วาฬบรูด้า พี่ใหญ่ของท้องทะเลไทย

วาฬบรูด้า

วาฬบรูด้า (Balaenoptera edeni) เป็นหนึ่งในสัตว์ทะเล ขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญ และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งพบได้ในหลายพื้นที่ทั่วโลก รวมถึงในน่านน้ำ ของประเทศไทย วาฬชนิดนี้มีลักษณะทางกายภาพ และพฤติกรรมที่โดดเด่น ทำให้มีความสำคัญ ต่อระบบนิเวศทางทะเล และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในประเทศไทยเป็นอย่างมาก

ที่มาของชื่อ “วาฬบรูด้า”

วาฬบรูด้า(Balaenoptera edeni) ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ โยฮัน บรูด้า (Johan Bryde) กงสุลชาวนอร์เวย์ ในประเทศแอฟริกาใต้ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โยฮัน บรูด้ามีบทบาทสำคัญ ในการก่อตั้งสถานีล่าวาฬ ในเมืองเดอร์บัน (Durban) ประเทศแอฟริกาใต้ เขาเป็นผู้ที่มีส่วนร่วม ในการสนับสนุนการศึกษาวาฬ และการล่าวาฬ [1]

ซึ่งในสมัยนั้น เป็นกิจกรรมที่สำคัญ สำหรับเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในหลายพื้นที่ทั่วโลก การตั้งชื่อวาฬชนิดนี้ว่า “บรูด้า” จึงเป็นการให้เกียรติกับ โยฮัน บรูด้า เพื่อยกย่องบทบาทของเขา ในการพัฒนากิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับวาฬ ในแอฟริกาใต้

ลักษณะเด่น ที่เห็นได้ชัด

บรูด้า เป็นวาฬที่มีลำตัวเรียวยาว และสีเทาน้ำเงินเข้ม ซึ่งอาจดูใกล้เคียงกับ วาฬสีน้ำเงิน แต่มีขนาดเล็กกว่า มีลายแต้มสีขาว ประปรายตรงใต้คาง และใต้คอ หัวของวาฬบรูด้ามีเส้นสีขาว ที่เห็นได้ชัดเจน และมีลักษณะ เป็นแถบ 3 แถบตามแนวหัว ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่ทำให้ สามารถแยกวาฬบรูด้าออก จากวาฬชนิดอื่นๆ ได้อย่างชัดเจน

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

  • อาณาจักร : Animalia
  • ไฟลัม : Chordata
  • ชั้น : Mammalia
  • ชั้นย่อย : Eutheria
  • อันดับ : Artiodactyla
  • อันดับฐาน : Cetacea
  • วงศ์ : Balaenopteridae
  • สกุล : Balaenoptera
  • สปีชีส์ : B. edeni
  • ชื่อทวินาม : Balaenoptera edeni

ที่มา: “วาฬบรูด้า” [2]

วาฬบรูด้าไม่มีฟัน

วาฬบรูด้า

บรูด้าเป็นปลาวาฬ ชนิดไม่มีฟัน จัดอยู่ในวงศ์ Balaenopteridae ซึ่งในวงศ์นี้จะมีวาฬ ที่ไม่มีฟันอยู่ ทั้งหมด 5 ชนิด ในประเทศไทย คือ

  1. วาฬฟิน (Fin whale) Balaenoptera physalus(Linnaeus, 1758)
  2. วาฬบรูด้า(Bryde’s whale) Balaenoptera edeni (Anderson, 1878)
  3. วาฬโอมูระ (Omura whale) Balaenoptera omurai (Wada, Oishi and Yamada, 2003)
  4. วาฬหลังค่อม (Humpback whale) Megatera novaeangliae (Borowski, 1781)
  5. วาฬสีน้ำเงิน (Blue whale) Balaenoptera musculus

ที่มา: “ชนิดพันธุ์วาฬและโลมา” [3]

วาฬบรูด้าเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวในไทย

วาฬบรูด้าถือว่าเป็นอีกอย่างหนึ่ง ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้ประเทศไทย หนึ่งในแหล่งชมวาฬบรูด้าที่มีชื่อเสียง ในประเทศไทยคือ บริเวณอ่าวไทย โดยเฉพาะพื้นที่อ่าวบางตะบูน จังหวัดเพชรบุรี และอ่าวบางแสน จังหวัดชลบุรี 

ซึ่งเป็นแหล่งที่วาฬบรูด้ามักปรากฏตัว เพื่อหาอาหารในช่วงฤดูร้อน ถึงฤดูหนาว นักท่องเที่ยวสามารถ นั่งเรือออกไปชมวาฬในธรรมชาติ และสัมผัสกับความยิ่งใหญ่ ของวาฬบรูด้าที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ เพื่อหาอาหาร

อาหารที่เหล่าวาฬบรูด้ากิน

เป็นวาฬที่กินอาหาร โดยการกรอง (filter-feeding) ซึ่งจะอ้าปากกว้าง และดูดน้ำทะเลเข้าไป จากนั้นจะปิดปาก และดันน้ำออกมา ผ่านแผ่นกรองอาหาร เหลือเพียงแพลงก์ตอน และสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ถูกกรองอยู่ภายในปาก

อาหารที่กิน เช่น ปลากะตัก ปลาอกกะแล้ ปลาอีโกย (ปลาหลังเขียวชนิดหนึ่ง) ปลาทูขนาดเล็ก การกินอาหาร ของวาฬบรูด้ามักเกิดขึ้นใกล้ผิวน้ำ ทำให้สามารถสังเกตเห็น วาฬเหล่านี้ได้ง่าย ขณะอยู่ในทะเล

ความสำคัญในระบบนิเวศของทะเล

เนื่องจากพวกบรูด้า กินแพลงก์ตอน และสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ซึ่งมีส่วนช่วย ในการควบคุมประชากร ของสัตว์ทะเลขนาดเล็ก ทำให้เกิดความสมดุล ในห่วงโซ่อาหาร นอกจากนี้การที่วาฬบรูด้าย่อยอาหาร และปล่อยของเสีย กลับลงสู่ทะเล ยังเป็นการกระจายสารอาหาร ในมหาสมุทร ซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ของแพลงก์ตอน และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในทะเล

สรุป วาฬบรูด้าเป็นที่รู้จักในไทย

สรุป วาฬบรูด้าเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว ที่สำคัญในประเทศไทย โดยเฉพาะการชมวาฬในธรรมชาติ ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของวาฬบรูด้านี้ ไม่เพียงแต่สร้างประสบการณ์ ที่น่าตื่นเต้นให้กับนักท่องเที่ยว แต่ยังมีส่วนสำคัญ ในการส่งเสริม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทางทะเลอีกด้วย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง