เต่าทะเล สัตว์มหัสจรรย์ในมหาสมุทร

เต่าทะเล

เต่าทะเล (Sea turtle) เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่ว่าใคร ก็ต้องประทับใจเมื่อได้เห็น ด้วยรูปร่างที่โดดเด่น และการเคลื่อนไหวที่สง่างาม เวลาเต่าทะเลว่ายน้ำ จะดูเหมือนนักบัลเล่ต์ ในน้ำเลยก็ว่าได้ เต่าทะเลไม่ได้เป็นเพียงสัตว์ ที่น่าสนใจเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญ ต่อระบบนิเวศในทะเลอีกด้วย ในบทความนี้ เราจะมาสำรวจโลกของเต่าทะเลกัน

ลักษณะเฉพาะของ เต่าทะเล

เต่าทะเล (Sea turtle) ถึงแม้ว่าจะอาศัยอยู่ในทะเล หรือมหาสมุทร แต่ก็ยังคงลักษณะเฉพาะ ของเต่าทั่วไปไว้อยู่ โดยมีเปลือกแข็งที่หลัง หรือกระดอง ที่ทำหน้าที่ป้องกันตัวเองจากผู้ล่า เปลือกของเต่าทะเลสามารถมีลวดลาย และสีที่แตกต่างกัน ไปตามสายพันธุ์ ขาทั้งสี่ข้างเป็นครีบ รูปทรงจะเหมือนใบพาย เอาไว้สำหรับการว่ายน้ำที่ดีขึ้น ซึ่งจะแตกต่างจากเต่าทั่วไป

เป็นนักว่ายน้ำที่เก่งมาก พวกมันใช้ครีบหน้า เพื่อเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วในน้ำ และครีบหลังเพื่อควบคุมทิศทาง สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทร เป็นพันๆ กิโลเมตร เพื่อหาอาหาร หรือกลับไปยังชายหาด ที่มันเกิดมาเพื่อวางไข่ การเดินทางนี้แสดงให้เห็น ถึงความสามารถ ในการนำทางของพวกมัน

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

  • อาณาจักร : Animalia
  • ไฟลัม : Chordata
  • ชั้น : Reptilia
  • อันดับ : Testudines
  • อันดับย่อย : Cryptodira
  • วงศ์ใหญ่ : Chelonioidea Bauer

วงศ์และสกุล

วงศ์ Cheloniidae

  • สกุล Caretta
  • สกุล Chelonia
  • สกุล Eretmochelys
  • สกุล Lepidochelys
  • สกุล Natator

วงศ์ Dermochelyidae

  • สกุล Dermochelys

วงศ์ Protostegidae

วงศ์ Toxochelyidae

วงศ์ Thalassemyidae

ที่มา: “เต่าทะเล” [1]

เต่าทะเลในน่านน้ำไทย

ในน่านน้ำไทยพบทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ เต่าตนุ, เต่ากระ, เต่าหญ้า, เต่ามะเฟือง และเต่าหัวค้อน
แต่จริงๆแล้ว เต่าทะเลมีทั้งหมด 7 ชนิด โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย คือ Cheloniidae ซึ่งเต่าทะเลส่วนมากจะอยู่ในวงศ์นี้ กับ วงศ์ Dermochelyidae ซึ่งมีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ได้แก่

วงศ์ Cheloniidae

  • เต่าหัวค้อน (Caretta caretta)
  • เต่าตนุ (Chelonia mydas)
  • เต่ากระ (Eretmochelys imbricata)
  • เต่าหญ้าแอตแลนติก (Lepidochelys kempii)
  • เต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea)
  • เต่าตนุหลังแบน (Natator depressus)

วงศ์ Dermochelyidae

  • เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea)

ที่มา: “ข้อมูลทั่วไปของเต่าทะเล” [2]

สถานะปัจจุบันของเต่าทะเล

สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ทำให้เต่าทะเลอ่อนแอลง สถิติการวางไข่ ของเต่าทะเลในไทย ลดลงเป็นอย่างมากจาก 2,500 รังต่อปี เหลือเพียง 300-400 รังต่อปี ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาแม้จะมีความคุ้มครอง แต่ก็ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง จนใกล้จะสูญพันธุ์ สาเหตุมาจากอัตราการรอดของลูกเต่า และการลักลอบเก็บไข่เต่า เพื่อบริโภคหรือจำหน่าย [3]

เต่าทะเล

เต่าทะเล นักเดินทางตัวยง

เต่าทะเล (Sea turtle) เป็นนักเดินทางตัวยง พวกมันสามารถว่ายน้ำ ข้ามมหาสมุทรเป็นพันๆ กิโลเมตรเพื่อไปหาที่วางไข่ที่เหมาะสม เวลาเต่าตัวเมียวางไข่ มันจะกลับไปที่ชายหาด ที่ตัวเองเกิดมาเพื่อวางไข่ ซึ่งเป็นอะไรที่น่าทึ่งมาก แต่ช่วงนี้เต่าทะเลต้องเผชิญ กับปัญหามากมาย

ไม่ว่าจะเป็นมลพิษพลาสติก ที่ทำให้พวกมันสับสนกับอาหาร หรือการสูญเสียถิ่นที่อยู่ เพราะชายหาดหลายแห่ง ถูกพัฒนาจนไม่เหมาะสม กับการวางไข่อีกต่อไป นี่ยังไม่รวมถึงการจับปลาเกินจำเป็น ที่ทำให้เต่าต้องติดกับดัก หรือถูกล่าอีก

ความสำคัญของเต่าทะเลในระบบนิเวศ

เต่าทะเลมีบทบาทสำคัญ ในการรักษาสมดุล ของระบบนิเวศในทะเล พวกมันช่วยควบคุมประชากร ของสัตว์น้ำบางชนิด และยังเป็นส่วนหนึ่ง ในการกระจายพันธุ์พืช ของทะเลอีกด้วย นอกจากนี้ เต่าทะเลยังช่วยสร้างระบบนิเวศใหม่ๆ โดยการวางไข่บนชายหาด ซึ่งเมื่อไข่ที่ฟักไม่สำเร็จ จะกลายเป็นอาหาร ให้แก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ

เต่าทะเลมีอาหารหลักคือ แมงกะพรุน ซึ่งถ้าหากไม่มีเต่าทะเล ประชากรแมงกะพรุน อาจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และทำลายระบบนิเวศในทะเล ดังนั้น เต่าทะเลมีบทบาทสำคัญ ในการควบคุมประชากร ของสัตว์น้ำได้เป็นอย่างดี

อันตรายที่เต่าทะเลต้องเผชิญ และวิธีช่วยเหลือ

มลพิษพลาสติก เป็นปัญหาใหญ่ที่เต่าทะเลต้องเจอ พลาสติกที่ถูกทิ้งในทะเล อาจทำให้เต่าทะเลเข้าใจผิด คิดว่าเป็นอาหาร โดยเฉพาะถุงพลาสติก ที่มีลักษณะคล้ายแมงกะพรุน ซึ่งเป็นอาหารหลักของพวกมัน การกินพลาสติกเข้าไป อาจทำให้เต่าทะเลเจ็บป่วย และเสียชีวิตได้

วิธีง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้ ก็คือลดการใช้พลาสติก เพราะขยะพลาสติก เป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุด สำหรับเต่าทะเลนอกจากนี้ การรักษาชายหาดให้สะอาด และสนับสนุนองค์กรที่ทำงาน เกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่าทะเลนั้น ก็เป็นวิธีที่ดี

สรุป เต่าทะเล Sea turtle

สรุป เต่าทะเล (Sea turtle) ไม่ใช่แค่สัตว์ที่น่าทึ่ง ของทะเลเพียงอย่างเดียว แต่เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ และต้องการความช่วยเหลือ จากเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการลดใช้พลาสติก การปกป้องชายหาด หรือการสนับสนุน โครงการอนุรักษ์ หากเราทุกคนช่วยกัน เต่าทะเลก็จะยังคงเป็นนักเดินทาง แห่งมหาสมุทรที่สง่างาม ต่อไปในอนาคต

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง