เรื่องจริงของหมีกริซลี บล็อกพาชมช่วงชีวิตของหมีสีน้ำตาล หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ หมีกริซลี ” ( Grizzly Bear ) รวมถึงพาติดตามศาสตร์การล่า การโต้ตอบกับมนุษย์ รวมถึงจำนวนประชากรที่ตอนนี้กำลังลดลง มาดูกันว่าพวกมันมีรูปแบบการใช้ชีวิตอย่างไร และปัจจุบันเหลือจำนวนประชากรเท่าไหร่ บล็อกนี้ให้อ่านเนื้อหาได้ก่อนใคร เสมือนว่าคุณกำลังนั่งชม สารคดีสัตว์โลก ผ่านโทรทัศน์
ด้วยชื่อของหมีสีน้ำตาลที่ว่า “ หมีกริซลี ” ( Grizzly Bear ) ทางนักสำรวจชาวอเมริกัน 2 ท่าน “ Meriwether Lewis ” และ “ William Clark ” ได้ตีความหมายชื่อออกมาว่า “ Grizzly ” หมายถึง “ ผมสีเทา ” ซึ่งความหมายนี้ตรงกับสีขนบนลำตัว นี่จึงเป็น เรื่องจริงของหมีกริซลี ในส่วนของความหมายชื่อ
ทั้งนี้ หมีกริซลีเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์หมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่อยู่ในจำพวกของ สัตว์กินเนื้อ ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน เมื่อหมีตัวผู้ที่โตเต็มวัยอาจมีน้ำหนักถึง 180 – 980 กิโลกรัม หรือประมาณ 1 ตัน แต่ถ้าตัวผู้ที่โตเต็มวัยยืน 2 ขา อาจมีความสูงมากถึง 2.5 – 3 เมตร [1]
อย่างไรก็ตาม นอกจากทวีปอเมริกาเหนือมีหมีกริซลีแล้ว ทวีปแอฟริกายังมีสัตว์บกขนาดใหญ่ ที่มีฉายาว่า “ สัตว์บกสุดโหดตลอดกาล ” อย่าง “ ฮิปโปโปเตมัส ” ( Hippopotamus ) อีกด้วย นี่จึงเป็น เรื่องจริงของฮิปโป สัตว์ที่คร่าชีวิตมนุษย์ราว ๆ ปีละ 500 คนเป็นอย่างต่ำ
สิ่งมีชีวิตที่โคตรจะแข็งแกร่ง และเป็นฝันร้ายของ สัตว์นักล่าชั้นยอด จำนวนมากมายในป่า ไม่ว่าจะเป็น กระทิง ควายป่า บลา ๆ เนื่องด้วยหมีกริซลีมีผิวหนังที่แข็งแรง สัตว์ตัวไหนก็ไม่สามารถเจาะเข้าไปได้ บวกกับการมีกรงเล็บที่แหลมคม และตัวขนาดใหญ่มหึมา
นี่จึงเป็นสิ่งที่มันท้าทายศัตรูตัวอื่น ๆ ได้ ซึ่งสายพันธุ์ของพวกมันได้แพร่หลาย ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปยูเรเชีย และทางตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ ทั้งนี้ สัตว์ที่หมีกริซลีจะล่านั้น จะต้องเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น อาทิเช่น กวางเอลก์, กวางเรนเดียร์, ควายป่า
แม้แต่หมีดำก็ยังถูกล่า โดยพวกมันจะเน้นการพุ่งจู่โจมใส่ ใช้กรงเล็บอันแหลมยาว จิกไปบริเวณใกล้ ๆ ลำคอของเหยื่อ จากนั้นจะใช้ฟันกัดเพื่อให้เหยื่อสิ้นฤทธิ์ แต่ถ้าอาหารในพื้นที่เริ่มขาดแคลน พวกมันจะกินปลาในแม่น้ำแทน [2]
กริซลีสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร สัตว์ที่มีลำตัวใหญ่มหึมา บวกการมีพละกำลังที่ไม่ว่า สัตว์ผู้ล่าชั้นยอด ตัวไหนก็ไม่สามารถล้มมันลงได้ ถือว่าพวกมันเป็นสายพันธุ์หมี และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ค่อนข้างมีความน่าสนใจในการสำรวจ นั่นก็เพราะ พวกมันมีเสน่ห์ที่ใครก็อยากจะเฝ้ามองตลอดเวลา บวกพฤติกรรมที่ไม่เหมือนกับสัตว์อื่น ๆ
ไม่ใช่แค่เพราะมันฉลาด แต่มันเป็นเรื่องของการปรับตัวเก่ง คิดจะล่าสัตว์ หรือเปลี่ยนที่อยู่เป็นที่ไหน หมีกริซลีก็สามารถปรับตัวเอง ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ได้ อีกทั้งพวกมันสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็ว 56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่เคยมีนักสำรวจบันทึกความเร็วสูงสุด ณ อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตนได้ที่ 48 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากนี้ หมีกริซลียังเก่งเรื่องปีนต้นไม้อีกด้วย [3]
ก่อนช่วงเวลาที่หมีกริซลีจะจำศีลนั้น พวกมันจะต้องเตรียมตัวในการเพิ่มน้ำหนัก จากที่หนักอยู่แล้ว 180 กิโลกรัมขึ้นไป พวกมันจะต้องเพิ่มขึ้นมาเป็นหลายเท่าตัว เพราะช่วงเวลาที่หมีจำศีลตรงกับฤดูหนาว นี่เป็น เรื่องจริงของหมีกริซลี ที่จะต้องเตรียมตัวในการจำศีลในถ้ำ ทั้งนี้ พวกมันจะต้องจำศีลประมาณ 5 – 7 เดือนต่อปี
แต่ยกเว้นกรณีที่บริเวณนั้นอบอุ่น อากาศไม่เย็นจัด พวกมันถึงจะไม่จำศีล และช่วงเวลานี้เอง หมีตัวเมียจะให้กำเนิดลูกน้อย อีกทั้งช่วงเวลานี้พวกมันจะไม่กินอาหารเลย และจะไม่ขับถ่าย หรือปัสสาวะตลอดช่วงการจำศีล ทั้งนี้ การสิ้นสุดช่วงเวลานี้ของตัวผู้ จะสิ้นสุดในช่วงต้นเดือนมกราคม – เดือนมีนาคม ในขณะที่ตัวเมียจะออกจากถ้ำในเดือนเมษายน หรือต้นเดือนพฤษภาคม
สำหรับการโต้ตอบกับมนุษย์ของหมีกริซลี มีทั้งด้านความสัมพันธ์ระหว่างชนพื้นเมือง และความขัดแย้งกับมนุษย์ แต่ก่อนชนพื้นเมืองอเมริกัน พวกเขาอาศัยอยู่ท่ามกลางดงหมีสีน้ำตาล แน่นอนว่า พวกเขาทั้งหวาดกลัว และมีประชากรเสียชีวิตอยู่เรื่อย ๆ ถึงแม้จะมีอยู่ตัวเดียว แต่พวกเขาก็ไม่กล้าที่จะล่ามัน แต่ทว่า ชนเผ่าตะวันตกบางเผ่า ที่อาศัยอยู่ใกล้ ๆ ชนพื้นเมืองอเมริกัน
พวกเขามีประเพณีการล่าหมีสีน้ำตาล ซึ่งสมาชิกในเผ่าที่ออกไปล่าหมีนั้น จะได้รับความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นผู้กล้าของหมู่บ้าน อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นจะต้องเดินทางเข้าป่า กลุ่มหนึ่งจะต้องมีสมาชิก 6 คนขึ้นไป แนะว่าให้เดินสำรวจด้วยความระมัดระวัง หากไม่ได้เข้าไปยุ่งกับลูกน้อยของมัน มันก็จะไม่เข้ามาทำร้าย
ด้วยสถานะปัจจุบันของหมีกริซลี ได้รับการขึ้นบัญชีว่า สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ในดินแดนสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่ และยังอยู่ในรายชื่อสัตว์เข้าข่ายใกล้สูญพันธุ์ ในบางส่วนของประเทศแคนาดา ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสายพันธุ์ของแคนาดา นี่เป็น เรื่องจริงของหมีกริซลี ที่ว่า
จำนวนประชากรตอนนี้ลดลงจนน่าตกใจ และยิ่งตอนนี้มีข่าวลือหนาหูว่า รัฐบาลสหรัฐฯ อาจกำลังยกเลิกการปกป้องหมีกริซลี นี่อาจทำให้พวกมันถูกมนุษย์คุกคามง่ายขึ้น บวกกับที่อยู่อาศัยกำลังขาดแคลนอาหาร เหล่านี้อาจทำให้มันสูญพันธุ์หายไปเลยก็เป็นได้
ด้วยเรื่องราวช่วงชีวิต พฤติกรรม รวมถึงวิธีการล่าของหมีกริซลี สายพันธุ์หมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ถือว่าเป็นสัตว์นักล่าอันตราย น่าเกรงขาม ที่แม้แต่นักล่าขนาดใหญ่ตัวอื่น ๆ ยังหวาดกลัว หากได้เผลอเดินเข้าไปยังดินแดนของพวกมัน แนะว่าไม่ควรยุ่งกับลูกน้อย เพราะมันอาจพุ่งจู่โจมทำร้ายได้