึ่งอาจมีสมาชิกตั้งแต่ 3-10 ตัว หรือบางครั้งมากกว่านั้น การอยู่รวมกันเป็นฝูง ช่วยเพิ่มความปลอดภัย และประสิทธิภาพ ในการหาอาหาร
พวกมันสื่อสารกัน ผ่านเสียงที่ใช้สะท้อน (echolocation) เสียงที่หลากหลาย เช่น เสียงหวีด เสียงคลิก และเสียงที่คล้ายกับการเคาะ เพื่อบอกตำแหน่ง หรือเตือนภัย และการนำทางในน้ำขุ่น [2] พวกโลมา ยังมีพฤติกรรม การเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนาน และยังเป็นสัตว์ที่ขี้เล่นมากอีกด้วย
โลมาสีชมพูจะมีลักษณะ หลังโหนก มีจะงอยปากขาวโค้งเล็กน้อย ฐานครีบเป็นสันนูนสูง รองรับครีบหลัง จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญว่า “โลมาหลังโหนก” สีของลำตัวมีการผันแปร เริ่มจากการมีสีเทาเข้ม สีจางจนเหมือนเผือก สีขาว จนถึงสีชมพู มีฟันประมาณ 24-34 คู่ มีตาขนาดเล็ก
ขนาดตัวโตเต็มวัย เพศผู้จะมีขนาดยาว ประมาณ 3.2 เมตร ในขณะที่ตัวเมีย จะมีขนาดความยาว ประมาณ 2.5 เมตร ลูกแรกเกิดจะมีความยาวประมาณ 1 เมตร ปลาโลมาชนิดนี้ เมื่อโตไปจะมีสีชมพูที่เข้มขึ้น และสดชึ้น โดยจะมีอายุเฉลี่ย ประมาณ 40 ปี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
ที่มา: “โลมาหลังโหนก” [3]
โลมาชมพู เป็นสัตว์อีกหนึ่งประเภท ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จึงเป็นคุ้มครองตามกฎหมาย เนื่องจากเป็นสัตว์ ชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ และดึงดูดนักท่องเที่ยว สถานการณ์ของโลมาสีชมพูในประเทศไทย จึงน่ากังวล เพราะมีจำนวนไม่มากนัก
ภาครัฐจึงควรส่งเสริม ความรู้ให้ชาวบ้าน และจัดงบประมาณ ในการสร้างพื้นที่อนุรักษ์โดยตรง ขณะที่ชุมชนควรจัดการ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
แม่โลมาสีชมพูมีบทบาทสำคัญ ในการดูแล และเลี้ยงดูลูกน้อย โดยลูกโลมาจะอยู่กับแม่ ในช่วงแรกของชีวิต ซึ่งอาจกินเวลาหลายเดือน ถึงสองปี ลูกโลมาจะเรียนรู้พฤติกรรม การหาอาหาร การว่ายน้ำ และการสื่อสารจากแม่ และสมาชิกในฝูง การเรียนรู้จากแม่ และกลุ่มเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ลูกโลมา สามารถเอาตัวรอดได้ในอนาคต
เนื่องจากเป็นนักล่าที่ชาญฉลาด พวกมันจึงสามารถหาอาหารได้ ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย โดยอาหารหลักของโลมาสีชมพูประกอบไปด้วย
ปลา : ปลาขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง เป็นอาหารหลัก พวกมันมักล่าปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำตื้น ใกล้ชายฝั่ง ปลาที่โลมาสีชมพูนิยมล่า รวมถึงปลากะพง ปลาทู และปลาแซลมอน
ปลาหมึก : ปลาหมึก เป็นอีกหนึ่งอาหารโปรด ของโลมา ปลาหมึกเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ และมีสารอาหารสูง พวกมันมักจะล่าปลาหมึก ในเวลากลางคืน เมื่อปลาหมึกออกมาหากิน
กุ้งและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง : นอกจากปลา และปลาหมึกแล้ว ยังล่ากุ้ง และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ ที่พบในบริเวณน้ำตื้น ใกล้ชายฝั่ง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีป่าชายเลน หรือแนวปะการัง
สรุป โลมาชมพู ไม่เพียงแค่เป็นสิ่งมหัศจรรย์ ทางธรรมชาติ แต่ยังเป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์ ทางท้องทะเล และเป็นตัวชี้วัด ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่อีกด้วย ดังนั้นจึงควรได้รับความใส่ใจ และความพยายาม ในการรักษาอย่างจริงจัง เพื่อคงอยู่ต่อไปในอนาคต