พระโคนนทิ เป็นโคศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดู ที่ทำหน้าที่เป็นพาหนะ ของพระอิศวร (หรือพระศิวะ) หนึ่งในเทพเจ้าสูงสุด ของศาสนาฮินดู โคนนทิไม่ใช่แค่สัตว์พาหนะธรรมดา แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ แห่งความศักดิ์สิทธิ์ พลัง และความสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการบูชา ในความเชื่อของชาวฮินดู และในไทยเราเอง ที่รู้จักกันดีในฐานะ “โคแรกนา” พิธีกรรมโบราณของประเทศไทย
พระโคนนทิ ปรากฏในตำนาน และคัมภีร์ ของศาสนาฮินดูหลายแห่ง โดยในบางคัมภีร์กล่าวว่า เกิดจากพระกัศยปะ ต้องการให้นางโคสุรภีเป็นพาหนะของพระศิวะ แต่นางโคสุรภี เป็นโคเพศเมีย พาหนะของพระศิวะต้องเป็นเพศผู้ พระกัศยปะเลยสร้างโคเพศผู้ขึ้นมา เพื่อสมสู่กับนางโคสุรภี จนมีลูกเกิดออกมาเป็นโคเผือกเพศผู้ และประทานชื่อให้ ชื่อว่าโคนนทิ และให้ไปเป็นพาหนะของพระศิวะ
อีกหนึ่งตำนานเล่าว่า เดิมทีเป็นเทพบุตร ชื่อว่า นนทิ ที่ชอบเนรมิตตนเป็นโคเผือก เพื่อเป็นพาหนะให้พระศิวะ พาพระศิวะเดินทางไปในแต่ละที่ พระโคนนทิจึงเป็นหนึ่งพาหนะของเทพ เช่นเดียวกับ พญาครุฑ ที่เป็นพาหนะของพระวิษณุ ชาวฮินดูบูชาโคนนทิ ดุจเทพเจ้าองค์หนึ่ง ถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ห้ามฆ่าและกินเนื้อวัว รูปปั้นโคนนทิ เลยถูกประดิษฐานที่กลางวิหาร ถือว่าเป็นสัญลักษณ์หนึ่งขององค์พระศิวะ
ที่มา: “นนทิ” [1]
นอกจากจะเป็นพาหนะ ของพระศิวะแล้ว ในศาสนาฮินดู ชาวฮินดูเชื่อว่า โคนนทิ เป็นสัญลักษณ์ แห่งความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรือง และความมั่นคงทางการเกษตร เนื่องจากวัว เป็นสัตว์ที่มีบทบาทสำคัญ ในวิถีชีวิตทางการเกษตร โคนนทิจึงเป็นตัวแทนของการอุดมสมบูรณ์ และเป็นสื่อกลาง ในการขอพรจากพระศิวะ เพื่อความเจริญในพื้นที่เพาะปลูก และชีวิตความเป็นอยู่
ในการบูชาพระศิวะ ผู้คนมักจะบูชาโคนนทิร่วมด้วย โดยมีความเชื่อว่า การบูชาโคนนทิ จะนำมาซึ่งพร แห่งความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต และในการเกษตร วัวเป็นสัตว์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง กับการเพาะปลูก เนื่องจากวัวใช้ในการไถนา และปุ๋ยที่ได้จากวัว ก็มีความสำคัญในการทำเกษตร การบูชาโคนนทิ จึงเป็นการเชื่อมโยงสัญลักษณ์ แห่งการอุดมสมบูรณ์ และความสัมพันธ์กับธรรมชาติ
ในหลายภูมิภาคของอินเดีย จะมีการจัดพิธีกรรม เพื่อบูชาโคนนทิ ในเทศกาลหรือโอกาสพิเศษ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น ก่อนเริ่มการเพาะปลูก หรือหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อแสดงความขอบคุณ และขอพรให้การเพาะปลูกเจริญงอกงาม
พระโคนนทิ หรือที่คนไทยรู้จักกันในฐานะ “โคแรกนา” เป็นสัตว์ที่มีบทบาทสำคัญ ในพิธีกรรมโบราณ ของประเทศไทย โดยเฉพาะในพระราชพิธี จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกง่ายๆ ว่า พิธีแรกนา พระราชพิธีนี้ ถือว่าเป็นการบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ และการเก็บเกี่ยวที่ดีในแต่ละปี พระโคเป็นส่วนหนึ่ง ที่มีหน้าที่พิเศษในการทำนาย เกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตรในอนาคต
พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนั้น เป็นพิธีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ย้อนไปถึงยุคสมัยสุโขทัย โดยพระโคในพิธี จะถูกใช้เพื่อเสี่ยงทายผลผลิตประจำปี พระโคเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่ามีความสามารถในการทำนาย โดยจะมีการนำพระโคมาเลือกกินของ 7 อย่าง ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ถั่ว งา เหล้า น้ำ และหญ้า การที่พระโคเลือกกินสิ่งใดก่อน ถือว่าเป็นการทำนายว่า ในปีนั้นสิ่งที่เลือกกิน จะมีความอุดมสมบูรณ์ หรือเป็นสิ่งที่เกษตรกร ควรให้ความสำคัญในการปลูกพืช
พิธีแรกนานี้จัดขึ้นในทุกปี และมีพระราชพิธี ที่เต็มไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ มีพระยาแรกนาเป็นผู้ที่ทำพิธีแรกนา โดยพระโคจะถูกนำไปพรวนดิน ตามพื้นที่ที่กำหนด ถือเป็นการเริ่มต้นฤดูกาลเกษตรของปีใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวนารอคอย เพื่อความเป็นสิริมงคล
ที่มา: “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” [2]
ผ้านุ่งแต่งกาย
ผ้านุ่งจะวางเรียงบนโตก ทั้งหมด 3 ผืน คือ หกคืบ ห้าคืบ และสี่คีบ ผ้านุ่งที่ถูกวางเรียงบนโตก จะมีผ้าคลุมไว้ เพื่อให้พระยาแรกนาขวัญหยิบ ถ้าหยิบได้ผืนใด ก็จะมีคำทํานายไปตามนั้นคือ
การเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง
ของกิน 7 สิ่งที่ตั้งเลี้ยงพระโคนั้นมี ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า ถ้าพระโคกินสิ่งใด ก็จะมีคำทำนายไปตามนั้นคือ
ที่มา: “การเสี่ยงทายและคำพยากรณ์” [3]
แม้ว่าปัจจุบัน ประเทศไทยจะพัฒนาขึ้นมาก และการเกษตรได้เข้ามาพึ่งพาเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์มากขึ้น แต่บทบาทของพระโค ในพิธีกรรมสำคัญ ยังคงถูกยึดถือ และสืบทอดมาอย่างต่อเนื่อง ยังคงใส่คันไถให้พระโค เพื่อที่จะไปพรวนดินในพิธี เหมือนในอดีตที่เคยเป็นมา พิธีแรกนา และความเชื่อเกี่ยวกับพระโค ยังคงเป็นสิ่งที่ได้รับความเคารพ เพราะเป็นสัญลักษณ์ ของการเชื่อมโยง ระหว่างคนกับธรรมชาติ และความหวังในการเก็บเกี่ยวที่ดี
สรุป พระโคนนทิ มีบทบาทสำคัญ ในหลายวัฒนธรรม นอกจากจะมีความสำคัญ ในศาสนาฮินดู ในฐานะ พาหนะของพระศิวะแล้วนั้น ยังมีความสำคัญ ในสังคมไทยอีกด้วย ไม่เพียงแค่ในด้านการเกษตร แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ ของความอุดมสมบูรณ์ และความเป็นสิริมงคล พระโคเป็นส่วนหนึ่ง ของพิธีกรรมที่เกี่ยวข้อง กับการเพาะปลูก และเกษตรกรรมไทย และยังคงเป็นที่เคารพ และสืบทอดอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน