ส่องชีวิต สัตว์เจ้าทะเล ฉลามวาฬ ยักษ์ใหญ่แห่งท้องทะเล

สัตว์เจ้าทะเล

สัตว์เจ้าทะเล อย่าง “ ปลาฉลามวาฬ ” พี่ใหญ่ใจดีแห่งท้องทะเล 1 ใน 5 ยักษ์ใหญ่ที่อยู่ในบัญชีสัตว์น้ำสงวนของไทย ด้วยความที่เป็นกลุ่มปลาตัวใหญ่ที่สุดในโลก มีนิสัยไม่ดุร้าย ไม่มีพิษภัยต่อมนุษย์ ทำให้นักดำน้ำสามารถพบเห็น และถ่ายภาพได้มากที่สุดในบรรดาสัตว์ทะเล แต่ปัจจุบันพวกมันอยู่ในสถานะเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ ด้วยสาเหตุอะไรนั้น บล็อกนี้มีคำตอบให้คุณ

ฉลามวาฬ สัตว์ป่าสงวนของประเทศไทย

ฉลามวาฬ หรือปลาฉลามวาฬ ชื่อนี้อาจทำให้ใครหลายคนสับสนได้ว่า พวกมันเป็นกลุ่มฉลาม หรือกลุ่มวาฬกันแน่ แต่แท้ที่จริงแล้ว สัตว์เจ้าทะเล เป็นตระกูลปลาฉลามชนิดหนึ่ง ด้วยขนาดลำตัวที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยตัวที่โตเต็มวัยจะมีความยาว 8 – 17.5 เมตร มวลน้ำหนักประมาณ 21 – 35 ตัน แต่เคยมีการรายงานเข้ามาว่า มีคนค้นพบ Whale Shark ที่มีขนาดลำตัวใหญ่กว่านี้ ใหญ่พอ ๆ กับรถบัส

ทั้งนี้ พี่ยักษ์กำเนิดมาเมื่อประมาณ 60 ล้านปีมาแล้ว แต่เพิ่งถูกเพิ่มลงในรายชื่อ สัตว์น้ำสงวนของประเทศไทย จึงทำให้ปลาชนิดนี้กลายเป็นปลาที่ห้ามล่าทันที ปัจจุบันสถานภาพของพี่ยักษ์ใหญ่ใจดี ได้รับการประเมินมาแล้ว โดยตอนนี้อยู่ในสถานภาพสัตว์เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ตามการจัดอันดับของ IUCN [1]

ถิ่นที่อยู่อาศัย และการกระจายพันธุ์

Whale Shark มักอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อน และเขตอบอุ่น เนื่องจากบริเวณพื้นที่นั้น มีอุณหภูมิบวกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งสถานที่ที่เต็มไปด้วยแหล่งอาหาร และสามารถพบเจอฉลามวาฬได้ มีดังนี้

  • เกาะทะลุ ( Koh Talu ) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเทศไทย
  • เกาะห้า ( Koh Ha ) จังหวัดกระบี่ ประเทศไทย
  • หินแดง หินม่วง ( Hin Daeng – Hin Muang ) จังหวัดกระบี่ ประเทศไทย ซึ่งสถานที่นี้มีโอกาสพบเจอ ยักษ์ใหญ่ใจดีได้มากที่สุด
  • แนวโขดหินนิงกาลู ( Ningaloo Coast ) ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย
  • โกลด์เดน สพิต ( Gladden Spit ) ประเทศเบลีซ
  • อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลน ประเทศอินโดนีเซีย
  • โนซี่ บี ( Nosy Be ) ประเทศมาดากัสการ์ เป็นต้น

การกินอาหาร และเทคนิคการกินแพลงก์ตอน

สำหรับการกินอาหารของพี่ยักษ์นั้น ปกติแล้วพวกมันกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร โดยใช้วิธีปากดูดน้ำพร้อมแพลงก์ตอนเข้าไป หากพูดให้เข้าใจง่าย ๆ พี่ยักษ์จะดูดน้ำที่มีแพลงก์ตอนเข้าปาก ผ่านช่องกรองในปากนั่นเอง ซึ่งเทคนิคการกินอาหารเช่นนี้ เป็นสาเหตุมาจากการเคลื่อนไหวที่เชื่องช้า

ยิ่งพวกมันเคลื่อนไหวในน้ำช้าเท่าไหร่ ก็จะได้รับแพลงก์ตอนเข้าปากมากเท่านั้น แต่ถ้าเกิดสถานการณ์ที่จะต้องเคลื่อนไหวเร็ว พวกมันสามารถเร่งความเร็วได้ถึง 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่หากไม่มีแพลงก์ตอน พวกมันก็สามารถกินฝูงปลาพันธุ์เล็กได้เช่นกัน [2]

สัตว์เจ้าทะเล กับความผูกพันร่วมกับมนุษย์

สัตว์เจ้าทะเล

อย่างที่ทราบกันดีว่า ฉลามวาฬเป็น สัตว์เจ้าทะเล ที่ไม่มีนิสัยดุร้าย ไม่เคยจู่โจมใส่มนุษย์ หรือทำร้ายมนุษย์เลย อีกทั้งยังไม่ไล่ล่าสัตว์ทะเลด้วยกัน จึงทำให้พวกมันไม่ได้รับการขนานนามว่าเป็น สัตว์นักล่าชั้นยอด ใต้ท้องทะเล นี่จึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไม Whale Shark ถึงมีความผูกพันร่วมกับมนุษย์

อย่างนักดำน้ำบางคนมักจะพบเห็น และเก็บภาพไว้ได้มากที่สุด บางครั้งก็ชอบโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ เพื่อสำรวจสภาพแวดล้อม หรือโผล่ขึ้นมาเพื่อเล่นกันระหว่างพวกมันเอง บลา ๆ แต่ขอบอกก่อนว่า สัตว์ทะเลชนิดนี้ไม่ได้จะพบเห็นกันง่าย ๆ นักดำน้ำที่มาในทริปเดียวกัน มีการดำน้ำกันคนละจุด

แน่นอนว่า บางคนก็อาจจะพบเจอ แต่บางคนก็อาจจะไม่ได้พบเจอ ส่วนนี้เองที่ถูกกล่าวขาน พูดต่อกันมาในหมู่นักดำน้ำ หากมีใครเคยพบเห็น ก็จะพบเห็นอยู่ตลอดทุกครั้งที่ไปดำน้ำ แต่ใครที่ไม่เคยพบเจอ ทุกครั้งที่ไปดำน้ำก็จะไม่เจอเลย เป็นต้น

ภัยคุกคามต่อพี่ใหญ่ใจดี

สาเหตุหนึ่งที่เป็นภัยคุกคาม เสี่ยงให้จำนวนประชากร Whale Shark ลดลง ได้แก่ การทำประมงนั่นเอง แม้ว่าพวกมันไม่ใช่เป้าหมายหลักของนักประมง แต่ก็เกิดสถานการณ์ที่พวกมัน ติดเครื่องมือประมงอยู่บ่อย ๆ จึงทำให้ชาวประมงบางคนได้จับตัว สัตว์เจ้าทะเล ขึ้นมาจากน้ำ เพื่อนำครีบขนาดใหญ่ไปขาย เนื่องจากครีบให้ราคาดี ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นภัยคุกคาม ทำให้จำนวนลดลงไปอีกนั้น

ได้แก่ การจอดเรือเพื่อชมพี่ยักษ์ใหญ่ใจดีนั่นเอง บางครั้งพวกมันว่ายน้ำเข้ามาใกล้ และอาจว่ายชนเรือได้ นี่ก็อาจทำให้พวกมันบาดเจ็บจนเสียชีวิตได้เช่นกัน นอกจากนี้ ปัญหาเรื่องไมโครพลาสติก ที่มักลอยติดมากับแพลงก์ตอน อาหารจานหลักของฉลามวาฬ หากพวกมันกินเข้าไปจำนวนมาก อาจส่งผลเสียต่อการสืบพันธุ์ได้

รวมเรื่องน่ารู้ของ สัตว์เจ้าทะเล

สำหรับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Whale Shark หลัก ๆ แล้วมีถึง 6 เรื่องน่ารู้ด้วยกัน แต่บล็อกนี้จะยกมานำเสนอเพียง 2 – 4 เรื่องน่ารู้เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น

  • ทำไมถึงชื่อฉลามวาฬ : พวกมันถูกจัดให้อยู่ในตระกูลปลาฉลาม เนื่องจากหายใจเข้าออกทางเหงือก ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มปลาวาฬ ที่มีการหายใจเข้าออกด้วยปอด และถึงแม้ชื่อนี้ฟังแล้ว หรือได้ยินแล้วอาจทำให้กลัวได้ แต่ความจริงแล้ว พวกมันเป็นสัตว์ทะเลที่ใจดี
  • ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ : พี่ยักษ์ใหญ่ใจดีแต่ละตัว มีลวดลายบนลำตัวที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ซึ่งแต่ละตัวลวดลายจะไม่เหมือนกัน ทำให้นักวิจัยสามารถติดตาม และแยกแยะพวกมันออกได้
  • คนที่พบเจอ กับคนไม่พบเจอ : ส่วนนี้ถูกพูดต่อ ๆ กันในกลุ่มนักดำน้ำ ถึงแม้จะไปทริปเดียวกัน แต่การดำน้ำจะต้องแยกออกไปทีละจุด ทำให้มีบางคนเท่านั้นที่พบเจอ และบางคนเท่านั้นที่จะไม่ได้พบเจอ
  • การเดินทางใต้ทะเล : ฉลามวาฬเป็นสัตว์ทะเลที่ไม่เคยหยุดเคลื่อนที่ จึงมีการคาดการณ์ว่า ในช่วงชีวิตหนึ่งของพวกมัน อาจเดินทางใต้ทะเลได้ถึง 1,000,000 กิโลเมตร เป็นต้น

ที่มา: Abdulthaitube – อับดุลย์เอ๊ย ถามไรตอบได้ – 6 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฉลามวาฬ [3]

สรุป สัตว์เจ้าทะเล

อีกหนึ่งสัตว์ทะเลสุดมหัศจรรย์ มีชื่อขึ้นต้นว่าปลาฉลามอาจทำให้กลัวได้ แต่แท้ที่จริงแล้ว พวกมันเป็นยักษ์ใหญ่สุดใจดี ที่ไม่เคยมีการรายงานว่าจู่โจมมนุษย์ หรือทำร้ายมนุษย์เลย ปัจจุบันกลายเป็นสัตว์ป่าสงวนของประเทศไทย แถมยังเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Pet Noi
Pet Noi

แหล่งอ้างอิง