เรื่องเล่ากระรอก กลุ่มสัตว์ฟันแทะที่ครอบครองต้นไม้ ทั่วพื้นที่นิเวศน์ต่าง ๆ ทั่วโลก พวกมันเป็นถึงนักปีนต้นไม้ ปีนเสาไฟฟ้า ไม่ว่าจะสูงแค่ไหน กระรอกก็สามารถไต่ขึ้นไปได้ โดยบล็อกนี้จะมาพูดถึงเรื่องราวของกระรอก พร้อมกับสายพันธุ์กระรอกที่พบในไทย และสายพันธุ์นิยมเลี้ยงพ่วงด้วยราคาประกอบ
“ กระรอก ” กลุ่มสัตว์ฟันแทะขนาดเล็ก ที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก พวกมันเป็นสัตว์พื้นเมืองในทวีปอเมริกา ยูเรเชีย รวมถึงแอฟริกา โดยมนุษย์เป็นคนนำเข้ามายังประเทศออสเตรเลีย จนสุดท้ายได้แพร่กระจายไปทั่วโลก ทั้งนี้ พวกมันมีความยาวโดยรวม 10 – 14 เซนติเมตร ( 3.9 – 5.5 นิ้ว )
และมีน้ำหนักตัวเพียง 12 – 26 กรัม ( 0.42 – 0.92 ออนซ์ ) อีกทั้งในสายพันธุ์กระรอกส่วนใหญ่ ขาหลังจะมีความยาวกว่าขาหน้า มีกรงเล็บแข็งแรง ที่พร้อมจะคว้าสิ่งของ และปีนต้นไม้ด้วยความว่องไว เมื่อพวกมันที่อยู่ในป่าเริ่มโตเต็มวัย สามารถมีอายุขัยได้ 5 – 10 ปี แต่ถ้าเป็นกระรอกที่โตในกรง อาจมีอายุขัยได้ประมาณ 10 – 20 ปี เป็นต้น [1]
ด้วยกระรอกก็เป็นสัตว์ที่ถูกจัดจำแนกประเภท เช่นเดียวกันกับกระต่าย ถ้าอิงเนื้อหาใน เรื่องเล่ากระต่าย แต่ทว่า สายพันธุ์ที่ถูกจำแนก ได้รับการยอมรับแล้วนั้น จะมีชนิดย่อยน้อยกว่ากระต่ายครึ่งหนึ่ง โดยรายละเอียดดังต่อไปนี้ จะอิงข้อมูลจาก เรื่องเล่ากระรอก ดังนี้
ที่มา: WIKIPEDIA – Squirrel [1]
สำหรับสายพันธุ์กระรอกที่พบในประเทศไทย ล้วนแล้วแต่เป็นพันธุ์ สัตว์ป่าคุ้มครอง ที่ไม่สามารถเลี้ยงในบ้าน หรือจับมาขายในตลาดได้ โดยจะมีทั้งหมด 30 ชนิดด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น
ที่มา: วิกิพีเดีย – กระรอก [2]
มีใครรู้หรือไม่ว่า กระรอกสามารถปลูกต้นไม้ได้มากกว่ามนุษย์ โดยต้นไม้ที่พวกมันปลูก จะงอกออกมาจากเมล็ดพันธุ์ ที่พวกมันเอาไปซ่อนไว้ใต้ดิน แต่ความจริงแล้ว ในเนื้อหาของ เรื่องเล่ากระรอก พวกมันเพียงแค่เก็บเมล็ดพันธุ์เอาไว้ เพื่อไว้กินในวันถัด ๆ ไป แต่มีบางเมล็ดที่พวกมันลืมกิน
จนสุดท้ายก็โตมาเป็นต้นไม้ใหญ่นั่นเอง ซึ่งโดยปกติแล้ว กระรอกมีพฤติกรรมการกินอาหาร ที่มักจะเก็บไว้ก่อนแล้วค่อยกินทีหลัง พวกมันจะกักตุนอาหารให้มากที่สุด แล้วจะนำไปฝังซ่อนใต้ดิน แต่พวกมันฝังไว้เยอะจนเกินไป บางครั้งก็ลืมว่าตัวเองฝังไว้ที่ไหนบ้าง นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นนักปลูกป่า บทบาทที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศธรรมชาติ [3]
กระรอกดิน : พันธุ์ขนาดเล็กที่มีคนเลี้ยงมากที่สุด เนื่องจากมีราคาไม่แพง โดยชนิดที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ กระรอกสวนหลังดำ กระรอกสวนท้องขาว และกระรอกสวนธรรมดา บลา ๆ ทั้งนี้ เรทราคาเริ่มต้น 120 บาทขึ้นไป
กระรอกหลากสี : อีกหนึ่งพันธุ์ที่อิงจาก เรื่องเล่ากระรอก ที่คนนิยมเลี้ยงราคาไม่แพง โดยชนิดที่นิยม ได้แก่ กระรอกเผือก กระรอกเทาท้องขาว และกระรอกแดงท้องขาว ทั้งนี้ เรทราคาขายในตลาดเริ่มต้น 500 – 1,500 บาท
กระรอกสมิง : เป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างมีความสวยงาม แน่นอนว่า ราคาในตลาดจะต้องขายแพง โดยเรทราคาอยู่ที่ 2,000 บาทขึ้นไป เป็นต้น
ในประเทศไทย มีกระรอกอาศัยอยู่หรือไม่ : ตอบเลยว่า “ มี ” แต่ส่วนใหญ่จะเป็นกระรอกยักษ์ดำ สายพันธุ์กระรอกที่ใหญ่ที่สุดในไทย ซึ่งมีความยาวถึง 1 เมตร
กระรอกในประเทศไทย กินอะไรเป็นอาหาร : พวกมันเป็นสัตว์โลกในกลุ่มก้อนของ สัตว์กินพืช ที่ชอบกินอาหารหลากหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่พวกมันจะกิน ใบไม้, ดอกไม้, เมล็ดพืช รวมไปถึงผลไม้ บลา ๆ
กระรอกกินเนื้อได้หรือไม่ : นอกจากพวกมันกินพืชแล้ว ก็มีบางครั้งที่พวกมันจะกินแมลง หรือกินสัตว์ขนาดเล็ก ถ้าพบเห็นว่าพวกมันกินสัตว์เล็ก ๆ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก เป็นต้น
“ กระรอก ” สัตว์ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ปัจจุบันสายพันธุ์ถูกจำแนกออกมาอย่างชัดเจน ระหว่างกระรอกที่เป็นสัตว์คุ้มครองเลี้ยงไม่ได้ และกระรอกที่สามารถเลี้ยงในบ้านได้ หากสนใจอยากลองเลี้ยงกระรอก แนะว่าให้เริ่มต้นเลี้ยง 3 สายพันธุ์ยอดนิยม ไม่ว่าจะเป็น กระรอกดิน กระรอกหลากสี และกระรอกสมิง