สัตว์กึ่งน้ำ สามารถเรียกอีกชื่อได้ว่า “ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ” หรือจะอีกชื่อหนึ่งว่า “ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ” สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่อาศัยทั้งบนบก และในน้ำ มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ไม่ว่าจะภายนอก หรือภายใน อาทิเช่น กบ, จระเข้, เต่า, งูน้ำ, ปลาสลิดหิน, ควายน้ำ บลา ๆ โดยสัตว์เหล่านี้ถือว่าเป็นสัตว์เลือดเย็น ปัจจุบันมีชนิดย่อยแล้วกว่า 6,500 ชนิด
สัตว์ที่อยู่อาศัยทั้งในน้ำ และบนบก ล้วนแล้วแต่เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ได้แก่ บางชนิดอาจมีผิวหนังชุ่มชื้น บางชนิดผิวหนังอาจเปียกลื่นอยู่เสมอ บางชนิดไม่มีเกล็ด ไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก ปอด หรือผิวหนัง ส่วนใหญ่แล้ว กลุ่มนี้ถือเป็นสัตว์เลือดเย็น
เช่นเดียวกับสัตว์เลื้อยคลาน แมลง ปลา ทั้งนี้ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ถ้าเข้าสู่ช่วงฤดูแล้ง ไปจนถึงช่วงฤดูหนาว ถึงฤดูร้อน พวกมันจะขุดรูเพื่อจำศีล หนีความแห้งแล้ง เพราะสัตว์บางชนิดจะต้องป้องกัน ไม่ให้ผิวหนังตัวเองแห้งจนเกินไป เพราะถ้าผิวหนังแห้ง อาจทำให้พวกมันหายใจไม่ได้ จนสุดท้ายจะตายในที่สุด [1]
5 ประเภทหลักใหญ่ ๆ ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ได้ถูกจัดจำแนกออกมาอย่างชัดเจน โดยรายละเอียดของประเภท สัตว์กึ่งน้ำ จะมีดังนี้
นอกเหนือจากนี้ ยังมีสัตว์ที่เป็นกลุ่มเอไคโนเดอร์มาตาอีก อย่างพวกเม่นทะเล ปลาดาว หรือจะเป็นกลุ่มสัตว์แอนเนลิดกึ่งน้ำ อย่างพวกไส้เดือน เป็นต้น [2]
“ นาก ” สัตว์มีแกนสันหลัง อันดับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประเภทของ สัตว์กินเนื้อ ที่มักจะกินปลา หอย สัตว์น้ำเล็ก ๆ พวกมันเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แต่ส่วนใหญ่จะอยู่อาศัยในธรรมชาติ ใกล้กับแหล่งน้ำเล็ก ๆ นากจึงเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวก สัตว์บก และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
ทั้งนี้ นากที่พบในประเทศไทย มีทั้งหมด 4 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ นากจมูกขน, นากใหญ่ขนเรียบ, นากใหญ่ธรรมดา และนากเล็กเล็บสั้น อย่างไรก็ตาม นากถือเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ แต่ก่อนมนุษย์ล่าเพื่อเอาหนัง เอาขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์ โดยเฉพาะทวีปยุโรปที่มีการล่านากอย่างหนัก ทำให้นากหลายชนิดเกือบจะเป็น สัตว์สูญพันธุ์ หายไปจากธรรมชาติ [3]
ด้วยประชากรของ สัตว์กึ่งน้ำ รวมถึงสัตว์เลื้อยคลานกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะกำลังเผชิญกับภัยคุกคามทั้งจากแหล่งที่รู้จัก และจากแหล่งที่ไม่รู้จัก โดยภัยคุกคามที่ทำให้ความหนาแน่นลดลง มีดังนี้
“ ตุ่นปากเป็ด ” สัตว์ท้องถิ่นของออสเตรเลีย มีการเกิด และอาศัยอยู่บนบก แต่เวลาออกหากิน ส่วนใหญ่จะอยู่ในน้ำตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป ขณะที่ว่ายน้ำพวกมันจะส่ายปากไปมา เพื่อตรวจจับเหยื่อ ส่วนใหญ่ตุ่นปากเป็ดจะกินกุ้งฝอย, กุ้งนาง, หนอน, หอย รวมถึงแมลงน้ำอื่น ๆ
ทั้งนี้ ตุ่นปากเป็ดเป็นผู้ล่า ที่ช่วยควบคุมขนาดประชากรสัตว์ เพราะถ้าสัตว์ที่เป็นอาหารของตุ่นปากเป็ด มีจำนวนมากจนเกินไป อาจจะไปรบกวน ไปทำลายสิ่งมีชีวิตจำพวกพืชได้ อย่างไรก็ตาม สามารถพบตุ่นปากเป็ดได้เฉพาะ ในแถบตะวันออกของออสเตรเลียเท่านั้น [4]
สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมีอะไรบ้าง : ไม่ว่าจะเป็น คางคก, อึ่งอ่าง, กบ, เขียด บลา ๆ กลุ่มสัตว์มีผิวหนังขรุขระ หนังไม่เรียบ แต่ผิวหนังจะชุ่มชื้นตลอดเวลา
จระเข้เป็นสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกหรือไม่ : สัตว์เลื้อยคลานอย่างจระเข้ เป็นสัตว์ที่อาศัยในน้ำ แต่เมื่อไหร่ที่จะวางไข่ สัตว์กึ่งน้ำ อย่างจระเข้ จะขึ้นจากน้ำมาเพื่อวางไข่บนบก
เพนกวินเป็นสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกหรือไม่ : เพนกวินจัดเป็นสัตว์จำพวกนกบินไม่ได้ แต่จะสามารถว่ายน้ำ หรือดำน้ำลึกได้ จัดว่าเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
แมวน้ำเป็นสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกหรือไม่ : แมวน้ำถือว่าเป็นสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกขนาดใหญ่ จะขึ้นบกเพื่ออยากพักผ่อน เป็นต้น
สิ่งมีชีวิตที่อยู่อาศัยทั้งบนบก และอยู่อาศัยทั้งในน้ำ สัตว์บางชนิดก็ขึ้นบกเพื่อฟักไข่ บางชนิดขึ้นบกเพื่อพักผ่อน แต่ทุกครั้งที่หาอาหารกิน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเหล่านี้ จะหากินอาหารตามแหล่งน้ำ ลำธาร โดยกลุ่มสัตว์เหล่านี้ ก็จะมีทั้งสัตว์จำพวกมีกระดูกสันหลัง สัตว์จำพวกขาปล้อง เป็นต้น