ปลาสิงโต นักบัลเล่ต์ใต้ท้องทะเล

ปลาสิงโต

ปลาสิงโต (Lionfish) เป็นสัตว์ทะเล ที่มีความสวยงาม และดึงดูดสายตา ด้วยลายเส้นที่โดดเด่น และครีบที่แผ่กว้างเป็นพู่ คล้ายแผงคอของสิงโต และลักษณะการลอยตัวนิ่งๆ อยู่ในน้ำ และครีบที่โบกสะบัด ตามแรงเคลื่อนไหว ราวกันมันกำลังเต้นบัลเล่ต์ อยู่อย่างไงอย่างงั้น เป็นปลาที่สวยงาม เป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจ แกนักท่องเที่ยวที่ดำน้ำไปเจอ

ปลาสิงโต สามารถปล่อยไข่ ได้มากถึงสองล้านฟองในปีเดียว

ปลาสิงโต มีกระบวนการสืบพันธุ์ ที่รวดเร็วเมื่ออายุครบ 2 ปี โดยมันสามารถวางไข่ ได้ทุก ๆ 3–4 วัน ครั้งละมากถึง 30,000 ฟอง ทำให้ในหนึ่งปี มันสามารถปล่อยไข่ ได้มากถึงสองล้านฟอง ไข่ของมัน จะถูกห่อหุ้มด้วยเมือก ที่ทำให้ไข่ลอยอยู่ในน้ำ ซึ่งช่วยให้ไข่ มีโอกาสกระจายตัว ไปในพื้นที่กว้าง โดยกระแสน้ำ และลมทะเลจะพาไข่ไปยังที่ต่างๆ เลยทำให้ปลาชนิดนี้ เพิ่มประชากรได้รวดเร็วมากๆ [1]

ลูกปลาสิงโตจะเจริญเติบโต และเริ่มล่าเหยื่อเล็กๆ ตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต ซึ่งช่วยให้มันสามารถแข่งขัน กับสัตว์ทะเลอื่นๆ ในการหาอาหาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ลักษณะและการกระจายตัว

ปลาสิงโตเป็นสัตว์ทะเล ที่พบได้ในน่านน้ำอุ่น ของมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิก แต่ในปัจจุบัน พบว่าปลาสิงโตได้แพร่กระจาย ไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก และทะเลแคริบเบียน ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบ ต่อระบบนิเวศ ในพื้นที่เหล่านั้น ลำตัวของปลาชนิดนี้ มีความยาวเฉลี่ย ประมาณ 30-35 เซนติเมตร แต่บางตัวสามารถเติบโต ได้ถึง 45 เซนติเมตร

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

  • อาณาจักร : Animalia
  • ไฟลัม : Chordata
  • ชั้น : Actinopterygii
  • อันดับ : Scorpaeniformes
  • วงศ์ : Scorpaenidae
  • วงศ์ย่อย : Pteroinae
  • สกุล : Pterois

ที่มา: “ปลาสิงโต” [2]

ชนิดของปลาสิงโตทะเล

ปลาสิงโต

แบ่งออกได้เป็น 12 ชนิด ได้แก่

  1. Pterois andover Allen & Erdmann
  2. Pterois antennata
  3. Pterois brevipectoralis
  4. Pterois cincta Rüppell
  5. Pterois lunulata Temminck &Schlegel
  6. Pterois miles
  7. Pterois mombasae
  8. Pterois paucispinula Matsunuma & Motomura
  9. Pterois radiata Cuvier
  10. Pterois russelii Bennett
  11. Pterois sphex Jordan & Evermann
  12. Pterois volitans

ปลาสิงโตสวยซ่อนพิษ

ปลาสิงโต มีหนามพิษที่แผ่กระจาย อยู่ตามครีบ และลำตัว พิษนี้ประกอบด้วยโปรตีน เหมือนพิษ แมงกะพรุน ที่สามารถทำลายเซลล์ และเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เมื่อสัมผัสกับหนามพิษ จะทำให้เกิดอาการปวดบวม อักเสบ และอาจมีอาการแพ้ ที่รุนแรงได้ พิษของปลาสิงโตนั้น ไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิตสำหรับมนุษย์ แต่สามารถทำให้เกิด อาการเจ็บปวดรุนแรง และต้องการการรักษาทางการแพทย์ 

บทบาทในวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ

ปลาสิงโตไม่เพียงแต่ เป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์ และนักสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังมีบทบาท ในวัฒนธรรม และเศรษฐกิจท้องถิ่นอีกด้วย การสนับสนุน การบริโภคปลาสิงโตในฐานะอาหารทะเล เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดจำนวน ประชากรของมัน และสร้างรายได้ ให้กับชุมชนท้องถิ่น อาหารที่ทำจากปลาสิงโตเช่น ซาชิมิและทอดกรอบ

โดยเริ่มแรก ไม่มีใครกล้ากินปลาชนิดนี้ เพราะคิดว่ามีพิษ แต่ความจริงแล้ว มันสามารถกินได้ แถมมีเนื้อที่นุ่มอร่อย และรสชาติดีมากอีกด้วย ปัจจุบันเริ่มนิยมนำมากินกันมากแล้ว ในต่างประเทศ [3]

ผลกระทบทางนิเวศวิทยา

การแพร่กระจาย ของปลาสิงโตในพื้นที่ ที่มันไม่ได้เป็นสัตว์ประจำถิ่น ส่งผลกระทบอย่างมาก ต่อระบบนิเวศทางทะเล ปลาสิงโตเป็นนักล่า ที่มีประสิทธิภาพ มันล่า และกินปลาเล็กปลาน้อยจำนวนมาก ทำให้จำนวนประชากรปลาท้องถิ่น ลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระบบนิเวศเสียสมดุล การแพร่กระจาย ของปลาสิงโตในพื้นที่ เช่นทะเลแคริบเบียน และมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้มีความพยายาม ในการควบคุม และลดจำนวนประชากรของมัน

สรุป ปลาสิงโตปลาทะเล

สรุป ปลาสิงโต เป็นสัตว์ทะเลที่มีความงดงาม และเป็นอันตราย การแพร่กระจายของมันในพื้นที่ใหม่ส่งผลกระทบ ต่อระบบนิเวศอย่างมาก การควบคุม และลดจำนวนประชากร ของปลาสิงโตเป็นสิ่งสำคัญ ในการป้องกันการทำลายระบบนิเวศ และการสนับสนุนการบริโภค ปลาสิงโตเป็นอาหาร สามารถเป็นวิธีหนึ่ง ในการช่วยลดผลกระทบ ของมันในท้องทะเล

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง