บันทึก สัตว์หายากในไทย รวมสัตว์ป่าเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์

สัตว์หายากในไทย

สัตว์หายากในไทย หรือสัตว์ป่าสงวน บรรดาสัตว์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก หรือแมลง สัตว์ที่ถูกบันทึกลงใน แฟ้มสัตว์นานาพันธุ์ ว่าเสี่ยงใกล้จะสูญพันธุ์ หรือสิ้นสุดการดำรงอยู่ในธรรมชาติของไทย

และยังไม่ได้อยู่ในรายชื่อของ สัตว์เลี้ยงในบ้าน ที่มนุษย์จะสามารถนำไปเลี้ยงภายในบ้านได้ โดยบล็อกนี้ได้รวบรวมรายชื่อ 4 Wild Animals หายาก พร้อมทั้งความสำคัญที่มนุษย์จะต้องร่วมใจกันอนุรักษ์

ความหมาย สัตว์หายากในไทย สิ่งมีชีวิตอัตราพบเจอเพียงน้อยนิด

รวมความ “ สัตว์หายาก ” หมายถึง สัตว์ป่าสงวนใกล้สูญพันธุ์ หรืออาจสูญพันธุ์ไปแล้ว ในปัจจุบันมีจำนวนเหลือให้เห็นเพียงน้อยนิด โดยสัตว์ในไทยที่สิ้นสุดการดำรงอยู่ไปแล้ว มีอยู่ทั้งหมด 15 ชนิด อาทิเช่น นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร, กระซู่, แรด, ควายป่า, ละองละมั่ง, เลียงผา เป็นต้น ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่ทำให้ในประเทศไทย มีจำนวนสัตว์ป่าลดน้อยลง ไม่ว่าจะเป็น

  • ถูกทำลายโดยการล่าจากมนุษย์ หรือถูกสัตว์นักล่าล่าเพื่อกินเป็นอาหาร
  • การสูญพันธุ์ลดน้อยลงไปเองตามธรรมชาติ
  • การนำสัตว์ต่างถิ่นเข้ามาอยู่ร่วมกัน จึงส่งผลต่อระบบนิเวศ เป็นต้น

เหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้มีบทบัญญัติเข้มงวด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่ Wild Animals ในไทย อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้ถูกขายออกไปยัง ตลาดขายสัตว์เลี้ยง ของต่างประเทศแบบไม่ถูกต้อง [1]

ประเทศไทยให้ความสำคัญ สัตว์หายากไว้อย่างไร ?

สัตว์หายากในไทย

ด้วย “ สัตว์ป่า + พืช ” ที่พบในประเทศไทยทั้งหมด พบว่ามีไม่น้อยกว่า 4 ล้านชนิด ซึ่งจำนวนครึ่งหนึ่งพบว่าอยู่ในป่าประมาณ 2 ล้านชนิดพันธุ์ แต่ปรากฏว่าในแต่ละปี สัตว์ป่า + พืช สูญพันธุ์ไปแล้ว 4,000 – 6,000 ชนิด เนื่องจากเกิดจากการทำลายของมนุษย์ ที่มักจะทำลายป่าธรรมชาติ

เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ทำให้ สัตว์ป่า + พืช สูญพันธุ์ไปในอัตราส่วนที่มากกว่า 10,000 เท่า ของอัตราการสิ้นสุดการดำรงอยู่ไปตามธรรมชาติ ทั้งนี้ ประเทศไทยจึงมีมติเอกฉันท์ว่า จะทำการคุ้มครองสัตว์ป่าจากมนุษย์ ป้องกันไม่ให้มีการล่า หรือมีการนำสัตว์ออกมาเพื่อแข่งกีฬา เป็นต้น

เปิดรายชื่อ สัตว์หายากในไทย

แรด : สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ เป็นสัตว์บกที่ใหญ่รองจากช้าง มีขนาดความยาว 3.6 – 5 เมตร ความสูงของไหล่ 1.6 – 2 เมตร น้ำหนักราว ๆ 2.3 – 3.6 ตัน โดยสายพันธุ์แรดใน Thailand ไม่ถูกค้นพบแล้ว แต่พันธุ์แรดที่ยังมีอยู่พบได้ถึง 5 พันธุ์ อาทิเช่น แรดขาว พบได้ในทวีปแอฟริกา, แรดดำ พบได้ในทวีปแอฟริกาเช่นกัน หรือจะเป็นแรดชวา พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น [2]

วาฬบรูด้า : หรือวาฬแกลบ สัตว์หายากในไทย เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ ถูกค้นพบใน Thailand เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ณ พื้นที่อ่าวไทย ซึ่งช่วงเวลานั้นพื้นที่อ่าวไทย เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และเป็นแหล่งศึกษาความรู้เกี่ยวกับวาฬบรูด้า

ตอนนั้นพบว่ามีทั้งหมด 35 ตัว แต่พอเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 พบฝูงวาฬบรูด้าที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา หลังจากนั้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 พบฝูงวาฬบรูด้าประมาณ 40 ตัว ณ พื้นที่ของกรุงเทพมหานคร เป็นต้น [3]

คุณค่า สัตว์หายากในไทย สัตว์โลกเสี่ยงสิ้นสุดการดำรงอยู่

สัตว์หายากในไทย

สัตว์ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ นอกจากจะช่วยรักษาระบบนิเวศของป่าแล้ว สัตว์หายากในไทย ยังมีประโยชน์นานาประการต่อมนุษย์ รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ แต่ประโยชน์ส่วนใหญ่นั้น จะเป็นไปในทางอ้อมมากกว่าทางตรง จึงทำให้มนุษย์หลายคนมองไม่เห็นคุณค่า โดยคุณค่าที่ถือว่าเป็นประโยชน์นั้น มีดังนี้

  • ด้านเศรษฐกิจ : การค้าสัตว์ป่า หรือการค้าขายซากแบบถูกกฎหมาย ทำให้มีรายได้เข้าประเทศ และมีเงินหมุนเวียนภายในประเทศมากขึ้น
  • การเป็นอาหาร : มนุษย์มีการกินเนื้อสัตว์เป็นอาหารมานาน อีกทั้ง Wild Animals บางชนิดก็ถูกเปลี่ยนสถานะให้เป็น สัตว์เลี้ยงยอดฮิต ที่สามารถเลี้ยงในบ้านได้
  • เครื่องใช้ เครื่องประดับ : นอกจากเนื้อสัตว์ไว้บริโภคกินเป็นอาหารแล้ว อวัยวะบางส่วนของร่างกาย ก็สามารถนำไปแปรรูปเป็น รองเท้า, กระเป๋า, งาช้าง, เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น

รายชื่อสัตว์หายากเพิ่มเติม

กวางผา : หรือกวางผาจีนถิ่นใต้ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหน้าตาคล้ายแพะ พบว่ามีการกระจายพันธุ์ไปตั้งแต่ รัฐอัสสัม และรัฐสิกขิมของอินเดีย รวมไปถึงภาคกลาง ภาคใต้ของจีน, ภาคเหนือของไทย, พม่า และลาว อีกทั้งยังมีเพาะเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ จนกลายเป็น สัตว์เลี้ยงสร้างอาชีพ แห่งเดียวใน Thailand ณ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ [4]

พะยูน : สัตว์น้ำชนิดแรกในประเทศไทย ที่ได้รับการกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าสงวน โดยสถานะของพะยูนในปัจจุบัน ตอนนี้กำลังเข้าขั้นวิกฤตหนัก เนื่องจากถูกคุกคามในเรื่องถิ่นที่อยู่อาศัย ทำให้เหลือพื้นที่ที่พบเจอน้อยนิด ได้แก่ บริเวณหาดเจ้าไหม รวมถึงรอบ ๆ เกาะลิบง จังหวัดตรัง ทั้งนี้ เป็นไปได้ว่ายังมีจำนวนพะยูนเหลืออยู่ ตามแถบพื้นที่ทะเลจังหวัดระยอง แต่ยังไม่มีรายงานยืนยันถึงเรื่องนี้ [5]

การอนุรักษ์สัตว์ป่าหายาก ในประเทศไทย

สัตว์หายากในไทย

สิ่งมีชีวิตที่ยังคงเหลือให้เห็นใน Thailand รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ต่างถูกบันทึกลงใน แฟ้มสัตว์ทั่วโลก ว่าเป็น สัตว์หายากในไทย ที่ควรถูกอนุรักษ์เอาไว้ โดยการอนุรักษ์มีดังนี้

  •  กำหนดกฎหมาย รวมถึงวิธีปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ป่าได้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย เป็นแหล่งอาหารของสัตว์ต่อไป
  • การไม่ล่า Wild Animals ทุกชนิด แม้กระทั่งสัตว์ที่ถูกเลี้ยงในบ้านอย่าง สัตว์เลี้ยงฮิตในไทย ก็ไม่ควรถูกล่าจากมนุษย์
  • การป้องกันไฟป่า ไม่เผาป่า ไม่ให้ไปทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย
  • การปลูกฝังการให้ความรัก เพื่อให้เกิดจิตเมตตาต่อสัตว์โลกทุกชนิด เป็นต้น

สรุป สัตว์หายากในไทย

สัตว์ป่ามีอัตราหายาก ไม่ค่อยถูกค้นพบในประเทศไทย ไม่ว่าจะด้วยจำนวนที่ลดลง ถูกไฟคร่าชีวิต หรือถูกมนุษย์ล่าเพื่อนำมาบริโภคเป็นอาหาร ถือเป็นสัตว์ที่ต้องร่วมใจกันอนุรักษ์ เพื่อให้เหล่าน้อง ๆ ได้ดำรงอยู่ในธรรมชาติต่อไป

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Pet Noi
Pet Noi

แหล่งอ้างอิง