เต่าทะเลกับเต่าบก ถือเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ที่หลายคนรู้จักดี เพราะเป็นสัตว์ที่อยู่บนโลกนี้ มานานกว่าหลายร้อยปี แต่ถ้ามองลึก ๆ แล้ว ทั้งสองตัวนี้ มีทั้งความเหมือน และความแตกต่าง กันอยู่มากมาย ทั้งในแง่ของลักษณะร่างกาย การดำเนินชีวิต และถิ่นที่อยู่อาศัย บทความนี้จะพามาดูว่า ความแตกต่างระหว่างเต่าทะเล กับเต่าบกว่ามีอะไรบ้าง
เต่าทะเลกับเต่าบก มีโครงสร้างร่างกาย และการเคลื่อนไหว ที่มีความแตกต่างกัน อยู่บนบกโครงสร้างร่างกาย ก็จะถูกออกแบบมา ให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตบนบก หากินบนพื้นดิน อยู่ในน้ำโครงสร้างร่างกาย ก็จะถูกออกแบบมา ให้เหมาะกับการอยู่ในน้ำ ความแตกต่างในการใช้ชีวิต ของทั้งสองแบบนี้ สะท้อนให้เห็นได้ชัดเจน ผ่านโครงสร้างต่าง ๆ ทางร่างกายของพวกมัน
เต่าทะเล : นักว่ายน้ำตัวจริง
เต่าทะเล มีครีบหน้าเหมือนใบพาย ช่วยให้ว่ายน้ำได้เร็ว เปลือกของมันเรียบและเพรียว เพื่อช่วยลดแรงต้านในน้ำ ส่วนครีบหลังมีขนาดเล็กกว่า ทำหน้าที่ช่วยในการทรงตัว แม้ว่าเต่าทะเล จะมีลำตัวที่เหมาะกับการอยู่ในน้ำ แต่มันจะเคลื่อนไหวบนบก ได้ช้ากว่าเต่าบกมาก
เต่าบก : นักเดินทางผู้แข็งแรง
เต่าบก มีขาที่แข็งแรงและใหญ่ เพื่อใช้ในการเดินและขุดดิน บางสายพันธุ์มีเล็บที่คม เพื่อช่วยในการขุดหาอาหาร เปลือกของมันมีรูปร่างโค้งมน และหนักกว่าเต่าทะเล ช่วยปกป้องมันจากผู้ล่า แต่เมื่อเต่าบกลงไปในน้ำ มันจะเคลื่อนไหวได้ช้ามาก และไม่สามารถว่ายน้ำได้นาน เหมือนเต่าทะเล
เต่าทะเล : มีความคล่องแคล่วในน้ำ ว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็ว และเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อขึ้นบนบก จะเคลื่อนไหวได้ช้าลง เพราะเท้าทั้งสี่ข้างที่ออกแบบ มาให้เหมือนไม้พาย การเดินบนพื้นดิน จึงเป็นอะไรที่ลำบากมาก สำหรับเต่าทะเล เต่าทะเลมีอายุยืนมาก เต่าทะเลบางสายพันธุ์สามารถมีอายุได้ถึง 50-150 ปี [1]
เต่าบก : เคลื่อนไหวบนบกได้ดี แม้จะไม่รวดเร็วนัก แต่สามารถเดินทาง ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ได้อย่างมั่นคง สามารถใช้เล็บเกาะเกี่ยวพื้นดิน เพื่อให้เคลื่อนไหวไปด้านหน้าได้ดีขึ้น และเต่าบกหลายสายพันธุ์ ก็มีอายุยืนเช่นกัน บางตัวสามารถมีชีวิตได้ยาวนานกว่า 100 ปี เช่น เต่ายักษ์ ในหมู่เกาะกาลาปาโกส [2]
เต่าทะเลและเต่าบก มีความชอบในถิ่นที่อยู่อาศัย ที่ต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลต่อวิถีชีวิตของพวกมัน รวมทั้งอาหารและการกิน ทั้งสองชนิดก็จะหากิน แบบแตกต่างกัน ตามสภาพสิ่งแวดล้อม ของการใช้ชีวิตที่เป็นอยู่ แต่ที่เหมือนกันคือการหายใจ เพราะเต่าหายใจด้วยปอด ถึงแม้ว่าเต่าทะเลจะอาศัยอยู่ในน้ำ ก็ต้องขึ้นมาหายใจเหนือน้ำ [3] เพื่อให้สามารถกลั้นหายใจใต้น้ำ ได้นานหลายชั่วโมง แต่เต่าบกจะไม่สามารถ อยู่ใต้น้ำได้นาน
เต่าทะเล : เกิดมาเพื่อชีวิตในน้ำ พวกมันใช้เวลาส่วนใหญ่ในทะเล และมักจะอยู่ในมหาสมุทรเปิด ไม่ค่อยเห็นเต่าทะเลขึ้นมาบนบก ยกเว้นตอนวางไข่เท่านั้น ด้วยครีบที่เหมือนพาย เต่าทะเลสามารถว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว เต่าทะเลบางตัว สามารถที่จะว่ายน้ำ ได้เร็วถึง 35 ไมล์ต่อชั่วโมง และเดินทางข้ามมหาสมุทร เพื่อหาอาหาร และวางไข่ได้ไกล เป็นพัน ๆ กิโลเมตร
การสืบพันธุ์ของเต่าทะเล ตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่ บนหาดทราย ไข่เยอะมากเป็นร้อย ๆ ฟอง แต่ว่าเจอกับอันตรายหลายอย่าง ทั้งจากสัตว์ผู้ล่าและมนุษย์
เต่าบก : ในทางกลับกันเต่าบกนั้น ใช้ชีวิตอยู่บนบกเป็นหลัก มันจะมีขาที่แข็งแรง และหนาเพื่อใช้เดิน และขุดดิน ถิ่นที่อยู่อาศัยของเต่าบกมีหลากหลาย ตั้งแต่ป่าเขียวชอุ่ม ไปจนถึงทะเลทราย ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และเต่าบกนั้นจะไม่เก่งเรื่องว่ายน้ำ เท่ากับเต่าทะเล การสืบพันธุ์ของเต่าบก ตัวเมียวางไข่บนดิน ในหลุมที่ขุดเอง แต่ไม่ค่อยมีไข่เยอะเท่าเต่าทะเล อาจจะวางแค่ไม่กี่ฟอง
เต่าทะเล : อาหารทะเลเป็นหลัก
เต่าทะเลส่วนใหญ่ กินอาหารทะเล เช่น แมงกะพรุน สาหร่าย และสัตว์น้ำเล็กๆ บางสายพันธุ์ก็เป็นนักล่า ที่เชี่ยวชาญในการจับเหยื่อ ในทะเลลึก ซึ่งแตกต่างจากเต่าบก ที่กินอาหารบนบก
เต่าบก : สายกินพืช
เต่าบกส่วนใหญ่ เป็นสัตว์กินพืช พวกมันกินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ บางสายพันธุ์อาจกินแมลง หรือสัตว์เล็กๆ เป็นอาหารเสริมบ้าง แต่หลักๆ แล้วอาหารของเต่าบก จะเป็นพืชผักผลไม้ ที่หาได้ตามพื้นดิน
สรุป เต่าทะเลกับเต่าบก เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ที่มีความแตกต่างกันในหลายๆ ด้าน ทั้งในเรื่องของที่อยู่อาศัย โครงสร้างร่างกาย และอาหารที่กิน เต่าทะเลเป็นเจ้าแห่งมหาสมุทร ว่ายน้ำคล่อง และเดินทางไกล ส่วนเต่าบกเป็นนักเดินทางบนบก มีขาที่แข็งแรง และกินพืชผักผลไม้เป็นหลัก ถึงแม้จะมีความแตกต่างกัน แต่ทั้งสองสายพันธุ์ ก็มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของตนเอง และควรได้รับการดูแล และอนุรักษ์จากเราทุกคน