ส่องชีวิต สัตว์เจ้าป่า เสือโคร่งแห่งพงไพร นักล่ารักสันโดษ

สัตว์เจ้าป่า

สัตว์เจ้าป่า แห่งพงไพรของประเทศไทย อย่าง “ เสือโคร่ง ” หนึ่งในสัตว์โลกน่าเกรงขาม ผู้เป็นถึง สัตว์นักล่าชั้นยอด ที่เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ ของระบบนิเวศทางธรรมชาติ ด้วยความดุดันในการออกล่า ผนวกกับความเด็ดขาดของพวกมัน ส่งผลให้พวกมันต้องใช้ชีวิตอย่างสันโดษ นี่จึงเป็นที่มาของฉายาว่า “ นักล่าผู้รักความสันโดษ ”

เสือโคร่ง สุดยอดแมวใหญ่ สัตว์โลกน่าเกรงขาม

ด้วยป่าดงพงไพรไม่ว่าจะในไทย หรือต่างบ้าน ต่างแดน ต่างก็เป็นสถานที่ที่มีแต่ความสวยงาม และความอันตรายที่ซุกซ่อนอยู่ อีกทั้งยังเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ มากมาย แต่ในบรรดาสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น ได้มีสัตว์โลก สัตว์เจ้าป่า ชนิดหนึ่งที่น่าเกรงขาม และสง่างามด้วยลวดลาย

นั่นก็คือ “ เสือโคร่ง ” สุดยอดแมวใหญ่ที่สุด หนึ่งใน สัตว์ผู้ล่าชั้นยอด ที่ทรงพลังมากที่สุดในโลก ด้วยเสือโคร่งโดดเด่นด้วยสีขน บวกลวดลาย กล้ามเนื้อที่แข็งแรง รวมถึงกรงเล็บอันแหลมคม ถือเป็นเครื่องมือสังหารเหยื่อ และไว้ใช้ปกป้องอาณาเขตของพวกมัน

ซึ่งแมวใหญ่ชนิดนี้ สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว เดินลัดเลาะได้ทุกพื้นที่ในเขตป่า [1] หากคุณชื่นชอบสัตว์โลกชนิดนี้ และอยากรู้ทุกเรื่องของพวกมัน บล็อกนี้จะพามาสำรวจ ชีวิตของสัตว์มหัศจรรย์ชนิดนี้

สำรวจสัตว์โลกเจ้าป่า สัตว์สำคัญในระบบนิเวศ

นี่คือเรื่องราวของเสือโคร่ง สุดยอดตระกูลแมวใหญ่ที่สุด โดยพวกมันเป็นหนึ่งในสัตว์โลกเจ้าป่า ที่คอยบ่งชี้ข้อมูลให้กับนักสำรวจป่าว่า หากพวกมันปรากฏตัว ไม่ว่าจะส่วนใดของป่าดงพงไพร มันหมายความว่า ป่าแห่งนั้นมีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์

และถ้าระบบนิเวศเริ่มเสียสมดุล แมวใหญ่ชนิดนี้อาจสูญพันธุ์ได้ นี่จึงเป็นการไขข้อสงสัยที่ดีเลยว่า ทำไมเสือโคร่งถึงเป็นสัตว์โลกที่มีความสำคัญ อีกทั้งชนิดย่อยของพวกมันมีมากถึง 9 ชนิดด้วยกัน แต่ 3 ชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว ยกตัวอย่างเช่น

  • เสือโคร่งไซบีเรีย : ปัจจุบันเหลืออยู่ 500 – 600
  • เสือโคร่งเบงกอล : สถานะประมาณได้ 2,000 ในธรรมชาติ
  • เสือโคร่งอินโดจีน : ประชากรหลงเหลือประมาณ 280 – 330
  • เสือโคร่งสุมาตรา : สถานะที่พบในธรรมชาติ 350
  • เสือโคร่งจีนใต้ : ตอนนี้เหลืออยู่ประมาณ 30 ซึ่งสายพันธุ์นี้เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์มากที่สุด เป็นต้น

ความน่ากลัวของเสือโคร่ง ในฐานะนักล่าแห่งป่า

หากพูดถึงความน่ากลัวของแมวใหญ่ชนิดนี้ คงจะอยู่ที่ฝ่าเท้าขนาดใหญ่ กรงเล็บอันแหลมคม และฟันที่คมยาวของพวกมัน ซึ่ง 3 ส่วนนี้สามารถฉีกทึ้งร่างของเหยื่อให้ขาดได้ เมื่อไหร่ที่ล่าสัตว์สำเร็จ มันจะใช้ฟันคมยาวกัดที่คอเหยื่อ และขย้ำไปที่กระดูกสันหลัง เพื่อไม่ให้เหยื่อหลุดหนีไปได้

โดยฟันกรามของพวกมันแข็งแรงมาก ไม่ว่ากระดูกเหยื่อจะแข็งขนาดไหน ก็สามารถบดขยี้กระดูกให้แหลกได้ ทั้งนี้ กรงเล็บของแมวใหญ่ มีขนาดความยาวถึง 4 นิ้ว นอกจากใช้ล่าเหยื่อแล้ว พวกมันยังใช้เล็บในการปีนป่ายต้นไม้ และขุดหาอาหารจากพื้นดินอีกด้วย

การอนุรักษ์ สัตว์เจ้าป่า ไทยก้าวหน้านำ 1 ด้านการอนุรักษ์

สัตว์เจ้าป่า

จากการที่นักสำรวจป่า ได้ทำการสำรวจจำนวนประชากร สัตว์เจ้าป่า ในประเทศไทย พบว่าปัจจุบันมีประมาณ 223 ตัว ด้วยจำนวนที่คงเหลืออยู่เยอะ ทำให้ประเทศไทยได้เป็นแชมป์ ในเรื่องของการอนุรักษ์เสือโคร่งไปทันที

อีกทั้งยังมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุด ได้แก่ การเคลื่อนย้ายเสือโคร่งที่มีชื่อว่า “ บาโก ” ออกมาจากพื้นที่ป่าคลองลาน เพื่อให้ไปอยู่ที่เขตผืนป่าทับลาน สำหรับการเคลื่อนย้ายในครั้งนี้ ก็เพื่อให้บาโกแข็งแรงในด้านพันธุกรรม [2]

อย่างไรก็ตาม นอกจากในป่าดงพงไพรจะมีสัตว์โลกเจ้าป่า ที่เป็นถึงตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ ของระบบนิเวศธรรมชาติแล้ว ยังมีอีกหนึ่งสัตว์โลกอย่าง “ ฉลามวาฬ ” ( Whale Shark ) ที่เป็นถึง สัตว์เจ้าทะเล ยักษ์ใหญ่ของท้องทะเลประเทศไทย แน่นอนว่า ฉลามวาฬเป็นสัตว์ทะเล ที่เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ ของระบบนิเวศทางทะเลเช่นกัน

การค้นพบนักล่า ผู้รักสันโดษตัวใหม่

เมื่อช่วงเดือนเมษายน ปี 2024 ที่ผ่านมานี้ ทางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้มีการตั้งกล้องภายในป่า ปรากฏว่าพวกเขาได้เห็นถึง สัตว์เจ้าป่า ตัวหนึ่ง เดินผ่านหน้ากล้องแบบช้า ๆ อย่างชัดเจน โดยเจ้าหน้าที่อุทยานคิดว่า มันเป็นเสือโคร่งตัวใหม่ โดยลวดลายของมันเห็นแล้วดูดุดัน แถมลำตัวยังขนาดใหญ่ จึงคิดว่าอาจจะเป็นตัวที่โตเต็มวัยแล้ว

และการปรากฏตัวของเจ้าป่าตัวใหม่ ได้บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่า ณ อุทยานแก่งกระจาน ยิ่งค้นพบแมวใหญ่มากเท่าไหร่ แสดงว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ อาทิเช่น เก้ง กระทิง กวางป่า หรือหมูป่า ก็อาจมีจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่วนนี้ก็ช่วยแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่า [3]

จำนวนประชากร สัตว์เจ้าป่า ในปัจจุบัน

สำหรับจำนวนประชากรเสือโคร่ง จะเป็นจำนวนที่ยังคงเหลืออยู่ ไม่ว่าในประเทศไทย หรือประเทศอื่น ๆ ที่มีการอนุรักษ์เอาไว้ โดยสามารถสรุปออกมาเป็นตัวเลขได้ ดังนี้

  • ไทย ( Thai ) : ปัจจุบันเหลือ 223 ตัว
  • บังกลาเทศ ( Bangladesh ) : เคยมีจำนวนสูงสุด 460 แต่ปัจจุบันเหลืออยู่ 300 ตัว
  • ภูฏาน ( Bhutan ) : เคยมีประชากรสูงสุด 240 สถานะตอนนี้เหลือแค่ 80 ตัว
  • จีน ( China ) : เคยมีจำนวนสูงสุด 35 ปัจจุบันคงเหลือ 30 ตัว
  • อินเดีย ( India ) : เคยมีประชากรสูงสุด 3,000 – 3,750 สถานะตอนนี้เหลือ 2,500 ตัว
  • เนปาล ( Nepal ) : เคยมีจำนวนสูงสุด 250 ปัจจุบันเหลือเพียง 150 ตัว เป็นต้น

สรุป สัตว์เจ้าป่า

อีกหนึ่งสัตว์โลกมหัศจรรย์ รักความสันโดษ ชอบออกล่าเพียงตัวเดียว อย่าง “ เสือโคร่ง ” สัตว์ที่สามารถพบได้ทั้งในไทย และประเทศอื่น ๆ พวกมันถือว่ามีความสำคัญ เพราะเป็นตัวชี้วัดแสดงถึง ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ หากป่าดงพงไพรที่ใดมีการปรากฏตัว หรือมีการค้นพบ นั่นแสดงว่าเขตป่านั้น ระบบนิเวศธรรมชาติดีนั่นเอง

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Pet Noi
Pet Noi

แหล่งอ้างอิง