มหาสฟิงซ์ แห่งกิซ่า เป็นหนึ่งในอนุสาวรีย์ ที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียง ที่สุดของโลก ตั้งอยู่ในที่ราบสูงกิซ่า อียิปต์ ใกล้กับมหาพีระมิดทั้งสาม หากพูดถึงสฟิงซ์ คนส่วนใหญ่ คงนึกถึงร่างสัตว์ ที่มีหัวเป็นมนุษย์ และตัวเป็นสิงโต ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพลัง และอำนาจของฟาโรห์ แต่หลายคน อาจจะยังไม่รู้รายละเอียด ว่ามหาสฟิงซ์ มีความเป็นมายังไงกันแน่ และเรื่องราวของสฟิงซ์เป็นอย่างไรบ้าง บทความนี้จะพามาหาคำตอบกัน
มหาสฟิงซ์ (The Great Sphinx of Giza) เชื่อว่าในสมัยฟาโรห์คาเฟร (Khafre) แห่งราชวงศ์ที่ 4 หลังจากมหาสฟิงซ์ถูกสร้างขึ้น ได้ถูกพายุทรายพัดทับถม จนเหลือให้เห็นเพียงส่วนหัว เล่ากันว่ามีเทพเจ้ามาเข้าฝัน เจ้าชายธุตโมส ว่าให้ไปนำเอาทรายที่ทับถมสฟิงซ์ออก หากทำแล้ว เจ้าชายธุตโมส จะได้เป็นฟาโรห์ที่ยิ่งใหญ่ นั่นเป็นการที่ได้เห็นมหาสฟิงซ์ เต็มตัวเป็นครั้งแรก
หลังจากเจ้าชายธุตโมส ได้เป็นฟาโรห์ธุสโมซิสที่ 4 แล้วมหาสฟิงซ์ ได้ถูกทับถมด้วยทรายอีก และได้รับการดูแลอีกครั้ง จนได้เห็นเต็มตัวจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันใบหน้าของมหาสฟิงซ์ ไม่ได้สมบูรณ์นัก ถูกทำลายจนไม่ค่อยเห็นรายละเอียดบนใบหน้า จมูกหัก เคราหลุด เล่ากันว่าอาจจะถูก ทหารของ นโปเลียน ที่มาอียิปต์ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซ้อมยิงปืน โดยใช้ใบหน้าของสฟิงซ์เป็นเป้าซ้อม
นอกจากนี้มันมีข่าวลือกันว่า เคราและจมูกของสฟิงซ์ได้ถูกเก็บไว้ใน พิพิธภัณฑ์อังกฤษ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้ทราบภายหลังว่า พิพิธภัณฑ์อังกฤษ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้เก็บส่วนหนึ่งของจมูกสฟิงซ์ มีความยาวประมาณ 78 เซนติเมตรไว้
ที่มา: “มหาสฟิงซ์” [1]
สฟิงซ์ เป็นรูปแกะสลักแบบลอยตัว จากหินก้อนเดียว ที่ใหญ่ที่สุดในโลกชิ้นหนึ่ง นับได้ว่าเป็นอนุสาวรีย์แกะสลัก ที่เก่าแก่ที่สุด มีท่าเอนกายในแนวทิศตะวันตก อยู่ในบริเวณหมู่พีระมิดทั้ง 3 แห่งกิซ่า หมอบเฝ้าอยู่ใกล้กับ พีระมิดคาเฟร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีความยาววัดจากหัวถึงหาง ประมาณ 240 ฟุต (74 เมตร) สูงประมาณ 66 ฟุต (20 เมตร) ส่วนใบเฉพาะใบหน้าของสฟิงซ์ กว้างประมาณ 14 ฟุต [2]
อ่านรายละเอียดของพีระมิดคาเฟร ได้ที่ wikipedia
มหาสฟิงซ์แห่งกิซ่า ยังคงยืนหยัดอยู่ในที่ราบสูงกิซ่า ใกล้กับมหาพีระมิดทั้งสาม แม้จะเผชิญกับการกัดกร่อน และความเสียหายจากลม และทรายที่พัดมา เป็นเวลาหลายพันปี แต่มหาสฟิงซ์ ยังคงเป็นอนุสาวรีย์ ที่มีความสำคัญ และได้รับการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีความพยายาม ในการบูรณะ และปกป้องโบราณสถานนี้ จากการเสื่อมสภาพ เช่น การซ่อมแซมรอยแตกร้าว และการจัดการปัญหา การสึกกร่อนของหิน
แม้ว่าบางส่วนของมหาสฟิงซ์ เช่น จมูกและเครา จะสูญหายไปตามกาลเวลา แต่การบูรณะได้ช่วยให้คงสภาพ ของอนุสาวรีย์นี้ไว้ ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา และชมเชยความสำคัญทางประวัติศาสตร์
มหาสฟิงซ์ มีตำนานเรื่องเล่าอยู่หลายเรื่อง ทั้งสฟิงซ์ของกรีก สฟิงซ์ของอียิปต์ โดยแต่ละเรื่องราวที่เล่า ก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ในตำนานของกรีก อธิบายถึงลักษณะของสฟิงซ์ว่า หัวเป็นผู้หญิง ลำตัวเป็นสิงโต และมีปีกสามารถบินได้เหมือนนก มีนิสัยไร้ความปรานี หากใครตอบคำถามนางไม่ได้ ก็จะฆ่าทันที ส่วนสฟิงซ์ของอียิปต์ อธิบายไว้ว่าสฟิงซ์เป็นผู้ชาย และมีจิตใจที่ดี ต่างออกไปจากสฟิงซ์ของกรีก
ตำนานสฟิงซ์ของกรีก ที่โด่งดังเรื่องหนึ่งคือ เรื่องของ เจ้าแม่เฮรา (Hera) ซึ่งมอบหมายให้สฟิงซ์ ทำหน้าที่ลงโทษชาวเมืองธีบีส (Thebes) แต่สฟิงซ์ไม่ได้ลงโทษเหยื่อเลยทันที นางจะให้โอกาสเหยื่อ โดยการถามคำถาม ที่เรียกกันว่าปัญหาของตัวสฟิงซ์ (The Riddle of the Sphinx) หากตอบถูกนางสัญญาว่าจะปล่อยไป หากตอบไม่ได้ก็จะฆ่าให้ตาย
เอดิปุส (Oedipus) แห่งโครินท์ ได้ผ่านมาในเมืองธีบีสพอดี ตัวสฟิงซ์เห็นดังนั้นจึงพุ่งเข้าไปถามปัญหาของตัวสฟิงซ์ว่า “อะไรเอ่ยเดินสี่เท้าในยามเช้า เดินสองเท้า ในยามสาย และเดินสามเท้าในยามเย็น” เอดิปุสได้ยินดังนั้น ก็กลับตอบไปโดยไม่ลังเลว่า “อ๋อ มันก็คือมนุษย์ ที่เดินด้วยการคลานทั้งมือและเข่า เมื่อยังเป็นเด็ก ยืนด้วยขาสองข้าง เมื่อโตเต็มที่ และต้องใช้ไม้เท้าพยุงตัวเอง เป็นขาที่สามในยามแก่”
สฟิงซ์เมื่อได้ฟังคำตอบ ไม่คิดว่ามนุษย์จะตอบได้ ถึงกับกรีดร้องด้วยความเจ็บใจ ด้วยความโมโหและอับอาย นางจึงบินขึ้นไปบนฟ้า แล้วทิ้งดิ่งลงสู่พื้นจนตาย ทำให้ชาวเมืองธีบส์ ได้พ้นจากคำสาปของสฟิงซ์
ที่มา: “สฟิงซ์” [3]
ในอียิปต์โบราณ สฟิงซ์มักจะเป็นสัตว์ประหลาด ที่มีลักษณะร่างกายเป็นสิงโต และมีศีรษะเป็นมนุษย์ชาย สฟิงซ์ที่โด่งดังที่สุดก็คือ มหาสฟิงซ์แห่งกิซ่า ซึ่งเชื่อกันว่า มีใบหน้าคล้ายฟาโรห์คาเฟร (Khafre) สฟิงซ์อียิปต์ มีความหมายในเชิงบวก โดยเฉพาะในด้านการปกป้องและเป็นสัญลักษณ์ ของอำนาจ ฟาโรห์มักสร้างรูปสฟิงซ์ เพื่อแสดงถึงอำนาจทางการปกครอง และความแข็งแกร่ง เหมือนกับที่สิงโต เป็นสัตว์ที่แสดงถึงความแข็งแรง และพลัง
แม้จะมีรูปลักษณ์ที่ทรงพลัง แต่สฟิงซ์ของอียิปต์ มักถูกมองว่าเป็นผู้พิทักษ์ที่ใจดี และคอยดูแลสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น มหาพีระมิด และสุสานฟาโรห์
สรุป มหาสฟิงซ์ ในปัจจุบัน ยังคงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ในฐานะสัญลักษณ์ ของมรดกทางวัฒนธรรม ของอียิปต์โบราณ และยังเป็นจุดหมายปลายทาง ของนักท่องเที่ยว ที่อยากไปเยี่ยมชมความยิ่งใหญ่ และตำนานของสฟิงซ์ ซึ่งในปัจจุบันยังคงบูรณะ ให้คงสภาพ ของอนุสาวรีย์นี้ไว้ ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา เรียนรู้ และชื่นชมความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ต่อไป