สัตว์สังคม สิ่งมีชีวิตจำพวกสัตว์ทุกชนิด ทุกสายพันธุ์ ที่มีความสัมพันธ์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม, การช่วยเหลือพึ่งพากัน, การออกล่าเป็นกลุ่ม หรือการเลี้ยงดูลูกน้อย เป็นต้น โดยบล็อกนี้จะมาให้ความรู้ในเรื่องของ “ ระบบทางสังคมของสัตว์ ” หรือพฤติกรรมการแสดงออกต่าง ๆ
ทุกสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นมาบนโลกนี้ ที่เราเรียกพวกมันว่า “ สัตว์ ” นั้น จะมีระบบทางสังคม หรือพฤติกรรมการกระทำ การแสดงออกที่แตกต่างกัน โดยจะมีปัจจัยบางอย่างที่เป็นตัวกระตุ้น ซึ่งระบบสังคมของ สัตว์สังคม มีความหมายอย่างกว้าง ๆ ว่า การกระทำบางอย่าง การแสดงออกบางอย่างของสัตว์ เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า สิ่งภายนอกที่มากระตุ้น
ไม่ว่าจะเป็น ความเครียด, ความกังวล, ความหิว, ความต้องการ, ความกลัว, แสงสว่าง, ความชื้น, อุณหภูมิ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการได้สัมผัสโดยตรง กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ทั้งนี้ การตอบโต้ต่อสิ่งที่มากระตุ้น พวกมันอาจแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การกิน, การต่อสู้, การนอน, การช่วยเหลือกัน เป็นต้น
“ เมียร์แคต ” ( Meerkat ) เป็นกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก พวกมันจัดอยู่ในกลุ่ม Social Animal ที่มีการอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ณ ทุ่งหญ้าแห้งของแอฟริกาตอนใต้ พวกมันมีพฤติกรรมทางสังคม ที่บ่งบอกว่ามีชีวิตสังคมที่สูง โดยมักจะอาศัยอยู่ร่วมกันประมาณ 10 ตัวขึ้นไป แถมยังมีการจัดลำดับชั้นในกลุ่ม
ซึ่งการจัดลำดับชั้นจะแบ่งออกอย่างชัดเจน โดยเมียร์แคตตัวเมียที่แข็งแรงที่สุด จะรับหน้าที่เป็นผู้นำกลุ่ม และมีบทบาทสำคัญในการสืบพันธุ์กับตัวผู้ที่แข็งแรง ส่วนสมาชิกตัวอื่น ๆ จะแบ่งหน้าที่กัน อาทิเช่น การเฝ้าระวังศัตรูต่าง ๆ อย่าง “ อินทรีนักรบ ” กลุ่มสัตว์ปีกที่เป็นถึงนกนักล่าเหยื่อ ผู้เป็น ราชาแห่งนก บนท้องนภาของทุ่งหญ้าแอฟริกาใต้ รวมถึงสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ [1]
“ เพนกวิน ” ( Penguin ) อีกหนึ่งสัตว์โลกที่มีระบบทางสังคม ค่อนข้างน่าสนใจพอ ๆ กับเมียร์แคต พวกมันเป็นกลุ่มสัตว์ปีกที่บินไม่ได้ มีหน้าตาที่น่ารัก มีสายพันธุ์ย่อยทั้งหมด 17 สายพันธุ์ด้วยกัน อีกทั้งยังมีการสื่อสารกันด้วยการส่งเสียงดัง แถมยังมีพฤติกรรมการอยู่รวมกันเป็นฝูง ซึ่งฝูง ๆ หนึ่งจะมีมากกว่า 20 ตัวขึ้นไป
เวลาที่พวกมันจะติดต่อกันนั้น ตัวใดตัวหนึ่งจะส่งเสียงดังเรียกหาอีกตัว ส่วนเวลาทักทายกัน จะใช้ปาก หรือคอถูกันไปมา นอกจากนี้ หากพวกมันรับรู้ถึงภัยอันตราย พวกมันจะเปล่งเสียงร้องเพื่อเรียกหาครอบครัว เรียกหาเพื่อนให้มารวมตัวกัน ถือว่าเพนกวินเป็นสัตว์ที่สามารถ จดจำเสียงของคู่รัก ลูก หรือเพื่อนได้ [2]
สิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะมนุษย์ หรือ สัตว์สังคม ต่างก็มีแบบแผนในการใช้ชีวิต และการตอบสนองต่อสิ่งเร้า ต่อสิ่งที่มากระตุ้นแตกต่างกัน แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนมีปัจจัยที่มาคอยกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็น
อย่างไรก็ตาม นอกจากโลกนี้ยังมีสัตว์ที่มีระบบทางสังคมแล้ว ยังมีอีกกลุ่มสัตว์ที่ถูกยกให้เป็นสัญลักษณ์ หรือตัวแทนของประเทศนั้น ๆ อย่าง สัตว์ประจำชาติ อาทิเช่น ช้าง, สิงโต, เสือโคร่งอินโดจีน, ควายน้ำ, กูปรี, ควาย, มังกรโคโมโด, อินทรีทะเลท้องขาว บลา ๆ
“ ชิมแปนซี ” ( Chimpanzee ) กลุ่มลิงไม่มีหางที่มักกินแต่วัชพืช ผลไม้ จึงทำให้พวกมันถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม สัตว์กินพืช ที่มีลักษณะทางกายที่คล้ายกับมนุษย์ ปัจจุบันมีชนิดย่อยทั้งหมด 4 ชนิดด้วยกัน ที่ได้รับการรับรอง ไม่ว่าจะเป็น ชิมแปนซีกลาง, ชิมแปนซีตะวันตก, ชิมแปนซีไนจีเรีย, ชิมแปนซีตะวันออก เป็นต้น
นอกจากที่ลักษณะทางกายยังเหมือนมนุษย์แล้ว พฤติกรรมการกระทำต่าง ๆ ก็ยังเหมือนซะจนน่าตกใจอีก เนื่องจากพวกมันมีการเลียนแบบนั่นเอง อาทิเช่น การใช้ไม้หาสาหร่ายในน้ำ, การทำความสะอาด, การโยนก้อนหินใส่ต้นไม้, การเลียนแบบการถ่ายเซลฟี่ของมนุษย์ และการใช้ภาษามือแบบมนุษย์ บลา ๆ [3]
สำหรับพฤติกรรมการกระทำ การแสดงออกต่าง ๆ ของ สัตว์สังคม ถ้าส่วนที่เห็นได้อย่างชัดเจน จะมีทั้งหมด 3 – 4 ประเภทด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น
สัตว์โลกไม่ว่าจะเป็นพันธุ์อะไร สปีชีส์ไหน ก็ย่อมมีระบบทางสังคม และพฤติกรรมการแสดงออก ต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นให้กระทำ แต่ทว่า การโต้ตอบกลับจะแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น การต่อสู้ การนอน หรือแม้กระทั่งการสืบพันธุ์